สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อังกฤษ: Food and Drug Administration, FDA) เป็นส่วนราชการระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัย ผู้ประกอบการพัฒนาไกล ระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน
อำนาจหน้าที่
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
- เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
- พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
จากอำนาจหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จำนวน 9 ฉบับ และอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
- กฎหมาย
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530) และฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2562)
- พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
- พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 25xx) ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560) และฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562)
- พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531
- พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
- พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562
- อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ
- The Single Convention on Narcotic Drug 1961
- The Convention on Psychotropic Substance 1971
- The International Code of Marketing of Breast-milk Substitute 1981
- The United Nation Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988
หน่วยงานในสังกัด
- สำนักงานเลขานุการกรม (Office of the Secretary)
- กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices Control Division)
- กองควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย (Cosmetic and Hazardous Substances Control Division)
- กองควบคุมวัตถุเสพติด (Narcotics Control Division)
- กองด่านอาหารและยา (Import and Export Inspection Division)
- กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Herbal Products Division)
- กองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและการบริการ (Innovation Health Products and Service Division)
- กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค (Public & Consumer Affairs Division)
- กองยา (Medicine Regulation Division)
- กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (Strategy and Planning Division)
- กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (Rural and Local Consumer Health Products Protection Promotion Division)
- กองอาหาร (Food Division)
- กองนโยบายแห่งชาติด้านยา
- กองความร่วมมือระหว่างประเทศ
- กลุ่มตรวจสอบภายใน (Internal Audit Group)
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (Public Sector Development Group)
- กลุ่มกฎหมายอาหารและยา (Food and Drug Legal Group)
- ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Complaint and Enforcement management Center)
- กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด (Narcotics Revolving Fund)
คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้กฎหมายทั้ง 8 ฉบับนี้ คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่
- คณะกรรมการอาหาร
- คณะกรรมการยา
- คณะกรรมการเครื่องสำอาง
- คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
- คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
- คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์
- คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
พร้อมกันนี้ คณะรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านยา อาหารและสารเคมี เป็นกลไกประสานงานกับหน่วยงานอื่น คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่
- คณะกรรมการระบบยาแห่งชาติ
- คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
- คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังได้เข้าร่วมองค์กรนานาชาติ เช่น Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme (PIC/S)
การดำเนินงานควบคุมทางด้านต่าง ๆ จะต้องดำเนินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และมติของคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น และเลขาธิการฯ รองเลขาธิการฯ เจ้าหน้าที่ของกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด, เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. โดย อย. ได้มอบให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อสามารถตรวจสอบดูแลคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด และทำหน้าที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น
ทำเนียบเลขาธิการ
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
|
รายนามเลขาธิการ
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
1. นายแพทย์ประกอบ วิศาลเวทย์
|
1 ตุลาคม 2517 - 15 กุมภาพันธ์ 2522
|
2. นายแพทย์สันต์ สิงหภักดี
|
16 กุมภาพันธ์ 2522 - 30 กันยายน 2524
|
3. นายแพทย์จำลอง มุ่งการดี
|
1 ตุลาคม 2524 - 30 กันยายน 2525
|
4. นายแพทย์ชนะ คำบุญรัตน์
|
1 ตุลาคม 2525 - 30 กันยายน 2529
|
5. นายแพทย์ประชา เอมอมร
|
1 ตุลาคม 2529 - 8 เมษายน 2534
|
6. เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิง ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
|
24 เมษายน 2534 - 30 กันยายน 2534
|
7. นายแพทย์มรกต กรเกษม
|
1 ตุลาคม 2534 - 30 กันยายน 2537
|
8. นายแพทย์บรรเทา อื้อกุล
|
4 ตุลาคม 2537 - 21 กรกฎาคม 2538
|
9. เภสัชกร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ
|
12 กันยายน 2538 - 4 กันยายน 2540
|
10. นายแพทย์มงคล ณ สงขลา
|
5 กันยายน 2540 - 30 กันยายน 2542
|
11. นายแพทย์ณรงค์ ฉายากุล
|
1 ตุลาคม 2542 - 30 ตุลาคม 2543
|
12. นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน
|
31 ตุลาคม 2543 - 7 พฤศจิกายน 2545
|
13. นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์
|
8 พฤศจิกายน 2545 - 30 กันยายน 2547
|
9. เภสัชกร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ
|
1 ตุลาคม 2547 - 5 ตุลาคม 2549
|
14. นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล
|
20 พฤศจิกายน 2549 - 8 เมษายน 2551
|
15. นายแพทย์ชาตรี บานชื่น
|
9 เมษายน 2551 - 30 กันยายน 2551
|
16. นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี
|
1 ตุลาคม 2551 - 30 กันยายน 2555
|
17. นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข
|
1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2559
|
18. นายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์
|
1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2561
|
19. นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์
|
1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
|
20. นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม
|
1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2566
|
21. นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช
|
1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
|
22. นาบแพทย์สุรโชค โตวิวัฒน์
|
1 ตุลาคม 2567 - ปัจจุบัน
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กรม | | |
---|
รัฐวิสาหกิจ | |
---|
องค์การมหาชน | |
---|
|