คาวา ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper methylsticum ในอินโดนีเซียเรียกวาฆีหรือวาตี ในอิเรียนจายาเรียกบารี เป็นไม้พุ่มเนื้อแข็ง ส่วนข้อโป่งพอง มีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบดอกแยกเพศ แยกต้น ดอกช่อ ดอกย่อยไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ติดผลน้อย ผลมีเมล็ดเดียว
คาวาเป็นพืชที่พบในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณวานูอาตู ซามัว ตองงา ฟิจิ ไมโครนีเซีย และปาปัวนิวกินี นิยมนำรากและกิ่งก้านของพืชชนิดนี้มาเคี้ยว ทำให้สารในพืชคือมารินดินและไดไฮโดรสติซิน สารนี้ทำให้ซึม ง่วงงุน รู้สึกมีความสุขและทำให้ฟันทน[1] ใช้ผลิตเครื่องดื่มที่เรียกคาวา โดยนำชิ้นส่วนของต้นไปบดแช่น้ำแล้วกรอง นำของเหลวสีขาวอมน้ำตาลไปดื่ม รากและใบใช้รักษาอาการปวดข้อ วัณโรค หนองใน อาการไข้ นอกจากนั้น คาวายังเป็นเครื่องดื่มที่มีความสำคัญทางพิธีกรรม ในงานประเพณีต่างๆและยังเป็นของขวัญที่สำคัญ ในคาวามีสารคาวาแลกโทน ซึ่งออกฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ คาวาแห้ง 100 กรัมมีคาวาแลกโทนประมาณ 3-20 กรัม
อ้างอิง
- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16: พืชให้สารกระตุ้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 140 – 142
- ↑ จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555