จอห์น เอ. เอกิ้น

จอห์น เอ. เอกิ้น
เกิด28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1854
มลรัฐเพนซิลวาเนีย, สหรัฐอเมริกา

จอห์น เอ เอกิ้น (อังกฤษ: John A. Eakin) เป็นมิชชันนารีผู้เผยแผ่นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นหนึ่งในผู้บริหารคนแรกของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโรงเรียนอย่างมาก โดยในค.ศ. 2006 ทางโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้สร้างอาคารเรียนทันสมัยแห่งใหม่ เป็นอาคารเรียนสูง 16 ชั้น ทดแทนอาคารเดิม ซึ่งได้ตั้งชื่ออาคารนี้ว่า อาคารจอห์น เอ. เอกิ้น

ประวัติ

อาคารจอห์น เอ. เอกิ้น สูง 16 ชั้น อยู่ด้านหลังหอธรรม โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสนาจารย์ จอห์น เอ. เอกิ้น

จอห์น เอ เอกิ้น เกิดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1854 ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย[1] ครอบครัว จอห์น อาศัยอยู่ในรัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งมีร้านขายของเล็ก ๆ เป็นกิจการของครอบครัว และเป็นครอบครัวที่เชื่อในพระเจ้า พ่อ และแม่เป็นผู้เชื่อที่เข้มแข็งในพระเจ้า และตั้งแต่เด็ก จอห์น ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ที่ให้อยู่ในทางของพระเจ้าและพ่อแม่ฝึกฝนให้จอห์นให้เข้มแข็งและรู้จักอดทนกับปัญหาและรู้จักช่วยเหลือและทำงานด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็กและมากกว่านั้นสิ่งที่พ่อแม่ของจอห์นเน้นอยู่เสมอทุกครั้งที่สอนคือเรื่องของความสัตย์ซื่อกับพระเจ้าฉะนั้นจอห์นเป็นคนที่สัตย์ซื่อกับพระเจ้าและชอบงานรับใช้มาตั้งแต่เด็ก ความฝันของจอห์นเวลานั้นอยากจะเป็นศิษยาภิบาล เหมือนกับศิษยาภิบาลที่โบสถ์ของเขา ฉะนั้นจอห์นมีหัวใจแห่งการรับใช้มาตั้งแต่เด็กและพระเจ้าทรงเรียกจอห์นในเวลานั้น โดยการใส่ภาระใจให้จอห์นอยากเป็นมิชชันนารี เวลานั้นจอห์นอยากออกไปเป็นมิชชันนารีและสนใจ เกี่ยวกับงานมิชชั่น และในที่สุดพระเจ้าก็เปิดทางให้จอห์นได้มีโอกาสออกไปรับใช้ แต่ครั้งนี้ไม่ได้ไปในฐานะมิชชันนารีแต่ไปในฐานะครู ซึ่งในช่วงเวลานั้นจอห์นได้สำเร็จการศึกษาพอดี จอห์นสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยวอชิงตันและเจฟเฟอ์สัน (Washington and Jefferson College) ในปี ค.ศ. 1879

จอห์นจึงตัดสินใจออกเดินทางเข้าสู่ราชอาณาจักรสยาม ในฐานะเป็นครูใน พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และจอห์นก็เริ่มต้นทำงานในสยามโดยรับราชการเป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนสวนอนันต์ หรือ King’s College อยู่ 4 ปี และในช่วงเวลานั้นจอห์นทนเห็นสภาพสังคมและสภาพจิตใจของคนในเวลานั้นไม่ไหว ซึ่งทำให้จอห์นเป็นห่วงสภาพจิตใจ จิตวิญญาณของพวกเขาอย่างมาก และอยากช่วยเหลือด้านสังคม ด้านจิตใจ และด้านจิตวิญญาณคนเหล่านี้ จอห์นตัดสินใจกลับสหรัฐเพื่อจะศึกษาต่อด้านศาสนาศาสตร์เพื่อจะสมัครเป็นมิชชันนารี และในที่สุดจอห์นก็ได้เดินทางกลับมาสยามอีกครั้งในฐานะมิชชันนารี และพร้อมกับภรรยาของเขาคือ มิสลอร่า โอล์มสเตด และการกลับมาครั้งนี้จอห์นและภรรยาได้นำการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนามาสู่ชาวสยาม จอห์นได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนเพื่อให้คนยากไร้ได้มาศึกษา และสอนด้านศิลธรรม จริยธรรม เพื่อนำชาวสยามได้รับความรอดด้านจิตวิญญาณ โดยตั้งโรงเรียนคือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

ผลงาน

ในค.ศ.1888 (พ.ศ. 2431) ได้ก่อตั้งโรงเรียนบางกอกคริสเตียนไฮสคูล ที่ ตำบลกุฏีจีน ซึ่งภายหลังได้ไปรวมกับโรงเรียนที่ตั้งโดยศาสนาจารย์แมททูน เป็นโรงเรียนสำเหร่บอยสคูล และในค.ศ.1904 ย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่ ถนนประมวญ และเมื่อค.ศ.1913 (พ.ศ. 2456) ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

อ้างอิง

  1. คริสตจักรที่ 1 สำเหร่หน้า กับ 150 ปีแห่งความเชื่อศรัทธา ค.ศ. 1849-1999. พิมพ์ที่ ยูเนี่ยนแอดกราฟิก โดยนายณัฐพร ศิลปศร, พ.ศ. 2542, หน้า 46.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!