การฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย |
วันที่ | 28 กุมภาพันธ์ 2564 – ปัจจุบัน (3 ปี 9 เดือน 28 วัน) |
---|
ที่ตั้ง | ประเทศไทย |
---|
สาเหตุ | การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย |
---|
เป้าหมาย | สร้างภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 |
---|
ผู้เข้าร่วม | 55,281,158 คน ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส 50,220,477 คน ได้รับวัคซีนครบโดส 21,059,428 คน ได้รับวัคซีนบูสเตอร์หนึ่งโดส (25 มีนาคม 2565)[1][2] |
---|
ผล | 110.56% ของประชากรไทยตามเป้าหมายได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส
100.44% ของประชากรไทยตามเป้าหมายได้รับวัคซีนครบโดส (เป้าหมาย: 50,000,000 คน) |
---|
เว็บไซต์ | https://dashboard-vaccine.moph.go.th/ |
---|
จำนวนผู้ได้รับวัคซีนในประเทศไทยในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[3]
* ร้อยละของประชากรที่มีสิทธิในการรักษา[4]
ประชากรที่ยังไม่ได้รับวัคซีน: ประมาณ 23.003 ล้านคน (34.24%)
ประชากรที่ได้รับวัคซีนแค่โดสเดียว: 9,745,446 คน (14.51%)
ประชากรที่ได้วัคซีนครบสองโดส: 31,857,851 คน (47.42%)
ประชากรที่ได้รับบูสเตอร์แรก: 2,572,899 คน (3.83%)
ประชากรที่ได้รับบูสเตอร์ที่สอง: 2,809 คน (0.00%)
การนำเข้าวัคซีนจากแต่ละบริษัทในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[3]
ซิโนแว็ก: ประมาณ 25.508 ล้านโดส (30.50%)
โครงการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เป็นการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับคนจำนวนมาก เพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564
แผนการฉีดวัคซีนของประเทศในช่วงแรกต้องการใช้วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศซึ่งบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นหลัก คำสั่งห้ามนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่น การสื่อสารแบบขาดความเป็นเอกภาพ การกระจายวัคซีนโดยไม่คำนึงถึงลำดับความเร่งด่วนรวมถึงการเลือกปฏิบัติ และความแคลงใจต่อประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็กซึ่งเป็นวัคซีนอีกชนิดที่นำมาใช้ในช่วงแรก ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างมาก ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2564 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประกาศจะนำเข้าวัคซีนเพิ่มเติมคือวัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม หลังจากนั้นเริ่มมีคำสั่งอนุญาตให้ราชการส่วนท้องถิ่นและเอกชนนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่นได้ ตามมาด้วยคำสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
ยอดการฉีดวัคซีนในประเทศไทย ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 4.21 ล้านโดส[5] เริ่มมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนทั่วประเทศในวันที่ 7 มิถุนายน แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าให้ฉีดได้ครบ 100 ล้านโดสภายในสิ้นปี 2564 แต่ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนยังคงเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนใหญ่เนื่องจากวัคซีนยังไม่เพียงพอ
ประวัติ
ช่วงนำเข้าวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกา รอวัคซีนผลิตในประเทศ
ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทางการสั่งซื้อวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา จำนวน 26 ล้านโดส ซึ่งจากข้อมูลการทดลองพบมีประสิทธิผลโดยรวมร้อยละ 70[6] เนื่องจากวัคซีนดังกล่าวต้องใช้ฉีดคนละ 2 โดส ทำให้เพียงพอต่อประชากรเพียง 13 ล้านคน[7] ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติงบสั่งซื้อเพิ่ม 35 ล้านโดสในเดือนมกราคม 2564[8] ทั้งนี้ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ซึ่งเป็นบริษัทในพระปรมาภิไธยได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "เมื่อรับวัคซีนมาแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งอันนี้ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้บริษัทสยามไบโอไซเอนส์"[9] นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าวัคซีนจากบริษัทซีโนแว็ก สัญชาติจีน จำนวน 2 ล้านโดส ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2564[10] ซึ่งบริษัทซีโนแว็กเป็นบริษัทที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าร่วมทุนด้วยจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถือหุ้น 15%[11] ในเดือนมกราคม 2564 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถูกรัฐบาลแจ้งความฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ หลังตั้งคำถามถึงบริษัทผลิตวัคซีนที่พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของ[12] หลายวันต่อมา อนุทิน ชาญวีรกุล โพสต์ตอบคำถามของธนาธร โดยตอนหนึ่งระบุว่า