เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555

เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555
เป็นส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งเกี่ยวกับโรฮีนจาในพม่าตะวันตก
สถานที่รัฐยะไข่ พม่า
วันที่8 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ประเภทความขัดแย้งระหว่างศาสนา
ตายมิถุนายน: 88 คน[1][2][3]
ตุลาคม: อย่างน้อย 80 คน[4]
ไม่มีที่อยู่อาศัย 100,000 คน[4]

เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555 เป็นเหตุการณ์พิพาทที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวยะไข่พุทธและมุสลิมโรฮีนจาทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ ประเทศพม่า แต่เมื่อถึงเดือนตุลาคม มุสลิมทุกชาติพันธุ์ในพม่าเริ่มตกเป็นเป้า[5][6] เหตุจลาจลเกิดขึ้นหลังข้อพิพาททางศาสนาหลายสัปดาห์และถูกประณามโดยประชาชนทั้งสองฝ่าย[7] สาเหตุของเหตุจลาจลที่แน่นอนยังไม่ชัดเจน ขณะที่นักวิจารณ์หลายคนอ้างว่า ชาวยะไข่สังหารมุสลิมพม่าสิบคนหลังเกิดการข่มขืนและฆ่าสตรีชาวยะไข่เป็นสาเหตุหลัก รัฐบาลพม่าตอบสนองโดยกำหนดการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน และวางกำลังทหารในพื้นที่ วันที่ 10 มิถุนายน มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในรัฐยะไข่ ซึ่งอนุญาตให้ทหารเข้ามาปกครองพื้นที่[8][9] ถึงวันที่ 22 สิงหาคม ตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 88 คน เป็นมุสลิม 57 คน และชาวพุทธ 31 คน[1] ประเมินว่ามีประชาชน 90,000 คนพลัดถิ่นจากความรุนแรงดังกล่าว[10][11] มีบ้านเรือนถูกเผาราว 2,528 หลัง จำนวนนี้ 1,336 หลังเป็นของชาวโรฮีนจา และ 1,192 หลังเป็นของชาวยะไข่[12] กองทัพและตำรวจพม่าถูกกล่าวหาว่ามีบทบาทนำในการจับกุมหมู่และใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจต่อชาวโรฮีนจา[13]

การต่อสู้เกิดขึ้นอีกครั้งในเดือนตุลาคม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 64 คน และบ้านเรือนหลายพันหลังถูกทำลาย

ภูมิหลัง

มีการขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นประจำในยะไข่ระหว่างชนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวยะไข่นับถือศาสนาพุทธ กับชนกลุ่มน้อยที่เป็นมุสลิมโรฮีนจาซึ่งรัฐบาลพม่านับชาวโรฮีนจาเหล่านี้ว่าเป็นผู้อพยพ จึงไม่มีสิทธิที่จะเป็นพลเมืองของประเทศ นักประวัติศาสตร์หลายคนบอกว่าชาวโรฮีนจานี้อยู่ที่นี่มาหลายศตวรรษแล้ว ในขณะที่นักประวัติศาสตร์อีกส่วนบอกว่าชาวโรฮีนจาเพิ่งปรากฏในแถบนี้ในช่วงศตวรรษที่ 19 เท่านั้น สหประชาชาตินับกลุ่มชาติพันธุ์โรฮีนจาเหล่านี้ว่าเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่มากที่สุดในโลก นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการแผนกเอเชียของฮิวแมนไรต์วอตช์ อีเลน เพียร์สัน ยังออกมากล่าวว่า "หลังจากหลายปีแห่งการกดขี่ ข่งเหง รังแก วันหนึ่งฟองสบู่นั้นจะแตกออก และนั่นคือสิ่งที่เรากำลังเห็นในขณะนี้"[14]

ในเย็นของวันที่ 28 พฤษภาคม กลุ่มมุสลิมสามคน ซึ่งมีชาวโรฮีนจาสองคน ได้ปล้นฆ่าข่มขืนหญิงชาวยะไข่ชื่อ มา ทิดา ทเว ต่อมาตำรวจเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยทั้งสามแล้วส่งไปยังเรือนจำของเมืองยานบาย[15] ในวันที่ 3 มิถุนายน[16] ผู้ประท้วงได้โจมตีรถบัสคันหนึ่งเนื่องจากเชื่อว่าผู้ต้องสงสัยทั้งสามนั้นอยู่ในรถบัสนั้น[17] ผลจากเหตุการณ์นั้นได้ทำให้ชาวมุสลิม 10 คนเสียชีวิต[18] ซึ่งเป็นผลให้เกิดการประท้วงจากกลุ่มมุสลิมชาวพม่าในย่างกุ้ง รัฐบาลตอบสนองโดยการตั้งรัฐมนตรีและผู้บัญชาการตำรวจอาวุโสเพื่อเป็นผู้นำในการสืบสวน เพื่อสืบหาสาเหตุและการยั่วยุที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์และดำเนินการทางกฎหมายต่อไป[19] ซึ่งนับถึงวันที่ 2 กรกฎาคม มีผู้ถูกจับไปแล้ว 30 คนเนื่องจากการฆ่าชาวมุสลิมทั้งสิบนี้[20]

