มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (อังกฤษ: Sakon Nakhon Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 ในชื่อ "โรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร"
ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร[2]
ประวัติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนคร ไปทางจังหวัดอุดรธานี ระยะทาง 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 612 ไร่ เดิมเป็นที่ดินของกระทรวงกลาโหม และของกรมตำรวจ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพลตำรวจภูธร 4 จังหวัดสกลนคร แต่ได้ยุบเลิกไปรวมกับภาคอื่น ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ใช้สถานที่ก่อสร้างศาลากลางจังหวัดสกลนคร การก่อสร้างตัวอาคารได้เสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 แต่ยังใช้ไม่ได้ กระทรวงมหาดไทย ได้เปลี่ยนโครงการไปสร้างศาลากลางจังหวัดใหม่ที่บริเวณศูนย์ราชการในปัจจุบัน จังหวัดสกลนคร กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ขอที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู ซึ่ง พณฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีใด้มีบัญชาให้มอบที่ดิน และสิ่งก่อสร้างให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู โรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
โรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 รับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 70 คน (ชาย 48 หญิง 22 คน) โดยฝากเรียนไว้กับวิทยาลัยครูอุบลราชธานี วิทยาลัยครูมหาสารคามและวิทยาลัยครูอุดรธานี มีนายจำนง ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เป็นอาจารย์ใหญ่ ปีการศึกษา 2508 รับนักศึกษาเพิ่ม 152 คน มีครู - อาจารย์ 18 คน ปีการศึกษา 2509 เริ่มเปิดสอนในระดับ ป.กศ.สูง เป็นปีแรก รับนักศึกษา รับนักศึกษา จำนวน 146 คน มีครูอาจารย์ 24 คน นายพจน์ ธัญญขันธ์ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ การดำเนินงานของโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนครได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับมีการรับนักศึกษาเพิ่มขึ้น มีครูอาจารย์เพิ่มมากขึ้น อาคารและสิ่งก่อสร้างก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการจึงยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสกลนคร" เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2513และได้ขยายการผลิตครูออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคปกติ และภาคค่ำ
วิทยาลัยครูสกลนคร
ในปีการศึกษา 2518 เปิดสอนในระดับปริญญาตรี (ค.บ.)เป็นปีแรก
ปีการศึกษา 2519 สภาการฝึกหัดครูได้จัดให้มีการเรียนการสอนแบบทวิภาค ดังนั้น สถาบันจึงเปลี่ยนชื่อจาก "นักศึกษาภาคค่ำ" เป็น "นักศึกษาต่อเนื่อง" จนถึงปี 2521
ปีการศึกษา 2521 ได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง (หลังอนุปริญญา) เป็นปีแรกและเปิดอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.)
ปีการศึกษา 2528 เปิดสอนในสาขาวิชาที่หลากหลายมากขึ้น คือ สาขาศิลปศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์
ปีการศึกษา 2529 เปิดสอนในโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาตรี 2 ปีหลัง
ปีการศึกษา 2530 เริ่มโครงการคุรุทายาท เป็นปีแรก
สถาบันราชภัฏสกลนคร
ต่อมา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศว่า "สถาบันราชภัฏ" ในปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ต่อรัฐสภา เมื่อผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2538 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 4 ก ลงวันที่ 24 มกราคม 2538 จากพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ กองสาสนะ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของสถาบันราชภัฏสกลนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏสกลนครได้รับยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 และผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครคือ ผศ.ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครคนปัจจุบัน คือ ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ตราประจำมหาวิทยาลัย
- สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
- สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 สถาบัน
- สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สีประจำมหาวิทยาลัย
คณะ
สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ดูเพิ่มเติมที่: พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
- ปี พ.ศ. 2538-2546 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏสกลนคร-สถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ สถาบันราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ปี พ.ศ. 2547-2559 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ปี พ.ศ. 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ครุยวิทยฐานะ
ครุยวิทยฐานะรูปแบบนี้มีลักษณะคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา ครุยวิทยฐานะมีลักษณะครุยเนื้อผ้าทึบสีดำมีทบสีน้ำเงินและลายผ้าภูไท[3]
ลักษณะครุยวิทยะฐานะ
- ดุษฎีบัณฑิต (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- มหาบัณฑิต (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
- บัณฑิต (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร อยู่ในอันดับที่ 2,575 ของโลก อันดับที่ 90 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 32 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[4]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
สัญลักษณ์ | |
---|
กลุ่มรัตนโกสินทร์ | |
---|
กลุ่มภาคกลาง | |
---|
กลุ่มภาคเหนือ | |
---|
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |
---|
กลุ่มภาคใต้ | |
---|
อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฎ | |
---|
|
|
---|
|
|
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
|
|
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
|
|
|
|
|