จำนวนและกรอบเวลาการสั่งซื้อวัคซีนนั้นเป็นไปตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ[13] อนุทินยังเปรียบเทียบว่าวัคซีนที่รัฐบาลนำเข้ามานั้นเปรียบได้กับการ "แทงม้าเต็ง"[14] ในเดือนเดียวกัน ยังมีการชูป้ายประท้วงในพื้นที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ซึ่งมีใจความว่า วัคซีนโควิด-19 เป็นการหาความชอบให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์[15][16] ทางการมีกำหนดเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกเริ่มจากบุคลากรการแพทย์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์[17] ในเดือนกุมภาพันธ์ มีการเปิดเผยว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ได้รับวัคซีนจากโครงการโคแวกซ์[18] วัคซีนจากบริษัทซิโนแว็กและแอสตราเซเนกาถึงไทยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์[19]
กระทรวงสาธารณสุขเปิดแผนกระจายวัคซีนล็อต 2 จำนวน 8 แสนโดส โดยแบ่งเป็นกลุ่มพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ท่องเที่ยว[20] และหลังได้รับวัคซีนจากแอสตราเซเนกาเพิ่มอีก 5 ล้านโดสในเดือนพฤษภาคม 2564 จะเปิดให้จองวัคซีนผ่านออนไลน์และแอปพลิเคชันหมอพร้อม[21] ช่วงกลางเดือนมีนาคม มีข่าวว่า กองทัพบกจะให้แคดดี้สนามกอล์ฟฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากมีผู้ใหญ่เกษียณไปใช้บริการ[22] ปลายเดือนมีนาคม 2564 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยผลสำรวจซีอีโอ 191 ราย พบว่า ร้อยละ 79.8 กังวลเรื่องการกระจายวัคซีนล่าช้า[23] ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนรายหนึ่งระบุว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่เอกชนยังนำเข้าวัคซีนไม่ได้เนื่องจากบริษัทวัคซีนต้องการขายให้กับรัฐบาลเท่านั้นเพื่อเลี่ยงปัญหาการฟ้องร้องจากปัญหาไม่พึงประสงค์จากวัคซีน[24] วันที่ 25 มีนาคม 2564 วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นรายที่สาม[25] ต่อมา แพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า วัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกานั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแต่ป้องกันการป่วยตามสรรพคุณ[26] วันที่ 10 เมษายน 2564 นายกรัฐมนตรีลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพิจารณาวัคซีนทางเลือก ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากโรงพยาบาลเอกชนด้วย[27] วันที่ 13 พฤษภาคม อย. ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนโมเดอร์นา[28] วันที่ 14 พฤษภาคม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเปิดเผยผลการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ผู้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาและโคโรนาแว็คครบ 2 เข็ม หลังผ่านไป 4 สัปดาห์ มีภูมิคุ้มกันในระดับสูงร้อยละ 97.26 และ 99.4 ตามลำดับ[29] วันที่ 26 พฤษภาคม มีข่าวว่านักการเมืองฝ่ายรัฐบาลส่วนหนึ่งวิ่งเต้นเพื่อให้ท้องถิ่นของตนได้รับจัดสรรวัคซีนมากที่สุด จนทำให้บางจังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนมากกว่าพื้นที่ระบาด[30] ในวันเดียวกัน ศบค. ประกาศชะลอการลงทะเบียนจองวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อม เนื่องจากจะมีการจัดสรรวัคซีนใหม่โดยเปลี่ยนจากโควต้าจองมาเป็นการจัดสรรให้กับพื้นที่ระบาดก่อน ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามียอดผู้จองวัคซีนผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าวแล้ว 7.9 ล้านราย[31] นอกจากนี้ ยังมีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาว่า สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์มีอำนาจนำเข้ายาและวัคซีนเพื่อใช้รักษาโควิด-19 ได้[32] อีกทั้งไม่ต้องรับผิดทางคดีทั้งปวง[33] ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีรายงานว่าวัคซีนแอสตราเซเนกาจากประเทศอิตาลีจำนวน 50,000 โดสมาไม่ถึงมือทางการไทยตามกำหนด และเกิดความสับสนในช่วงเดือนพฤษภาคมว่า วัคซีนแอสตราเซนกามีเพียงพอกับยอดสั่งจองหรือไม่[34] วันที่ 28 พฤษภาคม อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม[35] ข้อมูลในวันเดียวกันพบว่า ไทยมีวัคซีนซิโนแวค 6 ล้านโดส และแอสตราเซเนกา 117,000 โดส และกำลังนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติมในเดือนมิถุนายน ขณะที่วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตในประเทศจะทยอยส่งมอบจนครบ 61 ล้านโดส[36]
สส. พรรคก้าวไกลวิจารณ์การวางแผนวัคซีนของรัฐบาลว่า ทำให้ต้องจ่ายค่าตรวจหาเชื้อ ค่ายาต้านไวรัสและค่านอนโรงพยาบาลที่แพงกว่าวัคซีนมาก นอกจากนี้แทนที่จะยอมจัดสรรงบซื้อวัคซีนเพียงไม่ถึง 1 แสนล้านบาท แต่กลับต้องใช้งบเพื่อเยียวยาถึง 7 แสนล้านบาท[37]
โครงการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ และการอนุญาตให้นำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่น
