โรฮีนจา
ชาวโรฮีนจา 𐴌𐴗𐴥𐴝𐴙𐴚𐴒𐴙𐴝
ประชากรทั้งหมด 1,547,778[ 1] –มากกว่า 2,000,000 คน[ 2] ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ บังกลาเทศ มากกว่า 1,300,000 คน (มีนาคม ค.ศ. 2018)[ 3] พม่า (รัฐยะไข่ )600,000 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2019)[ 4] ปากีสถาน 500,000 (กันยายน ค.ศ. 2017)[ 5] ซาอุดีอาระเบีย 190,000 (มกราคม ค.ศ. 2017)[ 6] มาเลเซีย 150,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2017)[ 5] สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 50,000 (ธันวาคม ค.ศ. 2017)[ 5] อินเดีย 40,000 (กันยายน ค.ศ. 2017)[ 7] [ 8] สหรัฐอเมริกา มากกว่า 12,000 คน (กันยายน ค.ศ. 2017)[ 9] ไทย 5,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2017)[ 10] ออสเตรเลีย 3,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2018)[ 11] จีน 3,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2014)[ 12] อินโดนีเซีย 1,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2017)[ 10] ญี่ปุ่น 300 (พฤษภาคม ค.ศ. 2018)[ 13] เนปาล 200 (กันยายน ค.ศ. 2017)[ 14] แคนาดา 200 (กันยายน ค.ศ. 2017)[ 15] ไอร์แลนด์ 107 (ธันวาคม ค.ศ. 2017)[ 16] ศรีลังกา 36 (มิถุนายน ค.ศ. 2017)[ 17] ฟินแลนด์ 11 (ตุลาคม ค.ศ. 2019)[ 18] ภาษา โรฮีนจา ศาสนา ส่วนใหญ่ :อิสลาม [ 19] ส่วนน้อย :ฮินดู [ 20] [ 21] [ 22]
โรฮีนจา [ 23] (พม่า : ရိုဟင်ဂျာ /ɹòhɪ̀ɴd͡ʑà/ โหร่หิ่งจ่า ; โรฮีนจา : Ruáingga /ɾuájŋɡa/ รูไอง์กา ; เบงกอล : রোহিঙ্গা, Rohingga ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา [ 24] [ 25] ชาวโรฮีนจาและนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอล ในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักร เป็นหลัก[ 27] [ 28] และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราช ในปี 2514 ชาวโรฮิงญาเป็นลูกหลานของอาชญากรที่ถูกเนรเทศในสังคมโบราณ[ 29] [ 30] [ 32] [ 33]
ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของสหราชอาณาจักรได้อย่างแม่นยำ หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง ในปี 2369 สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี 2412 แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่[ 35] ในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีนตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา[ 33] [ 27]
ในปี 2556 มีชาวโรฮีนจาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า[ 32] ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80–98 ของประชากร[ 33] สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าชาวโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก[ 37] [ 38] ชาวโรฮีนจาจำนวนมากหนีไปอยู่ในย่านชนกลุ่มน้อยและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ รวมทั้งพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออกมา[ 39] [ 40] ชาวโรฮีนจาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกทหารพม่าจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร เรื่องนี้รัฐบาลทหารพม่าออกมาตอบโต้ในเบื้องต้นว่า ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวเกินความจริง และที่ว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ใช้เรือใบโดยไม่มีเครื่องยนต์และห้องน้ำบนเรือ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมายังชายฝั่ง ทางด้าน โฆษกกระทรวงกลาโหมพม่า ออกมาปฏิเสธว่าสื่อรายงานไม่ถูกต้อง[ 41]
นอกจากนี้สื่อยังได้รายงานผลการสอบสวนว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้หายตัวไปจากการกักขังที่ส่วนกลางและยังไม่พบว่าอยู่ที่ไหน รัฐบาลทหารพม่าให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "พวกเราอาจหยุดเดินเรือหรือพวกเขาจะกลับมา ทิศทางลมจะพาพวกเขาไปยังอินเดียหรือไม่ก็ที่อื่น"[ 42] จากนั้นรัฐบาลทหารพม่าให้สัญญาว่าจะดำเนินการสอบสวนผู้นำทางทหารอย่างเต็มที่ แต่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่หาว่าปกปิดการใช้อำนาจกองทัพไปในทางที่ผิด
แอนเจลีนา โจลี ทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่าว่าไม่สนใจไยดีต่อสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของชาวโรฮีนจา และเสนอแนะว่ารัฐบาลทหารพม่าควรดูแลคนกลุ่มนี้ให้ดีกว่าตอนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า กระทรวงการต่างประเทศออกมาตำหนิยูเอ็นเอชซีอาร์ มีการบันทึกว่ายูเอ็นเอชซีอาร์ไม่มีอำนาจหน้าที่และการกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะอ้างถึงกระทรวงการต่างประเทศ และอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศ[ 43] [ 44]
อ้างอิง
อ้างอิง
↑ Mahmood; Wroe; Fuller; Leaning (2016). "The Rohingya people of Myanmar: health, human rights, and identity" . Lancet . 389 (10081): 1–10. doi :10.1016/S0140-6736(16)00646-2 . PMID 27916235 . S2CID 205981024 .
