จิลล์ มิคุคกี
จิลล์ แอน มิคุคกี เป็นนักจุลชีววิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน รวมถึงนักวิจัยที่ทำการศึกษาในทวีปแอนตาร์กติกา เธอเป็นที่รู้จักจากการทำงานที่น้ำตกเลือด (Blood Falls) โดยแสดงให้เห็นว่า จุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตใต้ชั้นน้ำแข็งได้แม้ไม่มีแสงแดด[ 1] [ 2] นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้นำของทีมวิจัยนานาชาติที่ทำการศึกษาระบบนิเวศใต้ชั้นน้ำแข็งอีกด้วย[ 3]
ชีวิตช่วงแรกและการศึกษา
มิคุคกีได้รับปริญญาตรีในปี 1996 จาก มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาที่วิลมิงตัน ปริญญาโทในปี 2001 จาก มหาวิทยาลัยรัฐพอร์ตแลนด์ และปริญญาเอกในปี 2005 จาก มหาวิทยาลัยรัฐมอนแทนา ความชื่นชอบในความหนาวเย็นและหิมะมาตั้งแต่วัยเด็กเป็นสิ่งที่ทำให้เธอเลือกที่จะทำงานวิจัยในทวีปแอนตาร์กติกา[ 4] มิคุคกีทำวิจัยปริญญาเอกเกี่ยวกับน้ำตกเลือด ซึ่งเป็นน้ำที่อุดมไปด้วยเหล็กออกไซด์ไหลออกมาจากใต้ธารน้ำแข็งเทย์เลอร์ ในหุบเขาแห้งแมคเมอร์โด ของแอนตาร์กติกา งานวิจัยของมิคักกีเกี่ยวกับ น้ำตกเลือด เป็นงานวิจัยแรกที่บรรยายถึงจุลชีววิทยาและธรณีเคมีของปรากฏการณ์นี้[ 5] [ 6]
อาชีพและผลกระทบ
แผนผังการเจาะเพื่อหาน้ำเกลือ
มิคุคกีกับตัวอย่างน้ำเกลือ
ในฐานะนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (2006–07) และวิทยาลัยดาร์ตมัธ (2008) และในฐานะศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี[ 7] มิคุคกีได้ศึกษาต่อเกี่ยวกับน้ำตกเลือด ผลงานของมิคุคกีได้แสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตใต้ผืนน้ำแข็งโดยไม่ต้องอาศัยแสงแดด โดยใช้ซัลเฟตและเหล็กเพื่อช่วยในการเผาผลาญสารอินทรีย์[ 1] [ 2]
งานวิจัยอย่างต่อเนื่องของเธอที่น้ำตกเลือด[ 8] [ 9] นำไปสู่การค้นพบเครือข่ายน้ำกร่อยใต้ดินที่อยู่ใต้หุบเขาแห้งแมคเมอร์โดในแอนตาร์กติกา ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งที่มาของการไหลออกจากน้ำตกเลือดและเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ใต้พื้นผิว งานนี้ยังเป็นการใช้ระบบต้านทานไฟฟ้าทางอากาศในแอนตาร์กติกาครั้งแรกด้วย[ 10]
มิคุคกียังเป็นส่วนหนึ่งของทีมแรกที่เจาะเข้าไปและเก็บตัวอย่างจากทะเลสาบใต้ธารน้ำแข็งในแอนตาร์กติก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตใต้ผืนน้ำแข็งในแอนตาร์กติกเป็นครั้งแรก[ 11]
ผลงานที่ได้รับการคัดเลือก
Christner, B.C.; Priscu, J.C.; Achberger, A.M.; Barbante, C.; Carter, S.P.; Christianson, K.; Michaud, A.B.; Mikucki, J.A.; Mitchell, A.C.; Skidmore, M.L.; Vick-Majors, T.J. (2014). "A microbial ecosystem beneath the West Antarctic ice sheet" . Nature . 512 (7514): 310–313. Bibcode :2014Natur.512..310. . doi :10.1038/nature13667 . hdl :2160/30202 . PMID 25143114 . S2CID 4470332 .