ระหว่างวันที่ 7–19 มิถุนายน 2564 มีการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 (ซิโนแวคและแอสตราเซเนกา) จำนวน 3.5 ล้านโดสใน 13 เขตสุขภาพ[38] มีจุดฉีด 986 จุดทั่วประเทศ[39] วันที่ 7 มิถุนายน 2564 นายกรัฐมนตรีลงนามนำเข้าวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 25 ล้านโดสและซิโนแวค 8 ล้านโดส[40] สมาคมโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยราคาวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็มอยู่ที่ 3,800 บาท และจะสั่งซื้อ 10 ล้านโดส[41] วันที่ 8 มิถุนายน ศบค. ออกคำสั่งอนุญาตให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนซื้อวัคซีนได้[42] วันที่ 9 มิถุนายน มีข่าวว่ามีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ลัดคิวฉีดวัคซีน[43] ก่อนต่อมามีการเปิดเผยว่าเป็นคนในครอบครัวของวินมอเตอร์ไซค์ที่เอาเสื้อไปใส่[44] วันที่ 13 มิถุนายน มีข่าวว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพสต์ประกาศในสื่อสังคมว่าโรงพยาบาลของตนได้รับจัดสรรวัคซีนไม่เพียงพอ และให้ประชาชนไปสอบถามกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต่อมาโพสต์ดังกล่าวถูกลบ[45] วันที่ 17 มิถุนายน มีคำสั่งปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดจัดหาวัคซีนให้พนักงานไทยเบฟเวอเรจและครอบครัว 7.1 หมื่นคนทั่วประเทศ[46] วัคซีนซิโนฟาร์มลอตแรกมาถึงในวันที่ 20 มิถุนายน 2564[47] มีแพทย์และองค์การแพทย์ออกมาเรียกร้องให้นำเข้าวัคซีนทางเลือกและเลิกนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติม[48][49]
การจัดหาวัคซีน
ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564
วัคซีนหลัก
วัคซีนฟรีตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
วัคซีนทางเลือก
วัคซีนที่ไม่ได้อยู่ในนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ต้องจัดซือผ่านหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรัฐบาลจะไม่สนับสนุนค่าฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเหล่านี้จะยังคงนับอยู่ในโครงการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ
วัคซีน
|
ผู้นำเข้า
|
ปริมาณสั่งซื้อ
|
จัดส่งแล้ว
|
อนุมัติ
|
มาถึงครั้งแรก
|
นำไปใช้
|
อ้างอิง
|
โมเดอร์นา
|
องค์การเภสัชกรรม
|
5 ล้าน
|
5.6 แสน
|
13 พฤษภาคม 2564
|
1 พฤศจิกายน 2564
|
9 พฤศจิกายน 2564
|
[28][57]
|
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
|
8 ล้าน
|
รอจัดส่ง
|
13 พฤษภาคม 2564
|
รอจัดส่ง
|
รอจัดส่ง
|
[58]
|
ซิโนฟาร์ม
|
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
|
15 ล้าน
|
15 ล้าน
|
28 พฤษภาคม 2564
|
20 มิถุนายน 2564
|
25 มิถุนายน 2564
|
[35][47]
|
วัคซีนที่รอการยอมรับ
วัคซีนในระยะทดลอง
วัคซีน
|
ชนิด (เทคโนโลยี)
|
ความคืบหน้า
|
NDV-HXP-S (HXP-GPOVac) มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน
|
เวกเตอร์เป็นไวรัสก่อโรคนิวคาสเซิล (ตัดแต่งพันธุกรรมให้มีโปรตีนส่วนหนามของ SARS-CoV-2 โดยบางตัวมีและไม่มี CpG 1018 เป็นตัวเสริม)
|
ระยะ 1-2 (460)[60] ทดลองแบบสุ่ม, ศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก, อำพรางผู้สังเกตการณ์ ช่วงเวลาและแหล่ง: มีนาคม 2564–พฤษภาคม 2565 ประเทศไทย[61]
|
จุฬาคอฟ19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
อาร์เอ็นเอ
|
ระยะ 1-2 (96)[62] ศึกษาขนาดยา ช่วงเวลาและแหล่ง: มกราคม–มีนาคม 2564 ไทย
|
Baiya SARS-CoV-2 Vax 1[63] ใบยา ไฟโตฟาร์ม
|
ซับยูนิต
|
ระยะ 1 (96)[64] ทดลองแบบสุ่ม, ทดลองแบบเปิด, หาขนาดยา ช่วงเวลาและแหล่ง: กันยายน–ธันวาคม 2564 ไทย
|
โควิเจน[65] ไบโอเน็ตเอเชีย, เทคโนวาเลีย, มหาวิทยาลัยซิดนีย์
|
ดีเอ็นเอ
|
ระยะ 1 (150)[66] Double-blind, dose-ranging, ทดลองแบบสุ่ม, ศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก ช่วงเวลาและแหล่ง: กุมภาพันธ์ 2564–มิถุนายน 2565 ออสเตรเลีย ไทย
|
ความเชื่อมั่นต่อวัคซีน
ผลสำรวจของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเมื่อเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้ผลว่า มีบุคลากรการแพทย์ที่ต้องการรับวัคซีนโควิด-19 (ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม) เพียงร้อยละ 55 โดยวัคซีนที่ต้องการอันดับหนึ่งคือวัคซีนของแอสตราเซเนกา และอันดับสองคือวัคซีนของซิโนแว็ก[19] การสำรวจของสวนดุสิตโพลในเดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 2,644 คน พบว่าวัคซีนที่ผู้ตอบเชื่อมั่นมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แอสตราเซเนกาและสปุตนิกวีตามลำดับ[67]
ข้อมูลจนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 พบว่ามีผู้เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วจำนวน 9 คน แต่ทางการระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากโรคประจำตัวและปัจจัยอื่นทั้งหมด[68]
วันที 15 มิถุนายน 2564 ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า พบปัญหาบุคคลที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกาสองเข็มแล้วยังมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ อาจต้องฉีดวัคซีนเพิ่มเป็นเข็มที่สาม[69] ในเดือนเดียวกัน อย. สั่งงดฉีดซิโนแวคบางล็อตเนื่องจากพบเป็นเจล[70]