เหตุจลาจลในเดือนมิถุนายน

ในเดือนนี้มีการโจมตีของชาวพุทธยะไข่และชาวมุสลิมโรฮีนจาหลายครั้งดังนี้[21]

8 มิถุนายน การโจมตีเริ่มต้น

มีการประท้วงของชาวโรฮีนจากลุ่มใหญ่ เผาบ้านและทำลายโทรศัพท์[22] ในตอนเย็นเจ้าหน้าที่ไปป้องกันบ้านไว้ได้ 14 หลัง และยิงปืนเตือนเข้าไปในกลุ่มชน ในวันรุ่งขึ้น รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกในหม่องเด่า ห้ามมิให้รวมกลุ่มกันเกินกว่า 5 คนในที่สาธารณะ และมีผู้เสียชีวิตในวันนี้ 5 คน[23]

9 มิถุนายน ความรุนแรงขยายตัว

ตอนเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน รัฐบาลส่งกองกำลังติดอาวุธเข้าไปเพิ่มเติม และสร้างค่ายผู้ลี้ภัยให้ผู้ที่บ้านเรือนถูกเผา แม้ว่าจะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยแต่ความขัดแย้งได้ขยายวงกว้างออกไป มีความพยายามก่อเหตุร้ายในหม่องเด่าแต่ระงับเหตุไว้ได้ เกิดความรุนแรงขึ้นอีก มีผู้เสียชีวิต 7 คน ร้านค้า 17 แห่งและบ้านมากกว่า 494 หลังถูกเผาในวันนี้[24]

10 มิถุนายน การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในวันที่ 10 มิถุนายน มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วยะไข่[25] เพื่อตอบสนองต่อความวุ่นวายและการก่อการร้าย ในวันนี้เอง ชาวโรฮีนจาได้กล่าวว่ามีเด็กหญิงอายุ 12 ปี ออกไปที่ร้านค้าและถูกตำรวจยิงเสียชีวิต ชาวยะไข่ได้เผาบ้านเรือนของชาวโรฮีนจาในหมู่บ้านโบห์มู[26] ประชาชนมากกว่า 5,000 คนต้องไปอยู่ที่ค่ายอพยพ[27] และมีผู้อพยพจำนวนมากลี้ภัยไปยังซิตตเว

12 – 14 มิถุนายน

ในวันที่ 12 มิถุนายน มีการสร้างค่ายผู้อพยพที่ซิตตเว[28] ส่วนรัฐบาลบังกลาเทศออกมาปฏิเสธการรับผู้ลี้ภัยและได้ส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับมายังพม่า[29]

15 – 28 มิถุนายน

ในวันที่ 28 มิถุนายน มีการประกาศว่ามีผู้เสียชีวิต 80 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 90,000 คน[30] ชาวโรฮีนจาหลายร้อยคนพยายามข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศ แต่ส่วนใหญ่ถูกผลักดันกลับมา ตุน คิน ประธานองค์กรโรฮีนจาพม่าแห่งอังกฤษได้กล่าวว่ามีชาวโรฮีนจาเสียชีวิต 650 คน สูญหาย 1,200 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 80,000 คน ชาวโรฮีนจาที่ข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศให้สัมภาษณ์ว่าทหารและตำรวจพม่ายิงปืนเข้าไปในกลุ่มชาวบ้าน พวกเขาหวาดกลัวในการกลับไปพม่า แม้ว่าบังกลาเทศจะพยายามผลักดันให้กลับไป

รัฐบาลพม่าได้จับกุมผู้ทำงานให้กับ UNHCR 10 คน[31] และกล่าวหาว่ามี 3 คนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง สหประชาชาติได้เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวเจ้าหน้าที่เหล่านี้ พม่าปฏิเสธและเสนอให้สหประชาชาตินำชาวโรฮีนจา 1 ล้านคนไปอยู่ในค่ายผู้อพยพในบังกลาเทศหรือประเทศอื่น

