กรดแอบไซซิก

กรดแอบไซซิก
Abscisic acid
ชื่อ
IUPAC name
[S-(Z,E)]-5-(1-Hydroxy-2,6,6 -trimethyl-4-oxo-2-cyclohexen- 1-yl)-3-methyl-2,4-pentanedienoic acid[1]
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ตัวย่อ ABA
ECHA InfoCard 100.040.275 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  • InChI=1/C15H20O4/c1-10(7-
    13(17)18)5-6-15(19)
    11(2)8-12(16)9-14
    (15,3)4/h5-8,19H,9H2,
    1-4H3,(H,17,18)/b6-
    5+,10-7-/t15-/m0/s1/
    f/h17H
  • CC1=CC(CC(C)(C)[C@@](/C=C/C(C) =C\C(O)=O)1O)=O
คุณสมบัติ
C15H20O4
มวลโมเลกุล 264.32 g/mol
จุดหลอมเหลว 161-163 °C
จุดเดือด 120 °C (sublimes)
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

กรดแอบไซซิก (อังกฤษ: Abscisic acid) เป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชทนต่อสภาวะเครียดต่างๆได้ดี มีบทบาทในการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอ การพักตัวของเมล็ดและของตาพืช พบในพืชที่มีระบบท่อลำเลียงทั่วไป มอสส์ สาหร่าย แต่ไม่พบในลิเวอร์เวิร์ต[2] การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของกรดแอบไซซิกที่สำคัญ ได้แก่ [3] [4]

  • ปากใบที่ได้รับกรดแอบไซซิกจะปิดไม่ว่าจะอยู่ในที่มืดหรือสว่าง
  • เมื่อพืชอยู่ในดินเค็มหรืออากาศหนาวเย็น พืชจะสร้างกรดแอบไซซิกมากขึ้นเช่นกัน โดยในพืชทนเค็มนั้น กรดแอบไซซิกจะกระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนพิเศษชื่อออสโมตินมากขึ้น
  • ผลต่อการงอกของเมล็ด กรดแอบไซซิกมีผลยับยั้งการงอกของเมล็ด ทำให้มีการพักตัวของเอ็มบริโอ จนกว่าเมล็ดเริ่มงอก เอ็มบริโอจึงเริ่มเจริญอีกครั้งหนึ่ง
  • การพักตัวของพืช กรดแอบไซซิกเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้ตาพืชเข้าสู่ระยะพักตัว
  • ชักนำการหลุดร่วงและการเสื่อมชรา ผลต่อการหลุดร่วงของกรดแอบไซซิกเป็นผลโดยอ้อม คือไปกระตุ้นให้เซลล์พืชที่แก่สร้างเอทิลีนมากขึ้น
  • การควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน กรดแอบไซซิกมีผลทำให้การสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตน้อยลง
  • กรดแอบไซซิกมีผลในการลดการคายน้ำและเพิ่มการดูดซึมน้ำของราก กระตุ้นการดูดไอออนเข้าสู่ราก ชักนำการเติบโตของราก กระตุ้นการเกิดรากแขนงแต่กดการเจริญของใบ ทำให้ใบมีขนาดเล็กลง
  • กรดแอบไซซิกชักนำการออกดอกในพืชวันสั้นและยับยั้งการออกดอกในพืชวันยาว
  • ยังยั้งการขยายของเซลล์โดยออกฤทธิ์ในทางตรงกันข้ามกับออกซิน
  • กระตุ้นการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง

อ้างอิง

  1. Abscisic Acid Chemical Name
  2. วันทนี สว่างอารมณ์, 2542
  3. วันทนี สว่างอารมณ์, 2542
  4. สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์, 2544
  • วันทนี สว่างอารมณ์. 2542. การเจริญและการเติบโตของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2544. สรีรวิทยาการพัฒนาการของพืช. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!