ความกังวลต่อการใช้วัคซีนโคโรนาแว็ก (ของซิโนแวค)
แม้ว่าทางการจีนออกมายอมรับว่าวัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพต่ำก็ตาม[71] แต่กระทรวงสาธารณสุขและแพทย์บางส่วนยังคงยืนยันว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพ[72][73] วันที่ 21 เมษายน 2564 กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดระยองจำนวน 6 รายมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองภายใน 10 นาทีหลังฉีดวัคซีนโคโรนาแวค[74] วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอเกณฑ์จ่ายเงินชดเชยกรณีได้รับความเสียหายจากวัคซีน รายละ 1–4 แสนบาท[75] ในวันที่ 8 พฤษภาคม แพทย์จุฬาคนหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊กบรรยายภาวะที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะวัคซีนโคโรนาแว็ก[76] โดยตั้งชื่อว่า กลุ่มอาการทางระบบประสาทเฉพาะที่ที่สัมพันธ์กับการรับวัคซีน (immunization-related focal neurological syndrome, IRFN)[77][a] ผู้ป่วยมักมีอาการทางระบบรับสัมผัส เช่น รู้สึกชาด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย เช่น ปลายมือ มุมปาก และแก้ม มักพบเป็นข้างเดียวกันกับที่ฉีดวัคซีน นอกจากนี้อาจพบอาการตาบอดครึ่งซีก (hemianopia) ชั่วคราว และอาการอ่อนแรงชั่วคราวได้ด้วย และอาจพบร่วมกับอาการปวดศีรษะและอาเจียน[78] มักพบในผู้รับวัคซีนที่เป็นเพศหญิงอายุ 20-50 ปี[78] มีการตั้งข้อสังเกตว่ากลไกการเกิดภาวะนี้อาจเกี่ยวข้องกับการหดเกร็งของหลอดเลือดสมอง และยาทางจิตเวชบางชนิดอาจมีกลไกคล้ายคลึงกัน ทำให้มีคำแนะนำจากราขวิทยาลัยจิตแพทย์ในการเลือกหยุดยาบางชนิด ในกรณีที่สามารถหยุดได้โดยไม่มีอันตราย[79]
วัคซีนในประเทศ
ในเดือนมีนาคม 2564 เริ่มการทดลองวัคซีน NDV-HXP-S ที่มหาวิทยาลัยมหิดล[80][81][82] ส่วนในเดือนเมษายน 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครอาสาสมัครวัคซีน ChulaCov19 ระยะที่ 1 และ 2[83] ในขณะที่วัคซีนที่ผลิตด้วยใบยาสูบของบริษัทใบยาไฟโตฟาร์มร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังอยู่ในระยะก่อนการทดลองในมนุษย์ โดยคาดว่าจะเข้าสู่ระยะการทดลองในมนุษย์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564[84] จนถึงเดือนเมษายน 2564 ขั้นตอนการผลิตวัคซีนของบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์อยู่ในขั้นส่งตรวจคุณภาพวัคซีน และนายกรัฐมนตรียืนยันว่าเป็นไปตามกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2564[85][86]
ต้นเดือนมิถุนายน 2564 มีข่าวว่าทางการฟิลิปปินส์ระบุว่าทางการไทยจัดส่งวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ล่าช้า[87] โดยก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีข่าวว่าบริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ประกาศรับสมัครบุคลากรฝ่ายผลิต[88]
การกำหนดราคาของวัคซีน
วันที่ 1 กรกฎาคม มีข่าวว่า นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน มติล่าสุดของสมาคมกำหนดอัตราให้บริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็ม อยู่ที่ 3,300 บาท หรือ 1,650 บาท/เข็ม ในอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการ และเป็นราคาสุทธิที่รวมค่าวัคซีน ค่าบริการ และค่าประกันวัคซีนทั้งหมดแล้ว[89]
วันที่ 14 กรกฎาคม มีรายงานว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปจอง "วัคซีนซิโนฟาร์ม" ในวันที่ 18 ก.ค.64 จำนวน 40,000 โดส คาดว่าราคาไม่เกิน 888 บาท[90]
วันที่ 15 กรกฎาคม มีรายงานว่า นพ.บุญระบุว่า บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จะลงนามสัญญาเพื่อนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 กับ บริษัท ไบโอเอนเทค ที่มีโรงงานผลิตวัคซีนไฟเซอร์ในเยอรมนี และยินดีขายให้ภาคเอกชนที่ต้องการฉีด เบื้องต้นราคาต้นทุนอยู่ที่ 17 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส หรือราว 555 บาทต่อโดส ยังไม่รวมค่าขนส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคิดราคารวมโดยประมาณ 900 บาทต่อโดส[91]
กรณีอื้อฉาว
การใช้วัคซีนไม่ตรงตามแนวทางรักษา
วันที่ 20 พฤษภาคม มีข่าวว่ากรมควบคุมโรคชี้แจงว่าในวัคซีนแอสตราเซเนกา 1 ขวด ซึ่งกำหนดให้ใช้ 10 โดส สามารถดูดได้ 12 โดส ซึ่งอ้างว่าจะช่วยให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศเร็วขึ้น[92]
วันที่ 23 พฤษภาคม ยง ภู่วรวรรณเสนอให้ผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคฉีดวัคซีนสลับชนิดกัน หลังมีข่าวว่าประเทศตะวันตกไม่ยอมรับวัคซีนของจีน[93]
ในเดือนมิถุนายน มีข่าวว่ากรมควบคุมโรคมีแนวทางให้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 16 สัปดาห์ ขณะที่คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ฉีดเว้นห่างกันเกิน 12 สัปดาห์[94]
การรวมศูนย์อำนาจที่นายกรัฐมนตรีหรือ ศบค.
