คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาสถาปนา | 27 พฤศจิกายน 2549[1] |
---|
คณบดี | ผศ.ดร.ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ |
---|
ที่อยู่ | |
---|
เว็บไซต์ | http://sat.rmutl.ac.th |
---|
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็น 1 ใน 4 คณะแรกที่จัดตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีสำนักงานคณบดีตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท
ประวัติ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งรวมเอาวิทยาเขตต่างๆ ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เข้าด้วยกันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรขึ้น เพื่อจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีการจัดการศึกษาใน 6 เขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย น่าน พิษณุโลก และตาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มีการดำเนินการผลิตนักศึกษาด้วยหลักสูตรของคณะใน 4 เขตพื้นที่คือ พิษณุโลก ลำปาง น่าน และตาก
รายนามคณบดี
- นายวินิจ นุ่มฤทธิ์ (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554)
- รศ.ดร.สมชาติ หาญวงศา (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557)
- นายยรรยง เฉลิมแสน (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562)
- รศ.ดร.สุนทร วิทยาคุณ (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566)
- ผศ.ดร.ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
หลักสูตรที่เปิดสอน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เปิดทำการสอนทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 6 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีจำนวน 6 หลักสูตร และระดับบัณฑิตศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน 2 หลักสูตร นับเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่เปิดทำการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในปีการศึกษา 2566 มีจำนวนนักศึกษารวม 1,157 คน จำแนกเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 122 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรี 1,012 คนและนักศึกษาระดับปริญญาโท 23 คน[2]
ปัจจุบันมีสาขาและหลักสูตรที่เปิดทำการสอน ดังนี้[3]
หน่วยงาน
|
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
|
ระดับปริญญาตรี
|
ระดับปริญญาโท
|
สาขาเกษตรศาสตร์
|
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรเกษตรศาสตร์ (วิชาเอกพืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/ประมง)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
|
|
|
|
|
สาขาวิทยาศาสตร์
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
|
|
สาขาอุตสาหกรรมเกษตร
|
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
- หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร
- หลักสูตรเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
- หลักสูตรธุรกิจอาหารและโภชนาการ
- หลักสูตรครื่องจักรกลเกษตร
|
|
จำนวนคณาจารย์
ในปีการศึกษา 2562 มีจำนวนอาจารย์ประจำจำนวนรวม 268 คน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ จำนวน 14 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 86 คนและอาจารย์ที่่ยังไม่มีตำแหน่งวิชาการ จำนวน 168 คน
|
|
จำนวน (คน)
|
|
1.
|
วุฒิปริญญาเอก
|
วุฒิปริญญาโท
|
วุฒิปริญญาตรี
|
|
108.5
|
155
|
4.5
|
|
|
สัดส่วนวุฒิ (ร้อยละ)
|
|
2.
|
วุฒิปริญญาเอก
|
วุฒิปริญญาโท
|
วุฒิปริญญาตรี
|
|
40.48
|
57.83
|
0.01
|
หมายเหตุ: รายการที่ 1: ทศนิยมหมายถึงมีระยะเวลาปฏิบัติงานไม่ถึง 1 ปี
กิจกรรมนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับคณะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[4] ได้แก่
- สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน
การรับรองมาตรฐานการศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2562 มีผลการประเมินมาตรฐานในภาพรวมอยู่ในระดับ "ดีมาก" (ได้คะแนน 4.58 จากคะแนนเต็ม 5) โดยองค์ประกอบที่ 1: การผลิตบัณฑิต มีผลการประเมินในระดับดี (4.41) องค์ประกอบที่ 2: การวิจัย มีผลการประเมินในระดับดี (4.35) องค์ประกอบที่ 3: การบริการวิชาการ มีผลการประเมินในระดับดีมาก (5.0) องค์ประกอบที่ 4: การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีผลการประเมินในระดับดีมาก (5.0) และองค์ประกอบที่ 5: การบริหารจัดการ มีผลการประเมินในระดับดีมาก (5.0)[5]
อ้างอิง