ความรุนแรงในเดือนตุลาคม

ความรุนแรงระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมได้เกิดขึ้นอีกครั้งในปลายเดือนตุลาคม รัฐบาลพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 80 คน ผู้ไร้ที่อยู่อาศัยมีมากกว่า 22,000 คน และบ้านมากกว่า 4,600 หลังถูกเผา[4] ความรุนแรงเริ่มขึ้นที่หมู่บ้านมินเบียและมรอกโอ แล้วได้ขยายไปทั่วยะไข่ นอกจากมุสลิมโรฮีนจาแล้ว มุสลิมทุกเชื้อชาติกลายเป็นเป้าหมาย มุสลิมหลายกลุ่มไม่สามารถฉลองเทศกาลอีดและอีดิลอัฏฮาได้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถคุ้มครองพวกเขา[32]

เหตุการณ์ในประเทศอื่น

ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556 ชาวพุทธและชาวมุสลิมพม่าที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวพม่าในอินโดนีเซียได้ปะทะกันโดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์รุนแรงภายในประเทศ ผลปรากฏว่าชาวพุทธเสียชีวิต 8 คน ชาวโรฮีนจาบาดเจ็บ 15 คน[33][34]ชาวโรฮีนจา 14 คนถูกศาลอินโดนีเซียตัดสินจำคุก 9 เดือน[35]

ปฏิกิริยา

ระดับชาติ

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศขอให้ยุติความรุนแรง[36] กลุ่มนักศึกษารุ่น 88 ได้กล่าวว่าเหตุรุนแรงนี้คือการก่อการร้าย[37] สมาคมพม่าอิสลามทั้งมวลได้กล่าวว่านี่เป็นการก่อการร้ายที่ทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์[38][39]