วันที่ 27 เมษายน 2564 มีข่าวว่า คณะรัฐมนตรีโอนอำนาจเกี่ยวกับการรับมือโควิด-19 ให้แก่นายกรัฐมนตรี[95] ในเดือนมิถุนายน 2564 อนุทิน ชาญวีรกุลยืนยันว่าปัญหาบางโรงพยาบาลได้รับจัดสรรวัคซีนไม่เพียงพอนั้น ไม่เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข แต่ขึ้นอยู่กับ ศบค.[96]
วันที่ 29 กันยายน 2564 ได้มีประกาศยกเลิกการโอนอำนาจตามกฎหมาย 31 ฉบับดังกล่าว กลับไปเป็นของรัฐมนตรีที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามปกติ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564[97]
การกำหนดราคาของวัคซีน
วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 องค์การเภสัชกรรม แถลงการณ์โต้โซเชียล แจงปมราคานำเข้า "วัคซีนโมเดอร์นา" ในราคา 584 บาทต่อโดส ไม่เป็นความจริง [98]
ปัญหาการนำเข้าวัคซีนบริจาคจากโปแลนด์
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์แถลงยุติการนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นาจำนวน 1.5 ล้านโดส ซึ่งได้มีการเจรจารับบริจาคจากสำนักงานสำรองทางยุทธศาสตร์ของโปแลนด์ (RARS) ตามที่ภาคเอกชนผู้แทนได้ประสานงานไว้ โดยธรรมศาสตร์ขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกจดหมายยืนยันในนามรัฐบาลไทย เนื่องจากผู้บริจาคประสงค์ให้หน่วยงานที่มีสถานะเป็นผู้แทนรัฐบาลแจ้งเจตนาที่จะรับบริจาค แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่ออกหนังสือให้โดยแถลงว่าได้หารือกับกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ได้รับแจ้งว่าไม่อนุญาตให้นำวัคซีนที่ได้รับบริจาคไปจำหน่าย และฝ่ายไทยต้องได้รับ market authorization จากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายวัคซีนด้วย โดยธรรมศาสตร์ได้แจ้งก่อนหน้าว่า ในการรับบริจาคมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก มหาวิทยาลัยจึงจะรับวัคซีนจำนวน 1/3 ของที่ได้รับไว้เอง เพื่อให้บริการประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และจะมอบวัคซีนที่ได้รับอีก 2/3 ให้เอกชนที่เป็นหุ้นส่วน เพื่อนำไปจำหน่ายชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น[99]
เชิงอรรถ
อ้างอิง
- ↑ "รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19". กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 11 December 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน COVID-19 ในประเทศไทย". The Researcher Covid Tracker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-03. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "Covid-19 Vaccination Dashboard". MOPH. 8 Nov 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 8 Nov 2021.
- ↑ "UCINFO". NHSO. 27 Aug 2021. สืบค้นเมื่อ 27 Aug 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ไทยฉีดวัคซีนโควิดแล้วกว่า 4.21 ล้านโดส". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
- ↑ "เรื่องน่ารู้ของวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยสั่งซื้อ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- ↑ "ทำความรู้จัก ออกซ์ฟอร์ด-แอสทราเซเนกา วัคซีนที่ไทยเลือก". มติชนออนไลน์. 2 January 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- ↑ "ครม.ไฟเขียวงบซื้อวัคซีนโควิดเพิ่ม35ล้านโดส ฉีดให้คนไทย66ล้าน". โพสต์ทูเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- ↑ "นายกฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร.10 ทรงให้ "สยามไบโอไซเอนซ์" รองรับวัคซีนโควิด-19". BBC ไทย. 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- ↑ "ข่าวดี ไทยเริ่มผลิตวัคซีน "โควิด-19" ในประเทศ รอบที่ 2 แล้ว". ไทยรัฐ. 3 January 2021. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- ↑ "'ซีพี' ทุ่ม 1.5 หมื่นล้านบาท ลงทุน บ.ผลิตวัคซีน 'ซิโนแวค'". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 5 January 2021.
- ↑ "Thailand Charges Opposition Figure with Defaming King". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 January 2021.
