คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2486
(81 ปี 75 วัน)
คณบดีศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง
ที่อยู่
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
วารสารวารสารศิลป์ พีระศรี
สี  สีหรดาล[1]
มาสคอต
พระคเณศ
เว็บไซต์www.finearts.su.ac.th

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง (ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร)

ประวัติ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีกำเนิดและประวัติความเป็นมาสรุปโดยย่อดังนี้

  • พ.ศ. 2476 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งส่วนราชการใน กรมศิลปากร จัดตั้งกองประณีตศิลปกรรมขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2476 จุดเริ่มต้น "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร"
  • พ.ศ. 2477 กองประณีตศิลปกรรมแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 แผนกคือ แผนกช่างและแผนกโรงเรียน คือโรงเรียนประณีตศิลปกรรม มีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการ จัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกหัดอบรมวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและยุวชนไทยโดยมิได้เก็บค่าเล่าเรียน
  • พ.ศ. 2480 โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง"
  • พ.ศ. 2481 นักเรียนจากโรงเรียนประณีตศิลปกรรมจบการศึกษาเป็นรุ่นแรก และเป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในการสร้างอนุสาวรีย์สำคัญในเมืองไทย
  • พ.ศ. 2486
    • จัดการแสดงศิลปกรรมของนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ประจักษ์ถึงคุณค่าของศิลปกรรม
    • วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรแผนกช่างขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากร"[2] โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้น โดยมีศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้อำนวยการมหาวิทยาลัย และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม คณะวิชาแรกของ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2488 มหาวิทยาลัยศิลปากรผลิตอนุปริญญาศิลปบัณฑิตรุ่นแรก จำนวน 8 คน
  • พ.ศ. 2497 คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ผลิตบัณฑิตสาขาประติมากรรมเป็นคนแรกจำนวน 1 คน
  • พ.ศ. 2505
    • ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมฯ ถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม
  • พ.ศ. 2509 คณะจิตรกรรมและประติมากรรมได้ขออนุมัติจากสภาการศึกษาแห่งชาติ จัดตั้งภาควิชาภาพพิมพ์ขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกทำปริญญาทางสาขาวิชาภาพพิมพ์ได้เช่นเดียวกับภาควิชาจิตรกรรมและภาควิชาประติมากรรม การจัดตั้งภาควิชาภาพพิมพ์มีผลต่อชื่อของคณะฯ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์"
  • พ.ศ. 2511 คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ได้ผลิตศิลปบัณฑิตทางภาพพิมพ์ขึ้นเป็นรุ่นแรก จำนวน 4 คน
  • พ.ศ. 2514
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน ยิ้มศิริ รักษาการในตำแหน่งคณบดี ถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2514
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
    • มหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ โดยจัดให้มีการศึกษาภาคพื้นฐานขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทั่วไปในวิชาศิลปศาสตร์ อันจะทำให้เป็นบัณฑิตผู้รอบรู้ มีทัศนคติอันดีงาม รู้จักวินิจฉัย มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นทางนำคุณประโยชน์มาสู่สังคม และเพื่อให้ระบบการสอนแบบหน่วยกิตที่ได้มาตรฐานสากลคณะจิตรกรรมฯ จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรของคณะฯ ขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย หลักสูตรปรับปรุงใหม่นี้สำเร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2517
    • เปิดหลักสูตรใหม่เพื่อให้เข้าสู่ระบบการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยสากล ศึกษาโดยใช้ระบบหน่วยกิตและมีการศึกษาวิชาความรู้พื้นฐานทั่วไปทุกคณะวิชา
    • คณะจิตรกรรมฯ ได้รับอนุมัติจากสภาการศึกษาแห่งชาติให้เปิดสอนระดับปริญญาโทเป็นปีแรก 3 สาขา คือ สาขาจิตรกรรม สาขาประติมากรรม และสาขาภาพพิมพ์ มีนักศึกษาจำนวน 4 คน
    • คณะจิตรกรรมฯ เปิดอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2517
  • พ.ศ. 2518
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ลาออกจากตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณา คชเสนีย์ รับตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2519
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรการศึกษาภาควิชาศิลปไทย เพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ในลักษณะไทยประเพณีและลักษณะไทยสร้างสรรค์ มีนักศึกษาจบการศึกษารุ่นแรก ใน พ.ศ. 2521 จำนวน 2 คน
  • พ.ศ. 2520 คณะจิตรกรรมฯ จัดแสดงศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ ครั้งที่ 1 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ณ อาคารภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2523
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2527
    • รองศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2529 คณะจิตรกรรมฯ ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เปลี่ยนโครงสร้างจำนวนหน่วยกิต นักศึกษาในระดับปริญญา เลือกศึกษาสาขาวิชาเอกและสาขาวิชาโทอย่างละหนึ่งสาขาวิชา มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงกลุ่มวิชาพื้นฐานทั่วไปใหม่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา มีวิชาสังคมศาสตร์ วิชามนุษย์ศาสตร์ วิชาภาษา และวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2530 คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรการศึกษาภาควิชาทฤษฎีศิลป์ เพื่อรวบรวมรายวิชาทฤษฎีศิลป์เข้าไว้ด้วยกัน และเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านวิชาการและการวิจารณ์ศิลปะ
  • พ.ศ. 2531
    • อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • คณะจิตรกรรมฯ จัดตั้งหอศิลป์ของคณะจิตรกรรมฯ ขึ้น และเปิดการแสดงศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 โดยมีนโยบายที่จะสนับสนุนการแสดงผลงานของคณาจารย์ และนักศึกษาของคณะฯ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่มีผลงานได้มาตรฐาน
    • คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย
  • พ.ศ. 2534
    • รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เป็นการชั่วคราว
    • อาจารย์ พิษณุ ศุภนิมิตร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2535 คณะจิตรกรรมฯ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนิทรรศการศิลปกรรม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การจัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน และทรงเขียนภาพพระราชทาน ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535
  • พ.ศ. 2536 คณะจิตรกรรมฯ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโอกาสนี้คณะจิตรกรรมฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ 10 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษจำนวน 50 ท่าน ได้ร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ 50 ปี คณะจิตรกรรมฯ สร้างอุทิศแก่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้เป็นบิดาของศิลปกรรมร่วมสมัยของไทย ชื่อผลงานคือ 50 ปี : 50 จินตภาพ ติดตั้งถาวรที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
  • พ.ศ. 2538
    • อาจารย์พิษณุ ศุภนิมิตร หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2539 คณะจิตรกรรมฯ จัดพิมพ์หนังสือ "ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1–8" และ "ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9" เนื่องในปีมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  • พ.ศ. 2542
    • อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • คณะจิตรกรรมฯ จัดโครงการ "ทัศนศิลป์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ" ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า
    • คณะจิตรกรรมฯ ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 100 ปี ในการจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มอบแก่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 34 แห่ง
  • พ.ศ. 2543 การจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมครั้งที่ 17 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมชื่อ "กำแพงแห่งศรัทธา" เป็นผลงานชิ้นใหญ่ติดตั้งถาวรที่ ธนาคารกสิกรไทย รายได้จากการจำหน่ายผลงานชุดกำแพงศรัทธา นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
  • พ.ศ. 2545 การจัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมครั้งที่ 19 ของอาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานชื่อ "ศิลปกรรมดินเผา 60 ปี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" ติดตั้งผลงานที่ด้านหน้าตึกคณะจิตรกรรม 1 เนื่องในโอกาสที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีอายุครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2546
  • พ.ศ. 2546
    • คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี จัดนิทรรศการโครงการมหกรรมศิลปกรรม นักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ป.ตรี–ป.โท) เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี และในปีการศึกษา 2546 คณะฯ ได้ดำเนินการตัดโครงการเนื่องในโอกาสที่คณะจิตรกรรมฯ มีอายุครบ 60 ปี ทั้งหมด 6 โครงการคือ
      • โครงการมหกรรมศิลปกรรมของนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ป.ตรี–ป.โท) เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      • โครงการนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      • โครงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมระหว่างชาติ
      • โครงการนิทรรศการศิลปกรรมของอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวาระครบ 60 ปี "ศิลปกรรมสุวรรณภูมิ"
      • โครงการผลิตตำรา–วารสาร–บทความทางวิชาการศิลปะ เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
      • โครงการศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 20
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • ศาสตราจารย์ ธนะ เลาหกัยกุล ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2547
    • ศาสตราจารย์ธนะ เลาหกัยกุล ลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เป็นการชั่วคราว
    • อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
  • พ.ศ. 2548 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาภาพพิมพ์ เกียรตินิยมอันดับ 2 ในปีการศึกษา 2548
  • พ.ศ. 2549 คณะจิตรกรรมฯ เปิดหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ รับนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ครั้งแรกในภาคการศึกษา 2/2549
  • พ.ศ. 2550 คณะจิตรกรรมฯ ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย และเริ่มใช้ในภาคการศึกษา 1/2551
  • พ.ศ. 2551
    • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเข้าศึกษาในคณะจิตรกรรมฯ ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย ในหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปไทย (ฉบับปรับปรุง 2550) ในแผน ก แบบ ก1
    • คณะจิตรกรรมฯ ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 เป็นหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ และเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในภาคการศึกษา 1/2551
    • คณะจิตรกรรมฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ จัดตั้งหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา โดยอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
    • คณะจิตรกรรมฯ ปรับปรุงหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม สาขาวิชาประติมากรรม สาขาวิชาภาพพิมพ์ สาขาวิชาศิลปไทย เป็นหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ โดยอยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พ.ศ. 2552
    • อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • รองศาสตราจารย์ ปริญญา ตันติสุข ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  • พ.ศ. 2556
    • รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข หมดวาระการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ
    • อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หน่วยงาน

อาคารคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
  • สำนักงานคณบดี
  • ภาควิชาจิตรกรรม
  • ภาควิชาประติมากรรม
  • ภาควิชาภาพพิมพ์
  • ภาควิชาศิลปไทย
  • ภาควิชาทฤษฎีศิลป์

หลักสูตร

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) 5 ปี

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)

  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
    • วิชาเอกจิตรกรรม
    • วิชาเอกประติมากรรม
    • วิชาเอกภาพพิมพ์
    • วิชาเอกศิลปะไทย
    • วิชาเอกสื่อผสม
  • สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์
  • สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา (ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาทัศนศิลป์

ทำเนียบคณบดี

รายนามคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พ.ศ. 2486 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2501
1 กันยายน พ.ศ. 2501 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505[4]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เขียน ยิ้มศิริ รักษาราชการแทนคณบดี 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2514
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ รักษาราชการแทนคณบดี 15 มีนาคม พ.ศ. 2514 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2517[5]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤษณา คชเสนีย์ รักษาราชการแทนคณบดี 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 12 เมษายน พ.ศ. 2519
5
รองศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ดำ 13 เมษายน พ.ศ. 2523 – 12 เมษายน พ.ศ. 2527[6]
รักษาราชการแทนคณบดี 3 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534[7]
6
อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน 13 เมษายน พ.ศ. 2527 – 12 เมษายน พ.ศ. 2531[8]
7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2542[9]
7
รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ 13 เมษายน พ.ศ. 2531 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (ลาออก)[10]
รักษาราชการแทนคณบดี 21 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2548[11]
8
อาจารย์ พิษณุ ศุภนิมิตร 7 สิงหาคม พ.ศ. 2534 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2538[12]
9
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2546[13]
10
ศาสตราจารย์ ธนะ เลาหกัยกุล 7 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2548[14]
11
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริชัย ชินะตังกูร รักษาราชการแทนคณบดี 20 มีนาคม พ.ศ. 2548[15]
12
อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[16]
13
รองศาสตราจารย์ ปริญญา ตันติสุข 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[17]
14
อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[18]
15
รองศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ กุญแจทอง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน[19]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