↑ Mathieson, David (2009). Perilous Plight: Burma's Rohingya take to the seas . Human Rights Watch . p. 3. ISBN 978-1-56432-485-6 .
↑ "WHO appeals for international community support; warns of grave health risks to Rohingya refugees in rainy season" . ReliefWeb . 29 March 2018.
↑ "600,000 Rohingya still in Myanmar" . SPH Digital News . สืบค้นเมื่อ 16 September 2019 .
↑ 5.0 5.1 5.2 "Far From Myanmar Violence, Rohingya in Pakistan Are Seething" . The New York Times . 12 September 2017.
↑ "190,000 Myanmar nationals' get residency relief in Saudi Arabia" . Al Arabiya English . 25 January 2017.
↑ "India in talks with Myanmar, Bangladesh to deport 40,000 Rohingya" . Reuters . 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017 .
↑ "India plans to deport thousands of Rohingya refugees" . Al Jazeera. 14 August 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017 .
↑ Mclaughlin, Timothy (20 September 2016). "Myanmar refugees, including Muslim Rohingya, outpace Syrian arrivals in U.S." Reuters . สืบค้นเมื่อ 3 September 2017 .
↑ 10.0 10.1 "Myanmar Rohingya: What you need to know about the crisis" . BBC News . 19 October 2017.
↑ "Australia has an obligation to the Rohingya people: So why is the federal government prevaricating?" . ABC News . 3 October 2018.
↑ Chen, Chun-yan (2016). "旅居瑞丽的缅甸罗兴伽人生存策略探析" [Research on Survival Strategy of Myanmar's Rohingya in Ruili]. Journal of Guangxi University for Nationalities (Philosophy and Social Science Edition) (ภาษาจีน). 38 (2): 98–104. ISSN 1673-8179 .
↑ "Report on International religious freedom" . United States Department of State. 20 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 29 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018 .
↑ "200 Rohingya Refugees are not being accepted as Refugees and the Nepali Government considers them illegal migrants" . Republica . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 4 June 2016. An estimated 36,000 Rohingya Refugess living in India
↑ "200 'We have the right to exist': Rohingya refugees call for intervention in Myanmar" . Canadian Broadcasting Corporation.
↑ Pollak, Sorcha (15 February 2015). "I'm really excited to see my girls growing up in Ireland" . The Stateless Rohinga . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018 .
↑ "Sri Lanka Navy detains Rohingya – majority children" . The Stateless Rohinga . 12 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018 .
↑ "Finland helps Myanmar's Rohingya refugees through the Red Cross" . Valtioneuvosto .
↑ "Who are Rohingya" . nationalgeographic .
↑ "Bangladesh to restrict Rohingya movement" . BBC News . 16 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018 .
↑ "Rohingya Hindu women share horror tales" . Dhaka Tribune . สืบค้นเมื่อ 16 January 2018 .
↑ "Rohingya Hindus now face uncertainty in Myanmar" . Al Jazeera. 21 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018 .
↑ "สำนักงานราชบัณฑิตยสภาชี้แจงคำ "โรฮีนจา" และ "เมียนมา" " (PDF) . สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560 .
↑ Andrew Simpson (2007). Language and National Identity in Asia . United Kingdom: Oxford University Press. pp. 267 . ISBN 978-0199226481 .