- ↑ "ตอบแล้ว! 'อนุทิน' แจงข้อสงสัยธนาธร กรณีจัดหาวัคซีน". มติชนออนไลน์. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
- ↑ "อนุทิน เปรียบไทยซื้อวัคซีนของแอสตร้าฯเหมือน 'แทงม้าเต็ง' พร้อมหนุนหน่วยงานไทยผลิตวัคซีนเอง". มติชนออนไลน์. 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ "อึ้ง! ยามห้างดัง ง้างมือตบหน้า นศ.สาว ถือป้ายแสดงออก ทางการเมือง". ข่าวสด. 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
- ↑ "Iconsiam guard accused of slapping student protester but guess which was taken to police?". Coconuts. 19 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
- ↑ "ดีเดย์! 14 กุมภาฯฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก 12 ก.พ.ลงทะเบียนหมอพร้อม". มติชนออนไลน์. 25 January 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
- ↑ "ไทยตกขบวน 'COVAX' ชาติเดียวอาเซียนไม่ได้วัคซีนโควิด-19". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 5 February 2021.
- ↑ 19.0 19.1 "วัคซีนโควิดล็อตแรกถึงไทย แต่กลุ่มเป้าหมายแรกพร้อมฉีดแค่ไหน". BBC ไทย. 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.
- ↑ "ไทยกระจาย 'วัคซีนโควิด19' ล็อต 2 มากกว่า 22 จังหวัด". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
- ↑ "จองคิวฉีดวัคซีน ไทยถึงเป้าหมายเร็วขึ้น". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
- ↑ "หายสงสัย! เพจดังเฉลย ทบ. ฉีดวัคซีนแคดดี้ ก่อนเพราะอยู่ใกล้ทหารเกษียณ". Bright Today. 18 March 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
- ↑ "เอกชนกังวลรัฐฉีดวัคซีนล่าช้า ซ้ำเติมเศรษฐกิจ วอนเปิดทาง รพ.นำเข้า". ประชาชาติธุรกิจ. 30 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "ภาคท่องเที่ยวจี้รัฐหยุดผูกขาดวัคซีนโควิด วิกฤตเศรษฐกิจรอไม่ได้". BBC ไทย. 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "เกิดผลข้างเคียงอะไรบ้างกับคนไทย หลังเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "'หมอจุฬาฯ' กระทุ้งรัฐต้องบอกความจริง ประสิทธิภาพวัคซีนโควิดไทยได้แค่ 62%". ผู้จัดการ. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ ""นายกฯ" ตั้ง 18 คณะทำงาน จัดหา "วัคซีนทางเลือก" ไร้ชื่อ "อนุทิน" ร่วม". ไทยรัฐ. 10 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ 28.0 28.1 "วัคซีนโมเดอร์นา ได้รับการขึ้นทะเบียน จาก อย. มีผล 13 พ.ค." ประชาชาติธุรกิจ. 13 May 2021. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
- ↑ "ผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ทั้ง "ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า"". ผู้จัดการออนไลน์. 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 15 May 2021.
- ↑ "ศึกชิงวัคซีนโควิด สมรภูมินี้ใครชนะ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ ""หมอพร้อม" ชะลอลงทะเบียน ปรับแผนกระจายวัคซีนใหม่ ประยุทธ์ สั่ง". ประชาชาติธุรกิจ. 26 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ "สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประกาศเพิ่มอำนาจ สามารถนำเข้า จัดจำหน่ายวัคซีนได้เอง จับตานำเข้าวัคซีน 'ซิโนฟาร์ม' ทางเลือกปชช". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ "ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อนุญาตให้จัดหาวัคซีนในสถานการณ์โควิด 19 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ "ย้อนไทม์ไลน์: โควิด-19 กับวัคซีนแอสตราเซเนกาที่หายไป". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
- ↑ 35.0 35.1 "ซิโนฟาร์ม อย. อนุมัติการขึ้นทะเบียนแล้ว". ประชาชาติธุรกิจ. 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ "วัคซีนทางเลือกแรกของไทย กับเบื้องหลังปิดดีล "ซิโนฟาร์ม"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ "'วิโรจน์' ไล่ 'รัฐบาล' ลาออก จัดงบประมาณ 'ไร้สามัญสำนึก' เหมือนลูกทรพีตื๊อซื้อของเล่น ให้กองทัพซุกงบ". มติชนออนไลน์. 31 May 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
- ↑ ""ฉีดวัคซีนโควิด-19" เช็กเลยกลุ่มจังหวัดไหนได้วัคซีนอะไร เท่าไหร่ ครบจบ". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
- ↑ "ฉีดวัคซีนโควิด-19 วันแรก หลายจังหวัดได้แอสตร้าเซนเนก้าฉีดผู้สูงอายุ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
- ↑ "ประยุทธ์ ลงนามแล้ว นำเข้าวัคซีน 'จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน' 25 ล้านโดส". ข่าวสด. 7 June 2021. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
- ↑ "สมาคม รพ.เอกชน เคาะวัคซีนโมเดอร์นา 2 เข็ม 3,800 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ". ประชาชาติธุรกิจ. 7 June 2021. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
- ↑ "นายกฯ ประกาศ 6 มาตรการปลดล็อก 'วัคซีนโควิด-19' ท้องถิ่นซื้อได้ สั่งสธ.เร่งนำเข้าวัคซีน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
- ↑ "จวกยับ! VIP แซงคิวฉีดวัคซีน ไม่แคร์คนยืนรอเป็นร้อย โห่ลั่นยังไม่สน ถาม "แบบนี้ก็ได้หรอ?"". ผู้จัดการออนไลน์. 9 June 2021. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ "เฉลยแล้ว! แก๊งปลอมตัวเป็นวิน จยย.หวังแซงคิวฉีดวัคซีนโควิด ที่แท้เป็นคนในครอบครัว". ผู้จัดการออนไลน์. 12 June 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
- ↑ "ผอ.รพ.นมะรักษ์ เคลียร์ถูกสั่งลบโพสต์ถามเหตุเลื่อนฉีดวัคซีนกับ "อนุทิน"". Thai PBS. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
- ↑ "มหาดไทย แจงปมสั่งผู้ว่าฯ จัดหาวัคซีนให้ พนง.ไทยเบฟฯ และครอบครัว 7.1 หมื่นคน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
- ↑ 47.0 47.1 "วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกถึงไทย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
- ↑ ""หมอนิธิพัฒน์"ชี้การเรียกร้องรัฐให้เลิกซื้อ"วัคซีนซิโนแวค"ไม่ถูกต้อง". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 30 June 2021.