เกร็ด

  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย
  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เดิมใช้ชื่อคณะว่า "คณะจิตรกรรมและประติมากรรม"

อ้างอิง

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พุทธศักราช 2486 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา 12 ตุลาคม 2486 หน้า 1496 เล่ม 60 ตอนที่ 54
  3. ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร, สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 09:39:35 น.
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 71/2514 ลงวันที่ 14 เมษายน 2514
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 253/2523 ลงวันที่ 14 เมษายน 2523
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 485/2534 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2534
  8. คำสั่ง มศก. ที่ 263/2527 ลงวันที่ 5 เมษายน 2527
  9. คำสั่ง มศก.ที่ 721/2538 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2538
  10. คำสั่ง มศก.ที่ 271/2531 ลงวันที่ 14 เมษายน 2531
  11. คำสั่ง มศก.ที่ 400/2548 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2548
  12. คำสั่ง มศก.ที่ 710/2534 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2534
  13. คำสั่ง มศก.ที่ 635/2542 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2542
  14. คำสั่ง มศก.ที่ 819/2546 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2546
  15. คำสั่ง มศก.ที่ 360/2548 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548
  16. คำสั่ง มศก. ที่ 745/2548 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2548
  17. คำสั่ง มศก. ที่ 376/2552 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2552
  18. คำสั่ง มศก. ที่ 740/2556 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2556
  19. คำสั่ง มศก. ที่ 1012/2560 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2560

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Read other articles:

Mexican actress In this Spanish name, the first or paternal surname is Calderón and the second or maternal family name is León. Leticia CalderónCalderón in 2015, alongside Jorge Ortiz de PinedoBornCarmen Leticia Calderón León (1968-07-15) July 15, 1968 (age 55)Guaymas, Sonora, MexicoOther namesLety CalderónOccupationActressYears active1983-presentSpouses Marco Lopez ​ ​(m. 1997; div. 1999)​ Juan Collado ​ ...

 

Сент-ЕлаліSainte-Eulalie Країна  Франція Регіон Овернь-Рона-Альпи  Департамент Ардеш  Округ Ларжантьєр Кантон Бюрзе Код INSEE 07235 Поштові індекси 07510 Координати 44°47′58″ пн. ш. 4°07′41″ сх. д.H G O Висота 1 156 - 1 534 м.н.р.м. Площа 22,11 км² Населення 213 (01-2020[1]) Густота 10,58 о...

 

Les MoulinsMunicipalité régionale de comté des Moulins Municipio regional de condado Ubicación del MRC Les Moulins en QuebecCoordenadas 45°45′N 73°36′O / 45.75, -73.6Capital TerrebonneCiudad más poblada TerrebonneEntidad Municipio regional de condado • País  Canadá • Provincia  Quebec • Región Lanaudière • Sede TerrebonnePrefecto Jean-Marc RobitailleSubdivisiones 640Fundación 1 de enero de 1982Superficie   • Tot...

Dieser Artikel erläutert die niedersächsische Varietät der niederdeutschen Sprache. Zu anderen Bedeutungen des Adjektivs niedersächsisch siehe Niedersächsisch (Begriffsklärung). Niedersächsisch Gesprochen in Deutschland, Niederlande LinguistischeKlassifikation Indogermanische Sprachfamilie Germanische Sprachen Westgermanische Sprachen Niederdeutsche Sprache Niedersächsisch Niedersächsisch (in den Niederlanden: Nedersaksisch) bildet einen Teil des niederdeutschen Dialektkontinuums im ...

