กองทัพเรือสหรัฐ |
---|
United States Navy |
ตรากองทัพเรือ |
ประจำการ | 13 ตุลาคม 1775; 249 ปีก่อน (1775-10-13)[1][2] |
---|
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
---|
รูปแบบ | กองทัพเรือ |
---|
บทบาท | การแสดงกำลัง, การตอบสนองเหตุวิกฤต, ปฏิบัติการโดยตรง |
---|
กำลังรบ | กำลังประจำการ 323,197 นาย[3] กำลังสำรอง 108,515 นาย[3] เรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ[3] เรือทั้งหมด 430 ลำ อากาศยานมากกว่า 3,700 ลำ[3] |
---|
ขึ้นกับ | กระทรวงกลาโหมสหรัฐ
|
---|
กองบัญชาการใหญ่ | เพนตากอน อาร์ลิงตันเคาน์ตี, เวอร์จิเนีย, สหรัฐฯ |
---|
คำขวัญ | "Non sibi sed patriae" (ละติน: "ไม่ใช่เพื่อตัวเองแต่เพื่อประเทศชาติ") (ไม่เป็นทางการ)[4] |
---|
สีหน่วย | น้ำเงิน, ทอง [5][6] |
---|
เพลงหน่วย | แองเคอร์สะเวห์ ("Anchors Aweigh") ฟังⓘ |
---|
วันสถาปนา | 13 ตุลาคม 1775 |
---|
ยุทธภัณฑ์ | ดูที่หัวข้อ ยุทโธปกรณ์ ด้านล่าง |
---|
ปฏิบัติการสำคัญ | |
---|
อิสริยาภรณ์ | อิสริยาภรณ์ประกาศกิตติคุณหน่วยประธานาธิบดี
อิสรยาภรณ์สรรเสริญหน่วยนาวี
อิสรยาภรณ์สรรเสริญหน่วยอันมีคุณความดี |
---|
เว็บไซต์ | www.navy.mil |
---|
ผู้บังคับบัญชา |
---|
ผู้บัญชาการสูงสุด | ประธานาธิบดี โจ ไบเดน |
---|
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม | มาร์ก เอสเปอร์ |
---|
อธิบดีกรมทหารเรือ | ฌอน สแต็คลีย์ (รักษาการแทน) |
---|
ผู้บัญชาการยุทธนาวี | พลเรือเอกหญิง ลิซา เอ็ม. แฟรนเกตตี |
---|
รอง ผ.บ. ฝ่ายยุทธการทหารเรือ | พล.ร.อ. วิลเลียม เอฟ. มอแรน |
---|
พันจ่าเอกพิเศษ | พ.จ.อ.(พ.) สตีเวน เอส. จิออร์ดาโน |
---|
เครื่องหมายสังกัด |
---|
ธง | |
---|
ธงเรือ | |
---|
สมอเรือ, เรือคอนสติติวชัน, และตราอินทรี | |
---|
ธงสามเหลี่ยม | |
---|
เครื่องหมายอากาศยาน | |
---|
กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016[3]
กองทัพเรือสหรัฐมีต้นกำเนิดย้อนไปยังกองทัพเรือภาคพื้นทวีปซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกา ก่อนที่จะถูกก่อตั้งขึ้นใหม่เป็นกองทัพเรือสหรัฐหลังจากนั้นไม่นาน กองทัพเรือสหรัฐมีบทบาทสำคัญในสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดยทำการปิดล้อมทางทะเลต่อฝ่ายสมาพันธรัฐ และเข้าควบคุมทางแม่น้ำของสมาพันธรัฐ ทั้งยังมีบทบาทหลักในการเอาชนะจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 กองทัพเรือสหรัฐยังคงวางกำลังอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือทะเลน้ำลึก ที่มีความสามารถในการแสดงกำลังตามแนวชายฝั่งทั่วโลก และตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตระดับภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กองทัพเรือสหรัฐเป็นตัวแทนผู้กระทำของสหรัฐฯ ทางการทูตและการทหารอยู่บ่อยครั้ง
กองทัพเรือสหรัฐอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมทหารเรือ โดยมีพลเรือนเป็นผู้บริหารในตำแหน่งอธิบดีกรมทหารเรือ กรมทหารเรืออยู่ใต้สังกัดของกระทรวงกลาโหม บริหารโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการฝ่ายยุทธการทหารเรือ (CNO) เป็นนายพลเรือระดับสี่ดาวและนายทหารเรืออาวุโสของกรมทหารเรือ CNO อาจจะไม่ใช่นายทหารเรือที่อาวุโสที่สุดในกองทัพสหรัฐถ้าประธานหรือรองประธานคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งตามกฎหมายแล้วมียศสูงกว่า CNO เป็นนายทหารจากกองทัพเรือ
ยุทโธปกรณ์
ตามข้อมูลใน ค.ศ. 2013 กองทัพเรือสหรัฐมียุทโธปกรณ์ที่อยู่ในสถานะพร้อมปฏิบัติงานได้แก่ เรือ 280 ลำ, อากาศยานมากกว่า 3,650 ลำ, พาหนะที่ไม่ได้ใช้เพื่อการสู้รบ 50,000 คัน กองทัพสหรัฐเป็นเจ้าของอาคาร 75,200 อาคารบนพื้นที่ 13,000 ตร.กม.
เรือรบ
ชื่อของเรือในกองเรือประจำการของกองทัพเรือสหรัฐนั้นนำหน้าด้วยตัวอักษร USS แทนคำว่า "เรือรบสหรัฐ" (United States Ship)[7] เรือที่ไม่ได้อยู่ในกองเรือประจำการและมีลูกเรือเป็นพลเรือนมีชื่อนำหน้าด้วยตัวอักษร USNS แทนคำว่า "เรือเดินสมุทรสหรัฐ" (United States Naval Ship) ชื่อของเรือนั้นถูกเลือกอย่างเป็นทางการโดยอธิบดีกรมทหารเรือ โดยมักจะตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติบุคคลหรือสถานที่สำคัญ[8] นอกจากนี้เรือแต่ลำยังได้รับสัญลักษณ์จำแนกประเภทตัวเรือเพื่อระบุประเภทของเรือและหมายเลข (เช่น CVN หรือ DDG) นอกจากเรือรบประจำการแล้ว กองทัพเรือสหรัฐยังมีกองเรือสำรองที่ประกอบไปด้วยเรือที่ไม่พร้อมใช้งานที่ยังมีการบำรุงรักษาไว้เพื่อจะได้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ในยามจำเป็น
กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพแรกที่ทำการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์บนพาหนะทางทะเล[9] ทุกวันนี้เรือบรรทุกอากาศยานและเรือดำน้ำทุกลำของสหรัฐที่ประจำการอยู่ล้วนใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในกรณีของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ เครื่องปฏิกรณ์บนเรือสองเครื่องสามารถให้พลังงานเรือในการขับเคลื่อนอย่างไม่จำกัดและสามารถให้พลังงานไฟฟ้าให้กับเมืองที่มีประชากรอยู่อาศัย 100,000 คน[10]
อ้างอิง
|
---|
กระทรวง | |
---|
ทบวง | |
---|
เหล่าทัพ | |
---|
องค์กรสำคัญ | |
---|
ส่วนกำลังสำรอง | |
---|