↑ "Rohingya reference at Ethnologue" .
↑ 27.0 27.1 Derek Tonkin. "The 'Rohingya' Identity - British experience in Arakan 1826-1948" . The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-01-19. สืบค้นเมื่อ 19 January 2015 .
↑ Selth, Andrew (2003). Burma’s Muslims: Terrorists or Terrorised? . Australia: Strategic and Defence Studies Centre, Australian National University. p. 7. ISBN 073155437X .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kaiser
↑ Adloff, Richard; Thompson, Virginia (1955). Minority Problems in Southeast Asia . United States: Stanford University Press. pp. 154 .
↑ 32.0 32.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :5
↑ 33.0 33.1 33.2 Leider, Jacques P. " "Rohingya": Rakhaing and Recent Outbreak of Violence: A Note" (PDF) . Network Myanmar. สืบค้นเมื่อ 11 February 2015 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
↑ MclaughLin, Tim (8 July 2013). "Origin of 'most persecuted minority' statement unclear" . สืบค้นเมื่อ 17 February 2015 .
↑ "Myanmar, Bangladesh leaders 'to discuss Rohingya' " . Agence France-Presse. 29 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-16 .
↑ "Trapped inside Burma's refugee camps, the Rohingya people call for recognition" . The Guardian. 20 December 2012. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015 .
↑ "US Holocaust Museum highlights plight of Myanmar's downtrodden Rohingya Muslims" . Fox News . Associated Press . 6 November 2013.
↑ Bangkok Post, [1] , 20 January 2009
↑ Al Jazeera, Thais admit boat people set adrift , 27 January 2009
↑ The Nation, UNHCR warned over Angelina Jolie's criticism on Rohingya เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ The Nation, Thai govt warns Jolie and UNHCR over comments on Rohingyas , 11 February 2009
ข้อมูลทั่วไป
(ตามลำดับอักษรอังกฤษ)
Aye Chan (Autumn 2005). "The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State of Burma (Myanmar)" (PDF) . SOAS Bulletin of Burma Research . 3 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017 .
"Burma's Western Border as Reported by the Diplomatic Correspondence (1947–1975)" by Aye Chan
"Burma's Western Border as Reported by the Diplomatic Correspondence (1947–1975)" by Aye Chan
Charney, Michael W. (8 April 2018). "A Comparative Vocabulary of Some of the Languages Spoken in the Burma Empire written by Francis Buchanan" . SOAS Bulletin of Burma Research . สืบค้นเมื่อ 8 April 2018 .
Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824 . London: Frank Cass & Co. Ltd.
International Center for Transitional Justice, Myanmar
Khin Maung Saw (1994). "The 'Rohingyas', Who Are They? The Origin of the Name 'Rohingya' " (PDF) . ใน Uta Gärtner; Jens Lorenz (บ.ก.). Tradition and Modernity in Myanmar: Proceedings of an International Conference held in Berlin from 7 to 9 May 1993 . Münster: LIT. pp. 89–101. ISBN 978-3-89473-992-8 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28 .
Leider, Jacques (2018). "Rohingya: The History of a Muslim Identity in Myanmar". ใน Ludden, David (บ.ก.). Oxford Research Encyclopedia of Asian History . Oxford University Press. doi :10.1093/acrefore/9780190277727.013.115 . ISBN 9780190277727 .
Leider, Jacques (2013). "Rohingya: The name, the movement and the quest for identity" (PDF) . Network Myanmar .
"Myanmar, The Rohingya Minority: Fundamental Rights Denied" . Amnesty International. สืบค้นเมื่อ 13 August 2005 .
"Myanmar:The Politics of Rakhine State" (PDF) . International Crisis Group. 22 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 6 November 2014. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015 .
Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma . Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6 .
Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
Yegar, Moshe (2002). Between integration and secession: The Muslim communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma / Myanmar . Lanham, MD: Lexington Books . ISBN 978-0-7391-0356-2 .
Yegar, Moshe (1972). Muslims of Burma (PDF) . Wiesbaden: Verlag Otto Harrassowitz.
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรฮีนจา
กะชีน (12) กะยา (9) กะเหรี่ยง (11) ชีน (53) พม่า (9) มอญ (1) ยะไข่ (7) ชาน (33) อื่น ๆ