 

هذه المقالة يتيمة إذ تصل إليها مقالات أخرى قليلة جدًا. فضلًا، ساعد بإضافة وصلة إليها في مقالات متعلقة بها. (يوليو 2021) يعتبر القنب الهندي في إريتريا غير قانوني مع فرض عقوبات شديدة على إنتاج وبيع وحيازة الماريجوانا للأغراض الطبية أو الترفيهية. يُسجن الجناة لمدة تصل إلى اثني ع...

 

Artikel ini sebatang kara, artinya tidak ada artikel lain yang memiliki pranala balik ke halaman ini.Bantulah menambah pranala ke artikel ini dari artikel yang berhubungan atau coba peralatan pencari pranala.Tag ini diberikan pada Maret 2016. SMP Negeri 7 MalangInformasiJenisNegeriAkreditasiANomor Pokok Sekolah Nasional20533769Kepala SekolahIda WahyuniJumlah kelas25Rentang kelasKelas VII, Kelas VIII, Kelas IXKurikulumKurikulum MerdekaJumlah siswa783AlamatLokasiJl. Lembayung, Bu...

Residential in New York City, U.S.370 Riverside DriveIn winter.General informationTypeResidentialArchitectural styleGeorgian RevivalLocationUpper West Side, Manhattan, New York City, U.S.Coordinates40°48′15″N 73°58′06″W / 40.8043°N 73.9684°W / 40.8043; -73.9684Completed1922Height160 feet (49 m)Technical detailsFloor count15Design and constructionArchitecture firmSchwartz & GrossReferences[1] 370 Riverside Drive is a building on Riverside Dr...

 

Heritage site in Darlington, Tasmania Darlington Probation StationView of one of the buildings (the Commissariat Store) within the Darlington Probation Station precinct.TypeNational ParkLocationMaria IslandCoordinates42°34′57″S 148°04′12″E / 42.58250°S 148.07000°E / -42.58250; 148.07000Area2329.28 hectares[1]StatusAustralian National Heritage ListWorld Heritage listWebsitehttp://www.parks.tas.gov.au/index.aspx?base=2707 UNESCO World Heritage SiteTyp...

 

A list of statues of George Washington, an American Founding Father, commanding general of the Continental Army during the American Revolutionary War, and the first U.S. president. List Image Statue name Location Date Sculptor Source Equestrian statue of George Washington Boston, Massachusetts Boston Public Garden 1869 Thomas Ball Equestrian statue of George Washington New York City, New York Union Square 1856 Henry Kirke Brown George Washington Philadelphia, Pennsylvania Independence Hall 19...

2005 American TV series or program HushPromotional posterWritten byJulie Ferber Frank Steven FrankDirected byHarvey KahnStarringTori Spelling Victoria Pratt Tahmoh PenikettCountry of originUnited StatesOriginal languageEnglishProductionRunning time90 minutesOriginal releaseRelease May 23, 2005 (2005-05-23) Hush is a 2005 made-for-television movie that stars Tori Spelling and Tahmoh Penikett as a married couple who move back to his hometown to work as a doctor, and are...

 

Indian Kannada film GarudaDirected byDhana Kumar KWritten bySiddharth MaheshProduced byB K Raja Reddy Kishore A Prasad Reddy SStarringSiddharth MaheshSrinagara KittyAindrita RayAshika RangnathCinematographyJai AnandMusic byRaghu Dixit[1]ProductioncompanyOrange PixelsRelease date 20 May 2022 (2022-05-20) CountryIndiaLanguageKannada Garuda is a 2022 Indian Kannada-language action drama film directed by Dhana Kumar. K and written by Siddharth Mahesh. It stars Siddharth Mah...

 

Target CorporationJenisPublikKode emitenNYSE: TGT (S&P 500 Component)IndustriRitelDidirikanMinneapolis, Minnesota, A.S. (1902 (1902), sebagai Dayton Dry Goods)[1]PendiriGeorge DaytonKantorpusatTarget Plaza North & Target Plaza South, Minneapolis, Minnesota, A.S.Cabang1,921 (November 2013)[2]1,797 (U.S.) 124 (Kanada)[3]Wilayah operasiAmerika Serikat, KanadaTokohkunciGregg Steinhafel(Chairman, President and CEO)ProdukToko serba diskon, hypermarket, supercent...

