โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จังหวัดสุรินทร์ และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนแห่งนี้มีพื้นที่ 63 ไร่ 2 งาน 62 ตารางวา โดยตั้งอยู่ในที่ลุ่มซึ่งมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน มีอาณาเขตด้านทิศตะวันออกติดชุมชนบ้านโดดวิทยา ทิศตะวันตกติดโรงเรียนอนุบาลสำโรงทาบ (บริคุตต์วิทยาคุณ) ทิศเหนือติดที่นาชาวบ้านและชุมชน และทิศใต้ติดที่นาชาวบ้าน
โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ หน่วยงานราชการต่าง ๆ และชุมชนตลาดอำเภอสำโรงทาบประมาณ 2 กิโลเมตร โดยชุมชนให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นอย่างดี
ประวัติ
โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ ๒๖๑/๑ หมู่ที่ ๑๑ บ้านโดด ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรง ทาบ จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ ๖๓ ไร่ ๒ งาน ๖๒ ตารางวา พื้นที่ตั้งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึงเมื่อ ถึงฤดูฝน โรงเรียนอยู่ห่างจากตัวอำเภอ ๑.๕ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัด ๕๕ กิโลเมตร โรงเรียนสำโรง ทาบวิทยาคมใช้อักษรย่อว่า ส.ร.ค. เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต ๓๓ กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุมัติให้ตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๖ ทำการสอนในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นรับนักเรียนรุ่นแรกได้ ๖๘ คนต่อมาเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาชน (มพช.)
รุ่นที่ ๑
พ.ศ. ๒๕๑๖ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อาศัยยืมห้องเรียนโรงเรียน บ้านสำโรงทาบ (บริคุตต์วิทยาคุณ) ต่อมาเมื่ออาคารชั่วคราวสร้างเสร็จได้ย้ายมาเรียนประจำที่อาคารชั่วคราว
พ.ศ. ๒๕๒๒ โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๕ โครงการย่อยที่ ๖ ชื่อโครงการว่า "โครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท" ใช้อักษรย่อว่า มพช. พ.ศ. ๒๕๒๗ โรงเรียน เปิดทำการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ แผนการเรียนศิลป์ - ภาษา สายอาชีพหลักสูตรวิชาชีพ (วช.) แผนการเรียนเกษตรกรรม คหกรรมศาสตร์และ อุตสาหกรรม (แผนกช่างเชื่อม) พ.ศ. ๒๕๓๐ โรงเรียนได้ยกเลิกหลักสูตรวิชาชีพ (วช.) มุ่งจัดการเรียนการสอน สายสามัญ
พ.ศ. ๒๕๓๕ โรงเรียนได้รับการยกระดับให้เป็นโรงเรียนขนาดกลางมีผู้บริหารตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียน และได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรัฐจัดเงินงบประมาณ ประเภทเงินอุดหนุนทดแทนการชำระเงินบำรุงการศึกษาให้นักเรียนสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวนร้อยละ ๕๐
พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุมัติให้โรงเรียนเปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่น เพิ่มขึ้นอีก ๑ หลักสูตร จำนวน ๑ ห้อง
พ.ศ. ๒๕๓๙ โรงเรียนได้รับอนุมัติและรัฐจัดสรรเงินงบประมาณประเภทเงินอุดหนุนทดแทนเงิน บำรุงการศึกษาในสายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ๑๐๐ %
พ.ศ. ๒๕๔๖ เข้าโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
พ.ศ. ๒๕๔๘ โรงเรียนผ่านการประเมินโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันเป็น โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบการกระจายอำนาจทางการศึกษาสู่ สถานศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบวัดผลประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบหลักสูตรสถานศึกษา สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบการนิเทศ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ “เป็นสถานศึกษา แบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปี ๒๕๕๐” ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ และมูลนิธิสยามกัมมาจล
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการประทานโล่ตาม “โครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่ให้การ สนับสนุนกิจกรรมยุวกาชาด “ดีเด่น”
ปี ๒๕๕๐” จากพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวร ราชาทินัดดามาตุ องค์ประธานในพิธีสวนสนามและปฏิญาณตนของยุวกาชาดในงานวันคล้ายวันสถาปนายุว กาชาดไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ “สถานศึกษา แบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี พ.ศ. ๒๕๕๐” ของกระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และมูลนิธิสยามกัมมาจล
พ.ศ. ๒๕๕๔ โรงเรียนได้บริหารจัดการเรียนการสอนตามแนวพระราชดำริ โดยเฉพาะการ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระบบโรงเรียน/ มีผลงานเชิงประจักษ์ สำนักงานทรัพย์ส่วน พระมหากษัตริย์เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มอบพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์ครุยดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้แก่โรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๕๔ โรงเรียนได้ผ่านการประเมิน/เพื่อประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูเกียรติเป็น “ศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา” เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยสำนักงาน ปลัดระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และมูลนิธิ สยามกัมมาจล
