ตำบลศรีสำราญ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Tambon Si Samran |
---|
|
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
---|
อำเภอ | สองพี่น้อง |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 40.00 ตร.กม. (15.44 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร |
---|
• ทั้งหมด | 10,759 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 268.98 คน/ตร.กม. (696.7 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 72110 (เฉพาะหมู่ 1-5, 9-10, 14) 72190 (เฉพาะหมู่ 6-8, 11-13) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 720711 |
---|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ศรีสำราญ เป็นตำบลในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตำบลของที่มีทางรถไฟสายสุพรรณบุรีผ่าน โดยเป็นที่ตั้งของอดีตสถานีรถไฟศรีสำราญ
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลศรีสำราญ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติ
ปี พ.ศ. 2478 จังหวัดสุพรรณบุรีได้ยุบตำบลบางลี่ รวมเข้ากับตำบลสองพี่น้องและมีการจัดตั้งสุขาภิบาลท้องที่สองพี่น้อง ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลสองพี่น้อง[2] โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตำบลศรีสำราญขึ้นใหม่ โดยทิศเหนือติดต่อเขตตำบลหัวโพธิ์ ทิศตะวันออกติดต่อเขตเทศบาลตำบลสองพี่น้อง ทิศใต้ติดต่อตำบลทุ่งคอก และทิศตะวันตกติดต่อตำบลรางหวาย จังหวัดกาญจนบุรี[3]
ปี พ.ศ. 2512 เทศบาลตำบลสองพี่น้องได้ขยายเขตเทศบาล ซึ่งหมู่ 1 –2, 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลศรีสำราญ เข้าไปอยู่ในเขตของเทศบาลตำบลสองพี่น้องด้วย[4] จึงมีการโอนท้องที่หมู่ 1–2 เฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลสองพี่น้อง ของตำบลสองพี่น้อง ไปรวมขึ้นกับตำบลสองพี่น้อง ส่วนที่เหลือของหมู่ 1 ให้โอนไปขึ้นหมู่ 2 ของตำบลศรีสำราญ, ส่วนที่เหลือของหมู่ 2 ให้ตั้งเป็นหมู่ 2 ของตำบลศรีสำราญ[5] โดยยึดเขตตำบลตามหลักเขตเทศบาล
ปี พ.ศ. 2514 นายสวัสดิ์ มีเพียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศแยก 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 บ้านดอนพรม, หมู่ 10 บ้านหนองจิก, หมู่ 11 บ้านไผ่แขวน, หมู่ 12 บ้านหนองอึ้ง, หมู่ 13 บ้านสำนักแจง และหมู่ 14 บ้านทับปลาร้า ของตำบลศรีสำราญ ออกไปตั้งเป็นตำบลหนองบ่อ[6] โดยอนุมัติจากนายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
การปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองส่วนภูมิภาค
ตำบลศรีสำราญแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านบางลี่เล็ก
- หมู่ที่ 2 บ้านศรีสำราญ
- หมู่ที่ 3 บ้านรางกร่าง
- หมู่ที่ 4 บ้านไผ่ขาด
- หมู่ที่ 5 บ้านขื่อชนก
- หมู่ที่ 6 บ้านหนองโพธิ์
- หมู่ที่ 7 บ้านสระพังกร่าง
- หมู่ที่ 8 บ้านวังตะกู
- หมู่ที่ 9 บ้านศรีสำราญ
- หมู่ที่ 10 บ้านโพรงมะเดื่อ
- หมู่ที่ 11 บ้านหนองโพธิ์
- หมู่ที่ 12 บ้านทุ่งรี
- หมู่ที่ 13 บ้านหนองโพธิ์น้อย
- หมู่ที่ 14 บ้านไผ่ขาด
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตำบลศรีสำราญเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลศรีสำราญ ในปี พ.ศ. 2517[7] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลศรีสำราญมี 14 หมู่บ้าน พื้นที่ 40.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 9,026 คน และ 1,768 ครัวเรือน[8] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลศรีสำราญอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสำราญ[9]
อ้างอิง