Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

Web Content Accessibility Guidelines

Web Content Accessibility Guidelines เป็นส่วนหนึ่งของความสามารถในการเข้าถึงเว็บ จัดทำโดย World Wide Web Consortium

ประวัติ

ปัญหาของการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศสำหรับคนพิการ จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของความพิการ เช่น คนพิการทางการเห็นที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาหาข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายนั้น คนพิการกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการอ่านเว็บไซต์ต่างๆ ออกมาเป็นเสียง เช่น โปรแกรมอ่านเว็บไซต์ (Voice Browser) หรือโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) แต่โปรแกรมดังกล่าวไม่สามารถอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ครบถ้วน ส่วนปัญหาของคนพิการทางการได้ยินคือเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลเสียง จะไม่สามารถฟังเสียงได้ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดโอกาสในการรับรู้ข่าวสาร หรือรับรู้ได้แต่ไม่เท่าเทียมกัน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ในต่างประเทศ โดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) ให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์แบบ Universal Design (UD) ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และได้กำหนดแนวทางการสร้างเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้

แนวทางการออกแบบเว็บไซต์

สำหรับแนวทางการออกแบบเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึง โดย W3C เรียก Guideline นี้ว่า Web Content Accessibility Guideline (WCAG) ได้ประกาศใช้เป็นเกณฑ์ในการออกแบบเว็บไซต์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 ในเวอร์ชัน WCAG 1.0 ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์จึงมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการพัฒนาเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ต้องมีการทบทวน Guideline กันใหม่ และได้มีการปรับเนื้อหาให้รองรับและครอบคลุมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ ในเวอร์ชัน WCAG 2.0 ที่กำลังจะประกาศใช้ในปี 2007 ประเทศไทยจึงได้นำ WCAG 2.0 มาปรับใช้เพื่อยกระดับการเข้าถึงเว็บไซต์ให้เป็นไปตามหลักสากลได้ ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้

หลักการ (Principle)

มี 4 หลักการตามวัตถุประสงค์ในการออกแบบเว็บไซต์

  • หลักการที่ 1 - ผู้อ่านต้องสามารถรับรู้เนื้อหาได้
  • หลักการที่ 2 - องค์ประกอบต่าง ๆ ของการอินเตอร์เฟสกับเนื้อหาจะต้องใช้งานได้
  • หลักการที่ 3 - ผู้ใช้สามารถเข้าใจเนื้อหา และส่วนควบคุมการทำงานต่างๆ ได้
  • หลักการที่ 4 - เนื้อหาต้องมีความยืดหยุ่นที่จะทำงานกับเทคโนโลยีเว็บในปัจจุบันและอนาคตได้ (รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก)

แนวทาง (Guideline)

จะแบ่งออกเป็นข้อๆ ตามหลักการ

  • แนวทางที่ 1.1 - จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) แทน เนื้อหาที่มีรูปแบบเป็นอื่น
  • แนวทางที่ 1.2 - จัดเตรียมข้อความบรรยายที่ตรงกับเหตุการณ์ในสื่อมัลติมีเดีย
  • แนวทางที่ 1.3 - การออกแบบโครงสร้าง และเนื้อหา ต้องสามารถทำงานเป็นอิสระจากกันและกัน
  • แนวทางที่ 1.4 - ต้องมั่นใจได้ว่าพื้นหน้าและพื้นหลัง(สีและเสียง) ต้องมีความแตกต่างกันมากพอที่ผู้ใช้จะสามารถแยกแยะได้
  • แนวทางที่ 2.1 - การทำงานทุกอย่างต้องรองรับการใช้งานจากคีย์บอร์ดได้
  • แนวทางที่ 2.2 - จัดเตรียมเวลาให้เพียงพอในการอ่าน หรือการกระทำใดๆ ของข้อมูล สำหรับผู้ใช้ที่เป็นคนพิการ
  • แนวทางที่ 2.3 - ไม่สร้างเนื้อหาที่อาจเป็นสาเหตุของอาการลมชัก
  • แนวทางที่ 2.4 - จัดเตรียมทางช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้ในการสืบค้นเนื้อหา รู้ว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งใดในเนื้อหา และท่องไปในเนื้อหานั้นได้
  • แนวทางที่ 3.1 - สร้างเนื้อหาให้สามารถอ่านและเข้าใจได้
  • แนวทางที่ 3.2 - การทำงานของระบบต่างๆ หรือการแสดงผลบนหน้าเว็บ ต้องเป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถคาดเดาได้
  • แนวทางที่ 3.3 - จัดเตรียมส่วนการช่วยเหลือให้ผู้ใช้ให้สามารถกรอกข้อมูลได้ถูกต้อง
  • แนวทางที่ 4.1 - รองรับการใช้งานร่วมกับ User Agent ได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต (รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก)

เกณฑ์ความสำเร็จ (Success Criteria)

เป็นตัวบอกระดับความสำเร็จของหัวข้อแนวทางที่จะทำให้เป็นไปตามหลักการ แบ่งเป็น 3 ระดับ

  • เอ (A) เป็นเกณฑ์ที่ *ต้อง* ปฏิบัติตาม เพื่อให้คนพิการเข้าถึงเว็บไซต์ได้
  • ดับเบิ้ลเอ (AA) เป็นเกณฑ์ที่ *ควรจะ* ปฏิบัติตาม เพื่อให้คนพิการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
  • ทริปเปิ้บเอ (AAA) เป็นเกณฑ์ที่ *อาจจะ* ปฏิบัติตาม เพื่อให้คนพิการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายที่สุด

ระดับการเข้าถึง (Level)

การที่จะทำให้ทราบถึงว่าเว็บไซต์ใดเป็นเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้นั้น จะต้องมีสัญลักษณ์ (Icon) กำกับอยู่ที่หน้าของเว็บไซต์นั้นๆ (URI) ซึ่งหมายถึงการที่เว็บไซต์นั้นๆ ได้ผ่านการตรวจสอบความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ ตามแนวทางของการเข้าถึงข้อมูล สำหรับสัญลักษณ์ที่แสดงนั้นจะแบ่งความสามารถในการเข้าถึงเป็น 3 ระดับ

  • เอ (A) หมายถึง ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมด ที่กำหนดในระดับเอ
  • ดับเบิ้ลเอ (AA) หมายถึง ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมด ที่กำหนดในระดับเอ และดับเบิ้ลเอ
  • ทริปเปิ้ลเอ (AAA) หมายถึง ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์การตรวจสอบทั้ง 3 ระดับ

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya