กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ การจัดการแข่งขันกีฬา งานด้านวิชาการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดงานระหว่างคณะเดียวกัน ในแต่ละมหาวิทยาลัยอีกด้วย

รายชื่อกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย

งานกีฬาอีสานสัมพันธ์

กีฬาอีสานสัมพันธ์ เป็นการแข่งกีฬาพื้นบ้าน ของนิสิตนักศึกษาจากชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งรวมกลุ่มกันในนาม สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสานแห่งประเทศไทย จัดขึ้นเพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคี เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาสถาบันต่างๆ และเป็นการปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษาเกิดสำนึกรักบ้านเกิด กิจกรรมช่วงกลางวันเป็นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และกีฬาสากล ช่วงเย็นจะมีงานเลี้ยงสังสรรค์ในลักษณะของงานพาแลง มีการแสดงดนตรีพื้นเมืองอีสาน วงโปงลาง วงดนตรีลูกทุ่ง

งานกีฬาอีสานสัมพันธ์ จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยให้ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสานของแต่ละมหาวิทยาลัยผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ

งานคอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT)

คอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT) เป็นการแสดงคอนเสิร์ตร่วมขับร้องเพลงประสานเสียงถ่ายทอดเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพลงไทยร่วมสมัย และเพลงสากลอมตะ ของ 3 สถาบันที่ได้รับพระราชทานเพลงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานเทา-งามสัมพันธ์

งานเทา-งามสัมพันธ์ กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่างๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันของทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี "เทา" ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า "งาม" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น "เทา-งามสัมพันธ์" ซึ่ง "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ" เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 อธิการบดีทั้ง 5 มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้านคือด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการร่วมกัน

งานฟุตบอลยูลีก

ฟุตบอลยูลีก หรือ ไทยแลนด์ยูนิเวอร์ซิตี้ลีก เป็นการแข่งขันฟุตบอล ระหว่างทีมฟุตบอลของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2540 และจัดต่อเนื่องกันมาทุกปี

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นการจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่าง ทีมฟุตบอล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจัดการแข่งขันต่อเนื่องกันมายาวนานกว่า 70 ปีแล้ว

งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานรักบี้ประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นการแข่งขันรักบี้ประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือถ้วย "มหิดล" ระหว่าง ทีมรักบี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480

งานกีฬาเหล่า

งานกีฬาเหล่า การแข่งขันกีฬาของนักเรียนเหล่าทั้ง 4 เหล่าทัพ อันได้แก่ นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ และนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยแข่งขันด้วยกีฬา 4 ประเภท ได้แก่ รักบี้ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล และกรีฑา

งานกีฬาและฟุตบอลประเพณี 3 พระจอมเกล้า ( THREE KING MONGKUT'S TRADITIONAL FOOTBALL AND GAMES )

งานกีฬาและฟุตบอลประเพณี 3 พระจอมเกล้า ประเพณี 3K ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในทุกปี เป็นการแข่งขันกีฬาและฟุตบอล ของนักศึกษา สถาบันการศึกษาพระจอมเกล้าทั้ง 3 ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี KMUTT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ KMUTNB และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง KMITL เพื่อความสามัคคี และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของชาวพระจอมเกล้าฯ ทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นโชว์ศักย์ภาพ ของมหาวิทยาลัย ที่เป็นเจ้าภาพอีก ซึ่งจะจัดเวียนกันไปทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นจุดเด่นของงานยังเป็นการแสดงโชว์ของผู้นำเชียร์ของทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย ซึ่งจะซ้อมหนักกันมาแรมปี และ ที่ลืมไม่ได้คือ กองสันทนาการ (หลัก) ของทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย ได้แก่ Alumilize KMUTT, Devil Team KMUTNB, Phoenix Nokfire KMITL ที่จะมาคอยสร้างสีสันให้แก่งาน และยังถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากงานสัมพันธ์อื่นๆ อีกด้วย ...เพลง ประจำการแข่งขัน เพลง ลูกพระจอมเกล้า...

งานกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย

กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระดับมหาวิทยาลัย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ มีกำหนดจัดเป็นประจำทุกปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

งานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างเหล่านิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน 8 มหาวิทยาลัย มีการจัดการแข่งขันมาแล้วรวม 37 ครั้ง โดยปัจจุบันในครั้งที่ 38 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน

งานกีฬาอุดมศึกษา ภาคตะวันออก

เป็นงานกีฬาของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกหรืออีกชื่อที่เรียกกันคือ งานกีฬา 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ ศูนย์ฝึกพาณิชยนาวี สมุทรปราการ ครั้งล่าสุดครั้งที่ 14 <พ.ศ. 2553> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาเป็นเจ้าภาพ ภายใต้ชื่องาน"พิรุณเกมส์"

รายชื่อกิจกรรมระดับคณะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

เกียร์เกม

กีฬาเกียร์สัมพันธ์ หรือ เกียร์เกมส์ เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาของคณะวิศวกรรมศาสตร์จากทุกสถาบัน เดิมเรียกว่า กีฬา 8 เกียร์ ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาของคณะวิศวกรรมศาสตร์เดิม 8 สถาบัน อันได้แก่ จุฬาฯ เกษตร พระจอมเกล้าพระนครเหนือ พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระจอมเกล้าธนบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลานครินทร์

ซู่มู่กู้ (sumuku)

ซู่มู่กู้เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาของนิสิต-นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 สถาบัน อันได้แก่ ศิลปากร มหิดล เกษตร กำแพงแสน ซึ่งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ในจังหวัดนครปฐม โดยชื่อของการแข่งขันจะขึ้นต้นด้วยชื่อย่อภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพ เช่น ม.ศิลปากรเป็นเจ้าภาพ จะใช้ชื่อว่า sumuku

กีฬาสามเส้า

กีฬาสามเศร้า เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาของนิสิต-นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 สถาบัน อันได้แก่ จุฬาฯ เกษตร ธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่มีที่มาแน่ชัดว่าเหตุใดจึงเรียกว่า 3 เศร้า

เชียร์เข้ม 3 พระจอมเกล้า

เชียร์เข้ม 3 พระจอมเกล้า หรือ งานวิศวะ 3K เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาและทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 สถาบัน อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) การจัดกีฬาสามพระจอมเกล้านั้นมีจุดประสงค์เพื่อ แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและกระชับความสามัคคีระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง ส่วนสถานที่ในการจัดการแข่งขันและทำกิจกรรมนั้น จะใช้สนามกีฬาของสามสถาบันที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งจะมีการหมุนเวียนสถานที่จัดการแข่งขันทุกปี ขึ้นอยู่กับว่าปีนั้นสถาบันไหนเป็นเจ้าภาพ และที่สำคัญ เป็นงานที่ให้ก่อกำเนิด กองสัน ทั้งสันทนาการ ของ 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย Alumilize KMUTT, Devil Team KMUTNB, Phoenix Nokfire KMITL

กีฬาเกียร์อีสานสัมพันธ์

กีฬาเกียร์อีสานสัมพันธ์เป็นการแข่งขันกีฬาของนิสิต นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดปีเว้นปี โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ ม.อุบลราชธานี ใช้ชื่อการแข่งขันว่า "กรันเกราเกมส์" มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมทำการแข่งขัน 3 สถาบัน ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.มหาสารคาม และ ม.อุบลราชธานี โดยมี นายอดุลย์เดช น้อยมิ่ง เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ ม.ขอนแก่น ใช้ชื่อการแข่งขันว่า "มอดินแดงเกมส์" โดยมี นายสิทธิชัย ยินดีชาติ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 7 สถาบัน ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.อุบลราชธานี ม.มหาสารคาม ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มทร.นครราชสีมา มทร.ขอนแก่น มทร.สกลนคร และในปี 2553 จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่ ม.มหาสารคาม ใช้ชื่อการแข่งขันว่า "จามจุรีเกมส์" โดยมี นายนัฐวัฒน์ เขจรจิตร เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน และในปี 2555 จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่ ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มทร.ขอนแก่น ซึ่งทั้งสองหาวิทยาลัย นี้ได้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันร่วมกัน โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า "เสียงแคนดอกคูณเกมส์"พร้อมกันนี้ทางองค์กรสมาชิกเกียร์อีสาน ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรกิจกรรมกลาง ชื่อว่า "สมาพันธ์นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"

กีฬา IE สัมพันธ์

กีฬา IE สัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬาของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการหรือเรียกสั้นๆว่า IE (INDUSTRIAL ENGINEER)ทั้ง 21 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยจะมีการจัดการแข่งขันขึ้นทุกๆปีและจะมีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพทุกปีโดยครั้งล่าสุดจัดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเป็นเจ้าภาพ (27/11/53)โดยครั้งล่าสุดเป็นการจัดครั้งที่สิบแล้ว และเจ้าภาพครั้งต่อไปคือ มหาวิทยาลัยมหิดล รายนามมหาวิทยาลัยที่ร่วมการแข่งขันได้แก่ จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตรบางเขน เกษตรศรีราชา ราชมงคลธัญบุรี พระจอมเกล้าธนบุรี พระจอมเกล้าลาดกระบัง พระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหิดล ศิลปากร มศว ศรีปทุม รามคำแหง เทคโนโลยีมหานคร รังสิต สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร อีสเทอร์นเอเชีย ขอนแก่น เชียงใหม่ นเรศวร สยาม เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาว IE ทั่วประเทศ

ConneK Day

ConneK หรือ Connections of CU and KU computer engineering students เป็นโครงการสานสัมพันธ์วิศวคอมพิวเตอร์ระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนวความคิด Connek ตอนแรกมีรูปแบบในการจัดคล้ายกับกีฬาประเพณีธรรมดาทั่วไปซึ่งทุกๆที่หรือทุกๆสถาบันจัดกันเพื่อสร้างสัมพัธไมตรีที่ดีต่อกันซึ่งการแข่งกีฬานั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของาน ConneK เท่านั้น นอกเหนือจากกีฬาแล้วนั้นกิจกรรมหลักที่เป็น Hight light ของ ConneK ครั้งที่ 1 ครั้งนี้คือกิจกรรม Quest ซึ่งด้วยความจริงแล้วตัวกิจกรรมไม่ได้ Fix มากว่าจะต้องเป็นกิจกรรมเดิมๆซ้ำๆแต่เน้นการได้ทำงานร่วมกันอย่างจริงและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมครับ ซึ่งด้วยตัวกิจกรรมของการทำกิจกรรมหมู่ร่วมกันในรูปแบบของ Quest นั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวแทนของการทำกิจกรรมด้วยกันอย่างแท้จริง … โดยเน้นทุกคนช่วยกันทำทุกคนรวมเล่นทุกคน

กีฬาวิศวกรรมเคมีสัมพันธ์ (CHEM ENG GMES)

กีฬาวิศวกรรมเคมีสัมพันธ์ หรือCHEM ENG GAMESเป็นกีฬาเชื่อม ความสัมพันธ์ ของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเคมี ทั่วประเทศ (มากกว่า 20 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม) ถูกจัดตั้งโดย นักศึกษาวิศวกรรมเคมี ของทุกมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีการจัดประชุมในเดือนตุลาคม และ จัดงานกีฬาในเดือนมกราคม ของทุกๆปี ลักษณะกิจกรรมจะเป็นการแข่งขันกีฬา กองเชียร์สันทนาการ ประกวดดาวเดือน และการโชว์ศักยภาพของเจ้าภาพในพิธีเปิด

คณะวิทยาศาสตร์

งานกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Atom Games)

การแข่งขันกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ อะตอมเกมส์ เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยแกนนำกลุ่มนิสิต/นักศึกษาในขณะนั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี สร้างความสามัคคี และความสนุกสนาน สนิทสนมคุ้นเคยกันระหว่างนิสิต/นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จากสถาบันต่างๆ ปัจจุบันมีสถาบัน/มหาวิทยาลัยสมาชิกที่เข้าร่วมการแข่งขันรวม 23 แห่ง และมีคณะกรรมการนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) เป็นผู้ดูแลการจัดแข่งขันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 23 มหาวิทยาลัย

รายนามสถาบัน/มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก กวส.

  • 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 3.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 4.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 5.มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • 6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • 7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • 8.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 9.มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • 10.มหาวิทยาลัยบูรพา
  • 11.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • 12.มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 13.มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • 14.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • 15.มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 16.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • 17.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 18.มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
  • 19.มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 20.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 21.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • 22.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • 23.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง




งานกีฬาบาส-บอลประเพณี

สำหรับ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอล และ ฟุตบอล เป็นประเพณีด้วย ประกอบไปด้วย 2 งานกีฬาคือ

1.งานกีฬาบาส-บอลประเพณีวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นงานร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.งานกีฬาบาส-บอลประเพณีวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ-มศว เป็นงานร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

งานกีฬาเคมีสัมพันธ์ (Bonding Games)

กีฬาเคมีสัมพันธ์ หรือ บอนดิ้งเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า กีฬาแปดหลอด ด้วยความร่วมมือของนิสิตนักศึกษา ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จากแปดสถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ซึ่งทำการแข่งขันครั้งแรก พ.ศ. 2544 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Bonding game โดยจัดการแข่งขันขึ้นทุกปี ๆ ละ 1 ครั้งโดยสถาบันการศึกษาที่เพิ่มขึ้นมาได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(คลอง6) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 16 สถาบัน โดยมีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพ ซึ่งครั้งต่อไปจะจัดเป็นครั้งที่ 19 โดยที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เป็นเจ้าภาพ

งานกีฬาสัมพันธภาพ (Relativity Games)

กีฬาสัมพันธภาพ เกิดขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2547 โดยในปีนั้น Physics family แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความคิดว่า ภาควิชาฟิสิกส์ ของแต่ละสถาบันควรรวมตัวกันเพื่อแข่งขันกีฬา พบปะ และสังสรรค์กันบ้าง จึงร่วมกับอีกห้าสถาบัน ก่อตั้งกีฬาฟิสิกส์สัมพันธ์ขึ้น ให้ชื่อการแข่งขันนั้นว่า "Relativity games" ในปีแรกมี5สถาบันเข้าร่วมคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ ม.พระจอมฯธนบุรี ส.พระจอมฯลาดกระบัง และม.พระจอมฯพระนครเหนือ

รายชื่อเจ้าภาพ Relativity games ปี 2547 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2548 มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ปี 2549 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2550 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2551 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปี 2552 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2553 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปี 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน จะจัดในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2554 (ยกเลิกเนื่องจากมหาอุทกภัยทั่วประเทศ)

สมาชิกภาคีสัมพันธภาพ ปัจจุบันประกอบด้วย 9 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร

งานกีฬาคณิตศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Union Games)

กีฬาคณิตศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ ยูเนียนเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยความร่วมมือของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ปัจจุบันมีถึง 15 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

โดยครั้งล่าสุด จะจัดเป็นครั้งที่ 11 ในปีพ.ศ. 2560 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

งานกีฬาสิ่งแวดล้อมนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (Envi Games)

กีฬาสิ่งแวดล้อมนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ Envi Games เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และมีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพไปยังสถาบันต่าง ๆ

ลักษณะกิจกรรม การแข่งขันกีฬาสากล กีฬาพื้นบ้านของไทย และการประกวดกองเชียร์ - ผู้นำเชียร์ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีแก่นิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของแต่ละสถาบัน มีสมาชิกทั้งหมด 14 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า


งานกีฬา-วิชาการจุลชีววิทยาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Colony Games)

งานกีฬา-วิชาการจุลชีววิทยาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ Colony Games เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง ภาควิชาจุลชีววิทยา จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และมีการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพไปยังสถาบันต่าง ๆ

ลักษณะกิจกรรม การแข่งขันวิชาการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการ การแข่งขันกีฬาสากล และการประกวดกองเชียร์ - ผู้นำเชียร์ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีแก่นิสิต-นักศึกษาสาขาจุลชีววิทยาของแต่ละสถาบัน มีสมาชิกทั้งหมด 16 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยพะเยา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

งานกีฬาเข็มสัมพันธ์ (Syringe Games)

กีฬาเข็มสัมพันธ์ เป็นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ทั่วประเทศ นับจนถึงปัจจุบันจัดมาแล้ว 31 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด หรือครั้งที่ 31 มีเจ้าภาพคือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19–22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สำหรับในครั้งถัดไป หรือครั้งที่ 32 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นเจ้าภาพ

งานกีฬา 2 เข็ม

กีฬา 2 เข็ม เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (ศิริราช, รามาธิบดี และบรมราชชนก) กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานกอล์ฟประเพณีสัตวแพทย์จุฬาฯ - เกษตร

กอล์ฟประเพณีสัตวแพทย์จุฬาฯ - เกษตร หรือ KU-CU Vet Ryder Cup เป็นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานกีฬา 12 เม็ดยา