ระดับนานาชาติ

สหภาพยุโรปได้ประกาศให้จับตาดูเหตุการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิด[40] องค์กรความร่วมมืออิสลามได้ประณามรัฐบาลพม่าในการประชุมเมื่อ 15 สิงหาคม ในการที่ใช้ความรุนแรงและปฏิเสธการให้สัญชาติพม่าแก่ชาวโรฮีนจา[41] บังกลาเทศได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดน และส่งตัวผู้อพยพจำนวนมากกลับพม่า อิหร่านได้ประกาศต่อต้านความรุนแรงที่เกิดขึ้นและมีการประท้วงรัฐบาลพม่าในอิหร่าน[42] ในปากีสถานมีผู้ออกมาประท้วงต่อต้านการเกลียดชังมุสลิมในพม่า[43][44] ซาอุดีอาระเบียได้ให้ความช่วยเหลือ 50 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ชาวโรฮีนจาและประณามรัฐบาลพม่า[45]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Press Release" (PDF). Government of the Republic of the Union of Myanmar Ministry of Foreign Affairs. 21 August 2012. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  2. "Myanmar sets up internal probe of sectarian unrest". The Guardian. London. 17 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  3. "Myanmar gov't refutes accusations of religious persecution, discrimination in Rakhine incident". Xinhua. 27 October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Burma violence: 20,000 displaced in Rakhine state". BBC News. 28 October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 28 October 2012.
  5. "Burma admits Rakhine destruction". BBC News. 27 October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  6. Peter Beaumont (27 October 2012). "Burma's leader admits deadly attacks on Muslims". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  7. "Four killed as Rohingya Muslims riot in Myanmar: government". Reuters. 8 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  8. Linn Htet (11 June 2012). "အေရးေပၚအေျခအေန ေၾကညာခ်က္ ႏုိင္ငံေရးသမားမ်ား ေထာက္ခံ". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-13. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  9. Keane, Fergal (11 June 2012). "Old tensions bubble in Burma". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  10. "Burma's ethnic clashes leave 90,000 in need of food, says UN". Toronto Star. 19 June 2012. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  11. "Burma unrest: Rakhine violence 'displaces 30,000'". BBC News. 14 June 2012. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  12. "Both ethnic groups suffered in Myanmar clashes". Associated Press. 15 Jun 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-11. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.
  13. Hindstorm, Hanna (28 June 2012). "Burmese authorities targeting Rohingyas, UK parliament told". Democratic Voice of Burma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
  14. "Muslim, Buddhist mob violence threatens new Myanmar image". Reuters. 11 Jun 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-14. สืบค้นเมื่อ 12 June 2012.
  15. "Myanmar Conflict Alert: Preventing communal bloodshed and building better relations". International Crisis Group (ICG). 12 June 2012. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.
  16. "30 arrested for killing 10 aboard Toungup bus". Elevenmyanmar.com. 2012-07-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-15. สืบค้นเมื่อ 2012-10-27.
  17. "UN decides to relocate staff from Myanmar's Rakhine state". BBC. 11 June 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  18. "Burma police clash with Muslim protesters in Maung Daw". BBC. 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  19. "Myanmar to probe Muslim deaths". Reuters. 8 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  20. "Myanmar arrests 30 over killing of 10 Muslims". Reuters. 2 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-14. สืบค้นเมื่อ 15 July 2012.
  21. "Muslim, Buddhist mob violence threatens new Myanmar image". NDTV. 11 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2014-09-30.
  22. "Curfew imposed in Rakhine township amidst Rohingya terrorist attacks". Eleven Media Group. 8 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  23. "ရခိုင်ပြည်နယ် မောင်တောမြို့၌ ဆူပူအကြမ်းဖက်မှုများ ဖြစ်ပွား ဒေသရပ်ရွာတည်ငြိမ်အေးချမ်းမှု ရရှိစေရေး အတွက် ပုဒ်မ (၁၄၄) ထုတ်ပြန်၍ ထိန်းသိမ်းဆောင်ရွက်လျက်ရှိ". Presidential Office of Myanmar. 8 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-20. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  24. "ဖစ္ပြားျပီးေနာက္ရက္၌ အေျခအေနမ်ားကို သက္ဆိုင္ရာက ထိန္းခ်ဳပ္ႏိုင္ျပီ ျဖစ္ေၾကာင္းသိရ". Eleven Media Group. 10 June 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  25. "Q&A: Unrest in Burma's Rakhine state". BBC News. 11 June 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  26. "ရခိုင္ၿပည္နယ္ အေၿခအေနႏွင့္ ပတ္သက္ၿပီး ဇြန္လ ၁၀ ရက္ေန႔ ေနာက္ဆံုးရသတင္းမ်ား". Eleven Media Group. 10 June 2012. สืบค้นเมื่อ 12 June 2012.
  27. "ရခိုင်၊ ဗမာ၊ သက် ဒုက္ခသည် ငါးထောင်ကျော်". BBC. 10 June 2012. สืบค้นเมื่อ 12 June 2012.
  28. "Myanmar clashes continue|World". chinadaily.com.cn. 13 June 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  29. "Bangladesh sends back boatloads of Rohingya Muslims fleeing Myanmar violence". The Associated Press. 2012-06-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-17.
  30. "RFA news". Rfa.org. สืบค้นเมื่อ 2012-10-27.
  31. UN aid workers face Myanmar riot charges, By Gwen Robinson in Bangkok, 15 July 2012, Financial Times
  32. Mark Magnier (26 October 2012). "112 killed, homes burned as Buddhists, Muslims clash in Myanmar". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.
  33. "ival Myanmar groups clash in Indonesia jail". Al Jazeera. 5 April 2013. สืบค้นเมื่อ 5 April 2013.
  34. AP News (5 April 2013). "8 dead as Burmese Buddhists, Muslims clash in Indonesia". Asian Correspondents. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-09. สืบค้นเมื่อ 5 April 2013.
  35. "Indonesia jails Myanmar Muslims over Buddhist killings". 5 December 2013. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  36. "Statement from National League for Democracy". National League for Democracy. 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  37. "ေမာင္ေတာျမိဳ့နယ္တြင္ ျဖစ္ပြားေနေသာကိစၥႏႇင့္ ပတ္သက္၍ ၈၈ မ်ိဳးဆက္ေက်ာင္းသားမ်ားအဖြဲ႔မႇ သတင္းစာရႇင္းလင္းပြဲျပဳလုပ္ မိမိတုိ႔ ဒီမုိကေရစီအင္အားစုမ်ားမႇ တပ္မေတာ္အင္အားစုႏႇင့္အတူ အမ်ိဳးသားေရးျပႆနာအျဖစ္ ရင္ဆုိင္ေျဖရႇင္းသြားမည္ျဖစ္ေၾကာင္း ေျပာၾကား". Eleven Media Group. 8 June 2012. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  38. "Biggest Islam association in Myanmar appeals for calm in wake of unrest in western state". Xinhua. 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  39. "သဘောထား ထုတ်ပြန်ကြေညာချက်". မြန်မာနိုင်ငံလုံးဆိုင်ရာ အစ္စလာမ် ဘာသာရေး အဖွဲ့ကြီး. 9 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-08. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  40. "EU makes diplomatic initiatives to end massacre in Myanmar". Anatolian Agency. 22 July 2012.
  41. "Islamic summit will take Myanmar's Rohingyas issue to UN". Agence France-Presse. 16 August 2012. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.
  42. "Muslim states urged to act over massacre of Rohingyas in Myanmar". Press TV. 3 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-07. สืบค้นเมื่อ 2014-10-03.
  43. "PTI stages protest against Muslim killing in Burma". Pakistan Today. 26 July 2012. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.
  44. "'Burma Muslim massacre': JI calls on government to lodge protest". The Express Tribune. 21 July 2012. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.
  45. "Saudi Arabia gives $50 mn aid to Myanmar Muslims". Reuters. 12 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!