พ.ศ. ๒๕๕๗ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับการประเมินและรับรองการเปิดหลักสูตร ห้องเรียนพิเศษ เน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (SME) จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๕๗ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคมได้รับเกียรติบัตร “โรงเรียนต้นแบบระบบประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา” ระดับสหวิทยาเขต ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ ตามโครงการส่งเสริมและ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๕๘ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติ “MOE AWARDS สาขา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จาก กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๕๙ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษา สุรินทร์ เปิดห้องเรียนหลักสูตรทวิศึกษา ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ในสาขาการบัญชี และการโรงแรม
พ.ศ. ๒๕๕๙ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคมได้รับโล่ “สถานศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ (Best practice) ด้านโรงเรียนจัดเน้นคุณภาพผู้เรียนจุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทยพัฒนาผู้เรียนสู่ ศตวรรษที่ ๒๑” จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๕๙ โรงเรียนได้รับมอบป้ายประกาศ “โรงเรียนรักษาศีล ๕” ในโครงการโรงเรียนรักษา ศีล ๕ ในสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
พ.ศ. ๒๕๕๙ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับทอง “โรงเรียนที่มีการ จัดการระบบดูแลช่วยเหลือดีเด่น” จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๕๙ โรงเรียนได้รับมอบเกียรติบัตร “ศูนย์การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับดีเด่น” จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๕๙ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับรางวัล “โรงเรียนที่มีเว็บไซต์สถานศึกษา ระดับ ดีเด่น” จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับรางวัล “สถานศึกษาที่มีผลงานยอดเยี่ยมเชิง ประจักษ์ ระดับประเทศ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑” จาก สมาคมครูอำเภอสำโรงทาบ
พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับรางวัล “โรงเรียนที่ส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนที่ มีความสมารถด้านภาษาไทย มีผลงานและประสบผลสำเร็จ กิจกรรมแต่งคำประพันธ์อินทรวิเชียรฉันท์ ระดับชั้น ม. ๔-๖ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ตามโครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทย แห่งชาติ ปี ๒๕๖๑ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา” จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับรางวัล “ได้รับรางวัล MOE AWARDS ปี การศึกษา ๒๕๕๙ ผลงานระดับดีเด่น ประเภทสถานศึกษา สาขาเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” จากกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับรางวัล “เกียรติบัตรให้การสนับสนุนการสมัคร เป็นสมาชิก 0BEC LINE เพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน” จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ได้รับรางวัล “IQA AWARDS ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ ระดับดีเด่น” จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เกียรติประวัติ
- พ.ศ. 2548: โรงเรียนต้นแบบหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
- พ.ศ. 2550:
- โรงเรียนนำร่องการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
- โรงเรียนต้นแบบหลักสูตรสถานศึกษา
- โรงเรียนต้นแบบการวัดผลการศึกษา
- โล่โรงเรียนสนับสนุนกิจกรรมยุวกาชาดดีเด่น จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
- โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
- พ.ศ. 2551: สถานศึกษาพอเพียง โดยมูลนิธิสยามกัมมาจล
- พ.ศ. 2553:
- พ.ศ. 2554: ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" 1 ใน 14 ศูนย์ทั่วประเทศ
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๖๔– ปัจจุบัน นายสรรค์นิธิ เผ่าพันธ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ นายเสงี่ยม วงค์พล ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๖๑ นายนิเวศน์ เนินทอง ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๕๖ – พ.ศ. ๒๕๖๑ ว่าที่ ร.ต. บัญญัติ สมชอบ ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๕๐ – พ.ศ. ๒๕๕๖ นายชูเดช อำพันทอง ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๔๔ – พ.ศ. ๒๕๕๐ นายแสน แหวนวงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๔๓ – พ.ศ. ๒๕๔๔ นายวีระ ประเสริฐยิ่ง ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๔๐ – พ.ศ. ๒๕๔๓ นายปราสาท ธนาสูรย์ ตำแหน่งผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๓๓ – พ.ศ. ๒๕๔๐ นายคูณ เอี่ยมสะอาด ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ
พ.ศ. ๒๕๓๑ – พ.ศ. ๒๕๓๓ นายพรหม ดาศรี ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. ๒๕๒๙ – พ.ศ. ๒๕๓๑ นายถวัลย์ มีมาก ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. ๒๕๑๖ – พ.ศ. ๒๕๒๙ นายสุริยัน ลามาตย์ ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ระเบียงภาพ
คลังภาพโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม
https://sites.google.com/srk.ac.th/album
ข่าวสารกิจกรรมโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม
https://sites.google.com/pracharath.ac.th/srk/activity
อ้างอิง
- โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม. (2552). อนุสรณ์โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม ปีการศึกษา 2551. สุรินทร์: โรงเรียนฯ.
แหล่งข้อมูลอื่น
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ |
---|
|
|