กีฬา 12 เม็ดยา หรือ กีฬาเภสัชสัมพันธ์ เป็นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ

งานกีฬาเทคนิคการแพทย์ - สหเวชศาสตร์สัมพันธ์

กีฬาเทคนิคการแพทย์ - สหเวชศาสตร์สัมพันธ์ หรือ กีฬา 9 กล้อง เป็นการแข่งขันกีฬาที่จัดขึ้นระหว่าง คณะเทคนิคการแพทย์และคณะสหเวชศาสตร์ทั่วประเทศ 9 สถาบันการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการแข่งขันกีฬา ระหว่าง คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน

งานกีฬาเทคโนโลยีชีวภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (BIOT Games)

กีฬาเทคโนโลยีชีวภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ ไบออทเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี ส่งเสริมสุขภาพ และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพระหว่างนิสิตนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพของแต่ละสถาบัน

คณะเกษตรศาสตร์

งานกีฬาประเพณี ๔ จอบแห่งชาติ

กีฬาประเพณี ๔ จอบแห่งชาติ เป็นการแข่งขันกีฬาของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านการเกษตรทั่วประเทศ เริ่มต้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัย 11 แห่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน ในระยะแรกเรียกว่า "งานประเพณี 4 จอบ" แต่ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็น "กีฬาประเพณี ๔ จอบแห่งชาติ"

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

กีฬาไอทีสามพระจอมเกล้า IT3K เป็นโครงการการแข่งขันกีฬาที่สโมสรนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 สถาบัน ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาทั้ง 3 สถาบันและรักษาประเพณีอันดีงามไว้ให้นักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งทางสโมสรนักศึกษาทั้ง 3 สถาบัน ได้ร่วมกันจัดขึ้นโดยจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี


คณะเศรษฐศาสตร์

งานกีฬาเศรษฐสัมพันธ์

กีฬาเศรษฐสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมการแข่งขันกีฬาร่วมกัน ระหว่างเพื่อนชาวเศรษฐศาสตร์ ในสถาบันที่เป็นสมาชิก คือ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างกัน

งานกีฬาฟุตบอล-บาสเกตบอลประเพณี เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

กีฬาฟุตบอล-บาสเกตบอลประเพณี เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นงานระหว่าง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประจำทุกปี โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ


คณะบริหารธุรกิจ

งานกีฬา 4 บ.

กีฬา 4 บ. เป็นกีฬาสัมพันธ์ระหว่างคณะบริหารธุรกิจของ 4 มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่บริเวณที่ ถนนวิภาวดีรังสิต ตัดผ่าน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

งานบาสเกตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

งานบาสเกตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่าง นิสิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม ของทุกปี โดยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ สถานที่จัดงานคือ สนามกีฬา ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

Sociology and Anthropology: Soc-Ant, Soc-Anth, Soc-Anp

งานกีฬาสานสัมพันธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (Soc - Ant) หรือ SUPER SOCs

กีฬาสานสัมพันธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นกิจกรรมสร้างความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาในคณะ, ภาควิชา และสาขาวิชา ทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ภายในงานสานสัมพันธ์จะประกอบด้วย กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาฮาเฮ การประกวดผู้นำเชียร์และแสตนเชียร์ การประกวด ดาว-เดือน Soc - Ant งานเลี้ยงสังสรรค์ และการแสดงจากนิสิต นักศึกษาของแต่ละสถาบัน ทุกสถาบันจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี
โดยมี นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมปัจจุบันทั้งสิ้น 7 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร

ทั้งนี้ แต่แรกเริ่ม มี 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ ทางสังคมวิทยาฯ จุฬาฯ ต้องร่วมงานสิงห์ดำ จึงขอถอนตัว เมื่อปี 2552 หลังจากการถอนตัวของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นต่อเนื่องมาและนับเป็นครั้งแรก จัดขึ้นในปี 2552 มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในปี 2553 มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 3 จัดขึ้นในปี 2554 มีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 4 จัดขึ้นในปี 2555 มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 5 จัดขึ้นในปี 2556 มีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 6 จัดขึ้นในปี 2557 มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 7 จัดขึ้นในปี 2558 มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 8 จัดขึ้นในปี 2559 มีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 9 จัดขึ้นในปี 2560 มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 10 จัดขึ้นในปี 2561 มีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 11 จัดขึ้นในปี 2562 มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 12 จัดขึ้นในปี 2563 มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพ

ครั้งที่ 13 มีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นเจ้าภาพ

คณะนิติศาสตร์

งานบอลประเพณีลูกรพีสัมพันธ์

งานบอลประเพณีลูกรพีสัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลร่วมกันระหว่าง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อสร้างความสามัคคีกันระหว่างคณะนิติศาสตร์ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย โดยจะจัดกันปีละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกปี ซึ่งในงานบอลประเพณีลูกรพีสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีการแข่งขันฟุตบอลกันระหว่างนิสิตนักศึกษาของทั้ง 2 คณะ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างบุคลากรของทั้ง 2 คณะ การประกวดกองเชียร์ ขบวนพาเหรด และผู้นำเชียร์ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ซึ่งในงานบอลประเพณีลูกรพีสัมพันธ์ดั่งกล่าวจะทำให้นิสิตของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และ นักศึกษาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกัน และได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งกันระหว่างคณะนิติศาสตร์ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ซึ่งงานบอลประเพณีลูกรพีสัมพันธ์จะมีการสลับผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพกันระหว่างของทั้ง 2 คณะ ซึ่งงานบอลประเพณีลูกรพีสัมพันธ์ได้มีการจัดครั้งแรกขึ้นที่ มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับเป็นเจ้าภาพในการจัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งหลังจากเสร็จงานจะมีการเลี้ยงสังสรรค์ การร้องเพลง การเล่นดนตรี และการแสดงโชว์ต่างๆ เพื่อให้นิสิตและนักศึกษาของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ได้มีการผ่อนคลายสังสรรค์กันภายหลังจากเสร็จสิ้นงานบอลประเพณีลูกรพีสัมพันธ์

กีฬานิติสัมพันธ์

กีฬานิติสัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬา และจัดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดขึ้น ปีละ 1 ครั้งเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ จะสลับกันเป็นเจ้าภาพ กีฬาที่จัดแข่งขันกัน มี 2 ประเภท คือ ฟุตบอล และ บาสเกตบอล โดยจะแบ่งเป็นประเภท ทีมน้องใหม่ ทีมรวม และ ทีมอาจารย์ หลังจากเสร็จการแข่งขันกีฬา จะมีการเลี้ยงอาหาร และกิจกรรมรื่นเริง ระหว่าง นิสิต-นักศึกษา อันได้แก่ การเล่นดนตรี การแสดงต่างๆ

คณะรัฐศาสตร์

งานประเพณีสิงห์สัมพันธ์

งานประเพณีสิงห์สัมพันธ์ เป็นกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง พี่น้องสิงห์ทุกสถาบัน เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี ไม่ต้องแบ่งสี แบ่งก๊ก แบ่งเหล่า (เริ่มจาก 5 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) และต่อมามี 6 สถาบัน สถาบันที่เพิ่มเข้ามาคือ มหาวิทยาลัยบูรพา(อดีตมศว บางแสน) โดยเข้ามาในปีที่ 5 ของการจัดงาน ในปี2554 จะเป็นการแข่งขันครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพคือมหาวิทยาลัยบูรพา และต่อมาในปี 2557 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เข้ามาในปีที่ 9 และงานประเพณีสิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 11 เจ้าภาพโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2561

งานกีฬาสิงห์ดำ-สิงห์แดงสัมพันธ์

กีฬาสิงห์ดำ-สิงห์แดงสัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬา ระหว่าง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

คณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

งานไม้เรียวเกม (My Real Game)

กีฬาประเพณีคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ หรือ ไม้เรียวเกม จัดขึ้นครั้งแรกปีการศึกษา 2544 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2554 (ไม้เรียวเกมครั้งที่ 13) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานรางวัล พ.ร.จาก สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มาเป็นรางวัลในการแข่งขัน เพื่อมาจารึกนามมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลชนะเลิสจากทุกรายการการแข่งขันสูงสุด ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ของ นิสิต-นักศึกษา ในสายวิชาชีพครู 5 สถาบัน ได้แก่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นอกจากการแข่งกีฬาแล้ว ยังมีการแสดง จาก นิสิต-นักศึกษา ของแต่ละมหาวิทยาลัย และ คอนเสิร์ต ในงานเลี้ยงกลางคืน อีกด้วย

