ไม่มี
ขบวนพาเหรดทีมชาติสิงคโปร์ในพาราลิมปิก 2016
ประเทศสิงคโปร์ ไม่มีคำจำกัดความอย่างเป็นทางการของความพิการ ประเทศสิงคโปร์ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ใน ค.ศ. 2013 รวมถึงประสานงานแผนแม่บทการสนับสนุนกับทั้งรัฐบาลและองค์การนอกภาครัฐ
ประวัติ
วาทกรรมการกุศลโดยทั่วไปแพร่หลายในประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การสนับสนุนคนพิการได้ตกเป็นของชุมชนที่ก่อตั้งองค์การอาสาสมัครต่าง ๆ[ 1] การสิ้นสุดของสงครามทำให้อังกฤษบังคับใช้รัฐสวัสดิการตามรายงานของเบเวอริดจ์ ซึ่งส่งผลกระทบในประเทศสิงคโปร์ ส่วนกรมสวัสดิการสังคม (SWD) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งเน้นเรื่องสวัสดิการ[ 1] ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือถาวรเฉพาะผู้ทุพพลภาพถาวรหรือเนื่องจากวัยชราเท่านั้น[ 1] อย่างไรก็ตาม กรมสวัสดิการสังคมยังไม่ครอบคลุมเท่ากับระบบของอังกฤษ กรมสวัสดิการสังคมไม่ได้จัดเตรียมข้อกำหนดสำหรับการศึกษาพิเศษ และในความเป็นจริง ดูเหมือนว่าจะมีความคิดที่ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะ "กีดขวางการศึกษาของเด็กโดยทั่วไป"[ 1] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และคริสต์ทศวรรษ 1970 ด้วยการที่สิงคโปร์เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้เห็นความสำคัญครั้งใหม่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าร่วมและกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้[ 1] โดยเป็นเพียงใน ค.ศ. 1981 เมื่อการประชุมระดับโลกครั้งแรกของคนพิการนานาชาติจัดขึ้นที่สิงคโปร์ ซึ่งได้เริ่มวาทกรรมใหม่บนพื้นฐานของตัวแบบความพิการทางสังคม [ 1] ทั้งนี้ นักเคลื่อนไหวคนพิการจากทั่วโลก รวมถึงวิก ฟิงเคลสไตน์ , เอ็ด รอเบิตส์ (นักเคลื่อนไหว) และเบ็งต์ ลินด์ควิสต์ ได้เลือกรอน แชนแดรน ดัดลีย์ ชาวสิงคโปร์เป็นประธานผู้ก่อตั้งคนแรก โดยสิ่งนี้จะนำไปสู่การเติบโตของการเคลื่อนไหวเพื่อคนพิการตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นไป[ 1]
ใน ค.ศ. 1983 กระทรวงกิจการสังคม ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องคนพิการและมีนโยบายอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนคนพิการ[ 1] การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวได้นำเสนอคำจำกัดความความพิการที่ได้รับการรับรองระดับชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งตระหนักถึงความต้องการของพวกเขาในสังคม[ 1] ส่วนสภาที่ปรึกษาคนพิการก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 และมีโทนี ตัน เค็ง ยัม เป็นประธานคนแรก[ 1] โดยสภาดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรวมตัวคนพิการให้เป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกัน[ 1]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
การอ้างอิง
↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Kuansong, Zhuang (2010). "Enabling the Singapore Story: Writing a History of Disability". Monograph 42: Studies in Malaysian & Singapore History: Mubin Sheppard Memorial Essays : 47–81.
แหล่งที่มา
DPA (2015). Singapore and the UN CRPD (PDF) . Singapore: Disabled People's Association, Singapore.
Fam, Anita (2016). 3rd Enabling Masterplan 2017-2021: Caring Nation, Inclusive Society (PDF) . ISBN 9789811119606 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2023-08-28 .
Luk, Sabrina (2014). Health Insurance Reforms in Asia . New York: Routledge. ISBN 9781317748649 .
Raghunathan, Ranjana; Balakrishnan, Balambigai; Smith, Catherine J.; Kadir, Mumtaz MD. (2015). People With Physical Disabilities in Singapore: Understanding Disabling Factors in Caregiving, Education, Employment and Finances . Singapore: Lien Centre for Social Innovation. ISBN 9789810959364 .
Wong, Meng Ee; Ng, Ian; Lor, Jean; Wong, Reuben (2017). "Navigating Through the 'Rules' of Civil Society: In Search of Disability Rights in Singapore" . ใน Song, Jiyoung (บ.ก.). A History of Human Rights Society in Singapore: 1965-2015 . New York: Routledge. ISBN 9781315527406 .
Kuansong, Zhuang. "Enabling the Singapore Story: Writing a History of Disability", in Monograph 42: Studies in Malaysian & Singapore History: Mubin Sheppard Memorial Essays, pp. 47–81. Edited by Bruce Lockhart and Lim Tse Siang. KL: MBRAS, 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น