อำเภอศรีณรงค์ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Si Narong |
---|
คำขวัญ: ศรีณรงค์นามองค์เจ้าเมือง ถิ่นรุ่งเรืองไทยส่วย ลำห้วยสองสาย ยิ่งใหญ่บุญร่วมมิตร พืชเศรษฐกิจยางพารา |
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอศรีณรงค์ |
พิกัด: 14°46′1″N 103°52′29″E / 14.76694°N 103.87472°E / 14.76694; 103.87472 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | สุรินทร์ |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 410.0 ตร.กม. (158.3 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 46,501 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 113.41 คน/ตร.กม. (293.7 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 32150 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3215 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศรีณรงค์ หมู่ที่ 2 ตำบลศรีณรงค์ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ 32150 |
---|
|
ศรีณรงค์ เป็นอำเภอในจังหวัดสุรินทร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอศรีณรงค์ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติ
ท้องที่อำเภอศรีณรงค์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลแจนแวน อำเภอสังขะ ต่อมาเมื่อเห็นว่าพื้นที่ตำบลแจนแวนมีความกว้างขวาง จึงแบ่งหมู่บ้านตั้งขึ้นเป็น ตำบลตรวจ[1] พร้อมกับ 3 ตำบล คือ ตำบลด่าน ตำบลดม และตำบลสะเดา และในปี พ.ศ. 2512 ตำบลตรวจมีมากกว่า 20 หมู่บ้าน จึงแยก 10 หมู่บ้านออกมาตั้งเป็น ตำบลณรงค์[2] ในปี พ.ศ. 2521 หมู่ที่ 7 ของตำบลณรงค์ ได้ไปรวมกับอีก 7 หมู่บ้านในเขตตำบลสังขะ แยกเป็น ตำบลทับทัน[3]
หมู่ที่ 7 (ใหม่) บ้านศรีสุข ของตำบลณรงค์ ได้รวมพื้นที่กับ 8 หมู่บ้านในเขตตำบลเดียวกัน แยกเป็น ตำบลศรีสุข ในปี พ.ศ. 2528[4] และในปี พ.ศ. 2534 พื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) บ้านหนองแวง ของตำบลแจนแวน ได้รวมพื้นที่กับ 7 หมู่บ้านในเขตตำบลเดียวกัน แยกเป็น ตำบลหนองแวง[5] ต่อมาทางราชการสภาพพื้นที่ทางด้านเหนือของอำเภอสังขะห่างไกลคมนาคม เจ้าหน้าที่ของรัฐออกตรวจตราและเยี่ยมเยียนราษฎรไม่ทั่วถึง และมีพื้นที่ถึง 5 ตำบล 54 หมู่บ้าน[6] ประชากร 43,809 คน[7] ซึ่งตรงตามเงื่อนไขการจัดตั้งกิ่งอำเภอ
ทางราชการจึงแบ่งพื้นที่การปกครองตำบลแจนแวน ตำบลตรวจ ตำบลณรงค์ ตำบลศรีสุข และตำบลหนองแวง ออกจากอำเภอสังขะ ตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[8] โดยชื่อ "ศรีณรงค์" ซึ่ง ศรี มาจากชื่อของตำบลศรีสุข และคำว่า ณรงค์ มาจากชื่อของบ้านณรงค์ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของกิ่งอำเภอ เห็นได้ว่าชื่อกิ่งอำเภอนั้นมีความหมายทีเป็นศิริมงคลและพ้องกับชื่อของ เจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ซึ่งถือเป็นความภูมิใจของชาวกิ่งอำเภอศรีณรงค์เป็นอย่างยิ่ง
ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอศรีณรงค์ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[9] เป็นอำเภอลำดับที่ 15 ของจังหวัดสุรินทร์ พร้อมกับอีก 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมดงรัก อำเภอเขวาสินรินทร์ และอำเภอโนนนารายณ์
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอศรีณรงค์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
|
ณรงค์ |
|
|
|
(Narong) |
|
|
|
12 หมู่บ้าน |
|
2. |
|
แจนแวน |
|
|
|
(Chaenwaen) |
|
|
|
11 หมู่บ้าน |
|
3. |
|
ตรวจ |
|
|
|
(Truat) |
|
|
|
15 หมู่บ้าน |
|
4. |
|
หนองแวง |
|
|
|
(Nong Waeng) |
|
|
|
11 หมู่บ้าน |
|
5. |
|
ศรีสุข |
|
|
|
(Si Suk) |
|
|
|
12 หมู่บ้าน |
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอศรีณรงค์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีณรงค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีณรงค์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแจนแวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจนแวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรวจทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสุขทั้งตำบล
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
กีฬา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|