แอนิแมกซ์เอเชีย

แอนิแมกซ์ เอเชีย
Animax Asia
ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
พื้นที่แพร่ภาพ
เอเชียตะวันออก 2 ประเทศ
เอเชียใต้ 3 ประเทศ
เครือข่ายแอนิแมกซ์
สำนักงานใหญ่สิงคโปร์ สิงคโปร์
แบบรายการ
ระบบภาพ16:9 HDTV 1080i
16:9 SDTV 576i
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของโซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ19 มกราคม พ.ศ. 2547
ลิงก์
เว็บไซต์animax asia
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
สิงคโปร์StarHub TV ช่อง 532 (HD)
ฟิลิปินส์SkyCable ช่อง 46
ทีวีดาวเทียม
ไทยทรูวิชั่นส์ ช่อง 77 (HD)
ซีทีเอช ช่อง 603 (HD)
มาเลเซียAstro ช่อง 719 (HD)
NJOI ช่อง 719 (HD)
อินโดนีเซียMNC Vision ช่อง 157
Transvision ช่อง 123
Aora TV ช่อง 417
ฮ่องกงTVB Pay Vision ช่อง 24 (HD)

แอนิแมกซ์ เอเชีย (อังกฤษ: Animax Asia) เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศแอนิเมชั่นจากญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ โดยออกอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ รวมถึงการออกอากาศในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียด้วยอย่างเกาหลีใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน โดยแอนิแมกซ์เอเชียปฏบัติการและควบคุมการออกอากาศจาก Sony Pictures Television Networks, Asia (SPENA) ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นของ Sony Pictures Entertainment ทั้งหมด

แอนิแมกซ์เอเชียเปิดตัวครั้งแรกในฮ่องกง ไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากเดือนมกราคม 2547[1] และเปิดตัวในประเทศอื่นๆ ตามมา ปัจจุบันแอนิแมกซ์เอเชียออกอากาศกว่า 28 ล้านครัวเรือน[2] ในประเทศไทย สามารถรับชมช่องแอนิแมกซ์เอเชียได้ผ่านทางทรูวิชั่นส์ และได้ยุติการออกอากาศไปเมื่อ 1 มิถุนายน 2552 จึงได้ย้ายไปออกอากาศทางเคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ

และในวันที่ 13 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)[3] ได้เข้าเซ็นต์สัญญาขออนุญาตส่งสัญญาณออกอากาศช่องแอนิแมกซ์เอเชียอีกครั้งโดยออกอากาศผ่านทรูวิชั่นส์ ช่อง 77 ซึ่งก็ได้ทำการทดลองออกอากาศไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา และเริ่มออกอากาศจริงเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา โดย อสมท. ได้กล่าวว่า ช่อง Animax เป็นช่องรวมแอนิเมชัน และรายการต่างๆ ที่น่าจะเจาะกลุ่มวัยรุ่นไทยได้ดี อีกทั้งยังได้ในเรื่องของการฝึกภาษาของตนเอง ทางอสมท.จึงตัดสินใจเข้าเซ็นต์สัญญาเพื่อออกอากาศอีกครั้ง หลังจากที่ทรูวิชั่นส์ได้ยุติการออกอากาศไปเมื่อปี 2551 ซึ่ง อสมท. ก็ได้เปิดให้เข้าชมได้ทุกแพ็คเกจที่ทรูวิชั่นส์มี จนกระทั่งได้ยกเลิกการออกอากาศ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

ในปัจจุบันช่องแอนิแมกซ์เอเชียจึงยังเหลือแต่ ซีทีเอช ที่ยังนำมาฉายในช่อง 603 อยู่ แต่ต่อมาก็ยุติออกอากาศวันที่ 1 กันยายน 2559 เนื่องจากบริษัทปิดตัวลงเพราะสภาวะขาดทุน แต่สามารถดูได้ผ่าน TOT IPTV ที่ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทรูวิชั่นส์ได้นำเนื้อหาวีดิทัศน์ตามคำขอบางส่วนของแอนิแมกซ์มาลงบนทรูไอดี

ประวัติ

โลโก้ต้นฉบับของ Animax ใช้ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปี 2006
โลโก้แบบที่สองของ Animax ใช้ตั้งแต่ปี 2006 - 2010

