ในทางเศรษฐศาสตร์ โภคภัณฑ์ (อังกฤษ: commodity) เป็นสินค้าทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปแล้วคือทรัพยากรที่มีการใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์หรือเป็นสาระสำคัญ กล่าวคือ ตลาดถือว่าสินค้าดังกล่าวมีความเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงว่าใครเป็นผู้ผลิตสินค้าเหล่านั้น[1][2]
โภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นวัตถุดิบ ทรัพยากรพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหรือเหมืองแร่ เช่น แร่เหล็ก น้ำตาล หรือ ธัญพืช เช่น ข้าว และ ข้าวสาลี สินค้าโภคภัณฑ์ยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในปริมาณมากได้ เช่น สารเคมีและหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ สินค้าโภคภัณฑ์ยอดนิยม ได้แก่ น้ำมันดิบ ข้าวโพด และทองคำ
อ้างอิง