- ↑ "ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ จี้ รบ.เร่งนำเข้าวัคซีนทางเลือกทุกชนิด เปิดโอกาส ปชช.ได้เข้าถึง". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2021.
- ↑ "อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด "แอสตราเซเนกา" จากอิตาลี ลอตแรกแล้ว". ไทยรัฐ. 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
- ↑ "อย.ขึ้นทะเบียนวัคซีน "ซิโนแวค" ก่อนถึงไทยพรุ่งนี้". ไทยพีบีเอส. 23 February 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
- ↑ "อนุทิน เผย อย.อนุมัติวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ใช้ในไทยได้แล้ว". มติชน. 25 March 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
- ↑ "ด่วน อย. อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีน "ไฟเซอร์" แล้ว". ประชาชาติธุรกิจ. 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
- ↑ "ดีล"วัคซีนไฟเซอร์" จบแล้ว "40 ล้านโดส" ทยอยเข้าไทยก.ค.นี้". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
- ↑ "วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสที่บริจาคโดยสหรัฐฯ มาถึงไทยแล้ว". สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย. 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
- ↑ "สธ. เผยเริ่มฉีดไฟเซอร์แล้ววันนี้ หลังส่งวัคซีนให้ครบ 10 จังหวัด". ประชาชาติธุรกิจ. 5 August 2021. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ "โมเดอร์นา ลอตแรก 5.6 แสนโดสถึงไทยแล้ว เร่งตรวจคุณภาพก่อนกระจายทั่วไทย". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 Nov 2021.
- ↑ ""รจภ. นำเข้า "โมเดอร์นา" วัคซีนตัวเลือกชนิดที่ ๒ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในปี ๒๕๖๕". Chulabhorn Royal Academy. สืบค้นเมื่อ 18 Oct 2021.
- ↑ 59.0 59.1 "เปิด 5 วัคซีนป้องกัน COVID ที่ขึ้นทะเบียนในไทยแล้ว". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
- ↑ "Assess the Safety and Immunogenicity of NDV-HXP-S Vaccine in Thailand". ClinicalTrials.gov. 21 February 2021. NCT04764422. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
- ↑ Zimmer, Carl (April 5, 2021). "Researchers Are Hatching a Low-Cost Coronavirus Vaccine". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
- ↑ "ChulaCov19 mRNA Vaccine in Healthy Adults". ClinicalTrials.gov. 28 September 2020. NCT04566276. สืบค้นเมื่อ 21 March 2021.
- ↑ Rujivanarom, Pratch (6 June 2021). "Local jabs yet to join Covid fight". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
- ↑ "A Study to Evaluate Safety, Tolerability, and Reactogenicity of an RBD-Fc-based Vaccine to Prevent COVID-19". ClinicalTrials.gov. 7 July 2021. NCT04953078. สืบค้นเมื่อ 7 July 2021.
- ↑ "COVALIA study update: first healthy volunteers dosed in needle-free SARS-CoV2 DNA vaccine phase 1 trial". Bionet Asia. 30 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-19. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
- ↑ "The Safety and Immunogenicity of a DNA-based Vaccine (COVIGEN) in Healthy Volunteers (COVALIA)". ClinicalTrials.gov. 8 February 2021. NCT04742842.
- ↑ "โพลเผยประชาชน เชื่อมั่น 5 วัคซีน "ไฟเซอร์" มานำที่ 1 "ซิโนแวค" ไร้ในโผ". ข่าวสด. 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
- ↑ "เปิดสาเหตุ 'เสียชีวิต' หลัง 'ฉีดวัคซีนโควิด' เกิดจากอะไรบ้าง?". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ ""หมอธีระวัฒน์" เผย เจอปัญหาผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแล้ว ภูมิขึ้นน้อย". ไทยรัฐ. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021.