โดยในปัจจุบันมีสถาบันที่เข้าร่วม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยบูรพา

กีฬาประเพณีกล้วยไม้เกมส์

กีฬาประเพณีกล้วยไม้เกมส์ หรือกีฬาประเพณีคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์เป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ของ นิสิต-นักศึกษาในสายวิชาชีพครู 6 มหาวิทยาลัยในภาคใต้ ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นอกจากการแข่งกีฬาแล้ว ยังมีการแสดง จาก นิสิต-นักศึกษา ของแต่ละมหาวิทยาลัย การประกวดดาว-เดือนประจำการแข่งขัน การประกวดเชียร์ลีดเดอร์ กองเชียร์ คอนเสิร์ต ในงานเลี้ยงกลางคืน อีกด้วย

งานสี่เทียนเกมส์

สี่เทียนเกมส์ (Sie Thien Game) เป็นโครงการการแข่งขันกีฬาที่สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทั้ง 4 สถาบัน ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาทั้ง 4 สถานบันและรักษาประเพณีอันดีงามไว้ให้นักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งทางสโมสรนักศึกษาทั้ง 4 สถาบัน ได้ร่วมกันจัดขึ้นโดยจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี ซึ่งส่งผลให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน เช่น เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันที่จะสร้างแนวทางในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

อาจกล่าวได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาประเพณีของชาวครุศาสสตร์อุตสาหกรรม ที่มีมหาวิทยาลัย "3 พระจอม 1 ราชมงคล" ที่หลายๆคนพูดกันเป็นที่ติดหู นอกจากการแข่งขันกีฬาแล้วยังมีการประกวดกองเชียร์ เชียร์ลีดเดอร์ ขบวนพาเรด ซึ่งในตอนกลางคืนนอกจากจะมีงานเลี้ยงแล้วยังมีการแสดงของทางเจ้าภาพ การแสดงของทุกสถาบัน และยังมีการประกวด Sport boy & Girl ของแต่ละสถาบัน ซึ่งงานนี้เป็นการรวมพล คนเรียนครู ที่ใหญ่ที่สุดของสายครุศาสตร์อุตสาหกรรม กันเลยทีเดียว

กระดานดำสัมพันธ์

กระดานดำสัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬาประเพณีศึกษาศาสตร์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษาในสายวิชาชีพครู 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นอกจากการแข่งกีฬาแล้ว ยังมีการแสดงจากนิสิตนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยและการแสดงในงานเลี้ยงกลางคืนทั้งมีการประกวดกองเชียร์และเชียร์หลีดเดอร์ของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยทุกสถาบันจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี

โดยในปัจจุบันมีสถาบันที่เข้าร่วม ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยพะเยา

คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์

โครงการสานสัมพันธ์อักษรศิลป์ (One Arts)

งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะวิชาด้านภาษาและมนุษยศาสตร์ ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่เดิมใช้ชื่อว่า "งานสานสัมพันธ์อักษร" โดยเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย แต่ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มาเข้าร่วมด้วยในภายหลัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นงาน Tri Arts และล่าสุด ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยเช่นกัน ทำให้มีมากกว่า 3 มหาวิทยาลัย จึงตั้งชื่อกิจกรรมขึ้นมาใหม่ว่างาน One Arts เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ภายในงานมีการแข่งขันกีฬา การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ การเชียร์โต้ และโชว์เชียร์ลีดเดอร์จากแต่ละคณะ

คณะนิเทศศาสตร์ - วารสารศาสตร์ฯ

งานจ๊ะเอ๋ลูกนก

งานจ๊ะเอ๋ลูกนก เป็นกิจกรรมประจำปี ที่จัดขึ้น ระหว่าง นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีที่มาจาก สัญลักษณ์ของนักสื่อสารมวลชน คือ "นกน้อยในไร่ส้ม" ดังนั้น กิจกรรมการพบปะประจำปี ระหว่างนิสิต-นักศึกษา ทั้ง 2 สถาบันนั้น ก็เป็นเหมือนการพบปะกันของลูกนก แต่เวลาในการจัดกิจกรรม มีเพียงวันเดียว แทนที่จะเป็นการพบปะแบบปกติ ก็กลายเป็นแค่เข้ามาจ๊ะเอ๋ ทำความรู้จักกัน โดยกิจกรรมนี้ ทั้งสองคณะ จะสลับกันเป็นเจ้าภาพ

