ตำบลทับตีเหล็ก

ตำบลทับตีเหล็ก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Thap Ti Lek
ประเทศไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด21.00 ตร.กม. (8.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด3,947 คน
 • ความหนาแน่น187.95 คน/ตร.กม. (486.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72000
รหัสภูมิศาสตร์720103
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก
อบต.ทับตีเหล็กตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี
อบต.ทับตีเหล็ก
อบต.ทับตีเหล็ก
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก
พิกัด: 14°26′12.8″N 100°06′36.7″E / 14.436889°N 100.110194°E / 14.436889; 100.110194
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด21.00 ตร.กม. (8.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด3,947 คน
 • ความหนาแน่น187.95 คน/ตร.กม. (486.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06720120
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ 3 ตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
เว็บไซต์www.thaptilek.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทับตีเหล็ก เป็นตำบลในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลทับตีเหล็ก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลรั้วใหญ่
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าระหัด
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางปลาม้า และตำบลมะขามล้ม (อำเภอบางปลาม้า)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลดอนกำยาน

ประวัติ

เดิมพื้นที่เป็นหมู่ที่ 7 ของตำบลท่าระหัด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2490 ขุนธรรมรัฐธุราทร (ธรรมรัฐ โรจนสุนทร) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศแยกพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของตำบลท่าระหัด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 5 บ้านท่าดินเหนียว, หมู่ 6 บ้านประสพสุข และหมู่ 7 บ้านทับตีเหล็ก ออกมาตั้งเป็น ตำบลทับตีเหล็ก[3]

โดยมีชื่อตำบลมาจากในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน และเป็นเส้นทางเดินทัพ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพเพื่อมารับศึกบริเวณชายแดนเมืองกาญจนบุรี แต่เนื่องจากบ้านเมืองมีศึกสงครามอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาวุธยุทโธปกรณ์ไม่เพียงพอที่จะใช้ในศึกสงคราม พระองค์ทรงทราบว่าเหนือวัดมะนาวมีครอบครัวชาวจีนที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ประกอบอาชีพเป็นช่างตีเหล็ก ซึ่งสืบทอดวิชามาจากเมืองจีน สามารถตีเหล็กได้แกร่งและคม จึงดำริให้ครอบครัวนี้พร้อมชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้มาช่วยราชการ เพื่อผลิตอาวุธและใช้บริเวณนี้เป็นแหล่งผลิตอาวุธเพื่อใช้ในราชการศึกสงครามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านจึงได้กล่าวขานนามว่า ทับตีเหล็ก[4]

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองส่วนภูมิภาค

ตำบลทับตีเหล็กแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านทับตีเหล็ก
  • หมู่ที่ 2 บ้านประสพสุข
  • หมู่ที่ 3 บ้านท่าดินเหนียว
  • หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์เขียว
  • หมู่ที่ 5 บ้านดอนบ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ตำบลทับตีเหล็กเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลทับตีเหล็ก ในปี พ.ศ. 2517[5] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลทับตีเหล็กมี 5 หมู่บ้าน พื้นที่ 21.0 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,169 คน และ 682 ครัวเรือน[6] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลทับตีเหล็กอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก[7]

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (102 ง): 6–49. วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (33 ง): 1930–1974. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
  4. ประวัติตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี - องค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!