Japanese rice cake For other uses, see Mochi (disambiguation). Rice cake kirimochi or kakumochi Rice cake marumochi Fresh mochi being pounded Mochi (もち, 餅), [motɕi] ⓘ is a Japanese rice cake made of mochigome (もち米), a short-grain japonica glutinous rice, and sometimes other ingredients such as water, sugar, and cornstarch. The steamed rice is pounded into paste and molded into the desired shape. In Japan, it is traditionally made in a ceremony called mochitsuki (餅搗...

 

Australian politician Joy BurchMLA7th Speaker of the Australian Capital Territory Legislative AssemblyIncumbentAssumed office 31 October 2016DeputyVicki Dunne Mark PartonPreceded byVicki DunneMinister for Education and Training, Minister for Multiculturalism, Minister for Disability, Minister for Women , Minister for Arts, Minister for Gaming and RacingIn officeDecember 2015 – January 2016Member of the Australian Capital Territory Legislative Assemblyfor BrindabellaIncumbentAss...

 

It has been suggested that this article be merged into Plasma (software). (Discuss) Proposed since September 2023. Desktop environment The KDE Plasma 5 desktopDeveloper(s)KDEInitial release15 July 2014; 9 years ago (2014-07-15)[1]Stable release5.27.10[2]  / 5 December 2023Preview releasen/a Repositoryinvent.kde.org/plasma Written inC++, QMLOperating systemUnix-likePlatformFreeBSD and LinuxPredecessorKDE Plasma 4TypeDesktop environmentLicenseGPL 2.0 or la...

1892–93 United States Senate elections ← 1890 & 1891 Dates vary by state 1894 & 1895 → 29 of the 88 seats in the United States Senate (as well as special elections)45 seats needed for a majority   Majority party Minority party   Leader Arthur Pue Gorman[a] John Sherman[b] Party Democratic Republican Leader since March 4, 1889 March 4, 1891 Leader's seat Maryland Ohio Seats before 39 47 Seats won 14 9 Seats afte...

 

2022 Indian filmKondaTheatrical release posterDirected byRam Gopal VarmaScreenplay byRam Gopal VarmaStory byRam Gopal VarmaProduced byKonda Sushmitha PatelStarringThrigunIrra MorTulasiL. B. SriramPrudhvi RajCinematographyMalhar Bhatt JoshiEdited byManish ThakurMusic byD.S.RProductioncompanyShresta Patel MoviesDistributed byA Company ProductionApple TreeRelease date 23 June 2022 (2022-06-23) Running time121 minutesCountryIndiaLanguageTelugu Konda (transl. The hill) is a 20...

 

You can help expand this article with text translated from the corresponding article in Korean. (April 2013) Click [show] for important translation instructions. Machine translation, like DeepL or Google Translate, is a useful starting point for translations, but translators must revise errors as necessary and confirm that the translation is accurate, rather than simply copy-pasting machine-translated text into the English Wikipedia. Do not translate text that appears unreliable or low-q...

Large piece of fabric wrapped around the body, loosely gathered and belted at the waist The Grant Piper by Richard Waitt, 1714. The pattern of the piper's belted plaid differs from any modern Grant tartan. The belted plaid is a large blanket-like piece of fabric which is wrapped around the body with the material pleated or, more accurately, loosely gathered and secured at the waist by means of a belt. Typically, a portion of the belted plaid hangs down to about the knees (for men) or ankles (...

 

American publisher and dictionary Merriam-WebsterParent companyEncyclopædia Britannica, Inc.Founded1831; 192 years ago (1831)FounderGeorge Merriam, Charles MerriamCountry of originUnited StatesHeadquarters locationSpringfield, Massachusetts, U.S.Publication typesReference books, online dictionariesOwner(s)Encyclopædia Britannica, Inc.Official websitewww.merriam-webster.com Merriam-Webster, Incorporated is an American company that publishes reference books and is mostly kno...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!