อื่น ๆ

กีฬานิเทศศาสตร์และสื่อสารสัมพันธ์ 6 สถาบัน นิเทศศาสตร์และสื่อสารสัมพันธ์ 6 สถาบัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตนักศึกษาที่เรียนทางด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยการใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลาง ได้แก่ การแข่งขันกีฬาสากล กีฬาฮาเฮ การประกวดลีดเดอร์และกองเชียร์ ประกวด Miss and Mr และการแสดงจากนิสิตนักศึกษาแต่ละสถาบัน

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งสิ้น 6 สถาบัน (หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ) ได้แก่ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทิร์น, สาขาออกแบบสื่อสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ, สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

งานกีฬาสถิติสัมพันธ์ (ฟอร์แทรนเกมส์) งานกีฬาสถิติสัมพันธ์ (ฟอร์แทรนเกมส์) FORTRAN game เป็นกีฬาสานสัมพันธ์ของสาขาวิชาสถิติของมหาวิทยาลัยต่างๆ จะจัดขึ้นในทุกๆปี โดยสลับหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี ภายในงานจัดแข่งกีฬาชนิดต่างๆ การประกวดผู้นำเชียร์และแสตนเชียร์และงานเลี้ยงสังสรรค์ มหาวิทยาลัย/สถาบันต่างๆที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งสิ้น 9 สถาบัน (หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ) ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์> สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง> มหาวิทยาลัยบูรพา> มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ> มหาวิทยาลัยศิลปากร> มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


งานโลจิสติกส์สัมพันธ์ (Logistics sumpun) โลจิสติกส์สัมพันธ์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตนักศึกษาที่เรียนทางด้านโลจิสติกส์ ทั้งบริหารธุรกิจและวิศวกรรมศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยการใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลาง ได้แก่ การแข่งขันกีฬาสากล กีฬาฮาเฮ การประกวดลีดเดอร์และกองเชียร์ ประกวด Miss and Mr. Logistics และการแสดงจากนิสิตนักศึกษาแต่ละสถาบัน

มีสถาบันเข้าร่วม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, มหาวิทลยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี

กีฬาประเพณี มนุษย์-วจก. (กีฬา 4 ม.) เป็นการแข่งขันกีฬาประเพณีเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะด้านการจัดการและมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ในภาคใต้ ประกอบด้วย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และสำนักวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ มอ.หาดใหญ่ > มอ.ปัตตานี > ม.วลัยลักษณ์ > ม.ทักษิณ ในแต่ละปีอาจจะมีมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย เช่น คณะบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในปี 2550

กิจกรรมกีฬาวิทยาศาสตร์การกีฬาสัมพันธ์ หรือ งานวิทย์-กีฬาสัมพันธ์' (Sports Science Games)

เป็นกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาที่เรียนในทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ภายในงานวิทย์กีฬาสัมพันธ์จะประกอบด้วย กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาฮาเฮ การประกวดผู้นำเชียร์และสแตนด์เชียร์ งานเลี้ยงสังสรรค์ และการแสดงจากนิสิตนักศึกษาของแต่ละสถาบัน โดยทุกสถาบันจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี

ในช่วงระยะแรกเริ่มต้นจาก 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปัจจุบันมีสถาบันเข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 13 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลันเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะสาธารณสุขศาสตร์ งานกีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์' งานกีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมสร้างความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาในคณะ, ภาควิชา และสาขาวิชา ทางด้านสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ภายในงานสานสัมพันธ์จะประกอบด้วย กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาฮาเฮ การประกวดผู้นำเชียร์และแสตนเชียร์ การประกวด ดาว-เดือน งานเลี้ยงสังสรรค์ และการแสดงจากนิสิต นักศึกษาของแต่ละสถาบัน ทุกสถาบันจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 15 มหาลัยที่เข้าร่วม ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยจัดงานกีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์มีมาทั้งหมด 31 ครั้ง (ล่าสุด ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี SUT เกม)และเจ้าภาพปีถัดไปคือ มหาวิทยาลัยมหิดล กันภัยเกมส์ ครั้งที่32 และ ครั้งที่ 33 เจ้าภาพคือ มหาวิทยาลัยบูรพา

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!