- ↑ "ด่วน! อย. แจ้งพบ วัคซีนซิโนแวค บางล็อตมีปัญหา เป็นเจลใส-เขย่าไม่หาย". ข่าวสด. 29 June 2021. สืบค้นเมื่อ 29 June 2021.
- ↑ "จีนยอมรับเอง "ซิโนแวค" ประสิทธิภาพการป้องกันโควิดยังต่ำ". ไทยรัฐ. 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021.
- ↑ "สธ. ชี้ วัคซีนซิโนแวคได้มาตรฐาน แม้จีนยอมรับอัตราป้องกันเชื้อโควิดต่ำ". BBC ไทย. 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021.
- ↑ "หมอธีระวัฒน์ ชี้ไทยต้องเร่งฉีดวัคซีน หลังพบ ซิโนแวค ภูมิจะเกิดหลังฉีดเข็มสอง". ไทยรัฐ. 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021.
- ↑ "คนไทยยังไว้ใจวัคซีนซิโนแวคได้หรือไม่ หลังพบอาการคล้ายสโตรก 6 ราย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ "เปิดเกณฑ์สปสช.จ่ายช่วยเหลือคนไทยจากผลข้างเคียงวัคซีน 1-4 แสนบาท". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
- ↑ "อ.เจษฎา โพสต์ผลศึกษา รพ.จุฬา พบส่วนใหญ่เพศหญิงมีอาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค". CH3Plus.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
- ↑ "กลุ่มอาการ IRFN ที่พบได้หลังรับวัคซีนโรคโควิด-19". chulalongkornhospital.go.th. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. สืบค้นเมื่อ July 3, 2021.
- ↑ 78.0 78.1 นิจศรี ชาญณรงค์ สุวรรณเวลา (2021-05-08). "Immunization Related Focal Neurological Syndrome (IRFN) อาการไม่รุนแรง หายเองได้ ขอให้มั่นใจในการฉีดวัคซีน COVID-19". facebook. Nijasri Charnnarong. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
- ↑ Covid19-md
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Thai-made vaccine ready 'by next year'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ Zimmer, Carl (2021-04-05). "Researchers Are Hatching a Low-Cost Coronavirus Vaccine". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
- ↑ "Thai-developed Covid-19 vaccine starts human trials". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 April 2021.
- ↑ "จุฬาฯ เปิดรับ อาสาสมัครทดลองวัคซีนโควิด สัญชาติไทย". ประชาชาติธุรกิจ. 22 April 2021. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021.
- ↑ วัคซีนใบยาฝีมือคนไทย สู้โควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564
- ↑ "นายกฯ เชื่อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าปลอดภัย-สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตได้ตามแผน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021.
- ↑ "นายกฯ ยืนยันไม่ล็อกดาวน์ ติดต่อรัสเซียขอซื้อวัคซีน". BBC ไทย. 16 April 2021. สืบค้นเมื่อ 24 April 2021.
- ↑ "ฟิลิปปินส์ เผยวัคซีน 'แอสตร้าฯ' ผลิตในไทย โดนเลื่อนส่ง-ลดจำนวน คาดเพราะโรงงานใหม่". มติชนออนไลน์. 1 June 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ Sriroengla, Pafun (3 May 2021). "สยามไบโอไซเอนซ์ รับสมัครพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานย่านบางใหญ่". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ "ราคาเดียวทุกโรงพยาบาล 'โมเดอร์นา' เหลือเข็มละ 1,650 บาท". กรุงเทพธุรกิจ. 1 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมให้ประชาชนทั่วไปจอง "วัคซีนซิโนฟาร์ม"". ไทยรัฐ. 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ "วัคซีนโควิด-19 : หมอบุญเตรียมเซ็นสัญญานำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส เปิดชื่อหน่วยงานรัฐผู้นำเข้าพรุ่งนี้". BBC. 14 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ "สธ.แจงแล้ว! ฉีดวัคซีน"แอสตร้าเซนเนก้า" 1 ขวด 12 โดสได้ไม่ได้?". ข่าวสด. 20 May 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
- ↑ "แนะไทยเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ พร้อมเร่งศึกษาแนวทางสลับยี่ห้อวัคซีน". ไทยรัฐ. 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ "คำอธิบายและข้อโต้แย้งเมื่อไทยเว้นระยะฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 16 สัปดาห์". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
- ↑ "ประยุทธ์ รวบอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับ แก้ปัญหาโควิด". ประชาชาติธุรกิจ. 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
- ↑ ""อนุทิน" ยันจัดวัคซีนโควิดโควตา ศบค.-ไม่เกี่ยวเลื่อนนัดฉีด". Thai PBS. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
- ↑ "สลายซิงเกิลคอมมานด์! นายกฯ คืนอำนาจตาม กม.31 ฉบับ กลับไปเป็นของรัฐมนตรี มีผล 1 ต.ค.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. 29 September 2021.
- ↑ "องค์การเภสัชกรรม แจงราคานำเข้า "โมเดอร์นา" เข็มละ 584 บาท ไม่เป็นจริง". ไทยรัฐ. 12 July 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ "รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ยุตินำเข้าโมเดอร์นาจากโปแลนด์ สรุปจบใน 6 ข้อ". ประชาชาติธุรกิจ. 2 November 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น