Mikucki, J.A.; Priscu, J.C. (2007). "Bacterial diversity associated with Blood Falls, a subglacial outflow from the Taylor Glacier, Antarctica" . Applied and Environmental Microbiology . 73 (12): 4029–4039. doi :10.1128/aem.01396-06 . PMC 1932727 . PMID 17468282 .
Mikucki, J.A.; Liu, Y.; Delwiche, M.; Colwell, F.S.; Boone, D.R. (2003). "Isolation of a methanogen from deep marine sediments that contain methane hydrates, and description of Methanoculleus submarinus sp. nov" (PDF) . Applied and Environmental Microbiology . 69 (6): 3311–3316. doi :10.1128/aem.69.6.3311-3316.2003 . PMC 161549 . PMID 12788731 .
Mikucki, J.A.; Pearson, A.; Johnston, D.T.; Turchyn, A.V.; Farquhar, J.; Schrag, D.P.; Anbar, A.D.; Priscu, J.C.; Lee, P.A. (2009). "A Contemporary Microbially Maintained Subglacial Ferrous" Ocean" ". Science . 324 (5925): 397–400. Bibcode :2009Sci...324..397M . doi :10.1126/science.1167350 . PMID 19372431 . S2CID 44802632 .
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Tierney, John (April 19, 2009). "The Dark Secret at Blood Falls" . TierneyLab (blog). The New York Times .
↑ 2.0 2.1 Mikucki, Jill A.; Pearson, Ann; Johnston, David T.; Turchyn, Alexandra V.; Farquhar, James; Schrag, Daniel P.; Anbar, Ariel D.; Priscu, John C.; Lee, Peter A. (April 17, 2009). "A Contemporary Microbially Maintained Subglacial Ferrous "Ocean" ". Science (ภาษาอังกฤษ). 324 (5925): 397–400. Bibcode :2009Sci...324..397M . doi :10.1126/science.1167350 . ISSN 0036-8075 . PMID 19372431 . S2CID 44802632 .
↑ Bell, Robin (February 24, 2016). "Changes on the ice" . Nature (ภาษาอังกฤษ). 530 (7591): 507. doi :10.1038/nj7591-507a .
↑ Mikucki, Jill (25 ธันวาคม 2010). "In Antarctica, the thrill of research outweighs the solitude" . The New York Times . ISSN 0362-4331 . สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2016 . {{cite news }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "Blood Falls, Antarctica" . MicrobeWiki . Kenyon College . 26 สิงหาคม 2010.
↑ Mazza, Ed (29 เมษายน 2015). "การศึกษาใหม่อธิบายปรากฏการณ์น้ำตกเลือดอันลึกลับของแอนตาร์กติกา" . Huffington Post . สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2016 .
↑ "Dr. Jill Mikucki" . Department of Microbiology, College of Arts & Sciences, University of Tennessee . Click on "Education" tab. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-06-19. สืบค้นเมื่อ July 29, 2016 .
↑ Byrd, Deborah. "Origin of Antarctica's eerie Blood Falls" . Earth & Sky . สืบค้นเมื่อ July 29, 2016 .
↑ Gramling, Carolyn (April 28, 2015). "Salty Water Lurks Beneath Antarctica" . Science . doi :10.1126/science.aab2560 . สืบค้นเมื่อ August 7, 2016 .
↑ "First-ever Use of Airborne Resistivity System in Antarctica Allows Researchers to Look Beneath Surface in Untapped Territories" (Press release). National Science Foundation . March 12, 2012. สืบค้นเมื่อ July 29, 2016 .
↑ Schilling, Govert (January 27, 2013). "Pay Dirt! Antarctic Drilling Reaches Lake Surface" . LiveScience . สืบค้นเมื่อ July 29, 2016 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ดูเพิ่มเติม