ฮ่องกงและไต้หวัน

แอนิแมกซ์เอเชียเปิดตัวครั้งแรกในไต้หวันเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2004 และในฮ่องกงเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2004[2] โดยรายการแอนิเมชั่นที่ออกอากาศในภูมิภาคนั้นมีหลากหลาย ทั้งเก่าและใหม่ รวมถึงการออกอากาศแอนิเมชั่นรอบปฐมทัศน์ที่ออกอากาศก่อนสถานีอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเช่น เดธโน้ต, Blood+, Trinity Blood, Mushishi และอื่นๆ[4]

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หนึ่งอาทิตย์หลังจากการเปิดตัวในไต้หวันและฮ่องกง แอนิแมกซ์เปิดตัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2004 โดยมีการออกอากาศรายการแอนิเมชั่นในแบบภาษาญี่ปุ่น และมีบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งกลายเป็นสถานีแรกของบริษัทที่ออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษ[2] ภายหลังได้มีการเพิ่มการพากย์เสียงภาษาอังกฤษให้กับแอนิเมชั่น[2] ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2006 แอนิแมกซ์เปิดตัวในมาเลเซีย โดยออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษ และยังออกอากาศรายการในภาษาญี่ปุ่นพร้อมกับการบรรยายในภาษาท้องถิ่นอีกด้วย รายการที่ออกอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่นแรกๆ อย่างเช่น ดิจิทัล เลดี้, การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ, จีทีโอ คุณครูพันธุ์หายาก, Haibane Renmei, Doctor Dokkiri, Vision of Escaflowne, มือขวากับขาโจ๋, กัปตันซึบาสะ, Wolf's Rain, โมบิลสูท กันดั้ม, Cowboy Bebop, Ghost in the Shell: S.A.C.[4] และภายหลังออกอากาศอีกหลายเรื่อง รวมถึง มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์, Blood+, Honey and Clover, ท่านมาเรียมองเราอยู่นะ, Gankutsuou: The Count of Monte Cristo, Otogizōshi, Jigoku Shōjo, แกแล็คซี่แองเจล, Witch Hunter Robin, Samurai 7, กันสลิงเกอร์ เกิร์ล, ลามู ทรามวัยจากต่างดาว, และ รันม่า 1/2[4]

แอนิแมกซ์ยังมีการจัดช่วงรายการต่างๆ อย่างเช่น "Teen-Edge" ซึ่งออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์จาก 15:00 ถึง 16:30 และออกอากาศรายการอย่างเช่น Chibi Maruko-chan, Hime-sama Goyōjin และ สึบาสะ สงครามเทพข้ามมิติ, ช่วงรายการ Animania ซึ่งออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์จาก 17:00 ถึง 18:00 ออกอากาศรายการอย่างเช่น ดราก้อนบอล และ Law of Ueki, ช่วง "Mega Zone" ซึ่งออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ตั้งแต่ 18:00 เป็นต้นไป ออกอากาศรายการอย่างเช่น Gun X Sword, มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ และ Honey and Clover และช่วงรายการ "Weekends" ซึ่งออกอากาศวันอาทิตย์ตั้งแต่ 8:00pm จนถึง 9:00pm ออกอากาศรายการอย่างเช่น Dear Boys, Blood+ และ Please Teacher![4][5]

การแปลและทีมพากย์

แอนิแมกซ์ได้มีการแปลรายการหลายรายการและพากย์เสียงเป็นภาษาอังกฤษเพื่อออกอากาศผ่านสถานีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ในบางเรื่องที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์จากอเมริกาเหนือและไม่มีการพากย์เสียงภาษาอังกฤษใส่อย่างเช่น Detective School Q, Dokkiri Doctor, Twin Spica, Zettai Shōnen, Clamp School, Emma: A Victorian Romance และ Future Boy Conan

แอนิแมกซ์ยังมีการสร้างและออกอากาศแอนิเมชั่นในภาษาอังกฤษเอง ที่เห็นได้ชัดอย่างเช่นการ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ ซึ่งมีการพากย์โดยทางสถานีเอง และยังคงชื่อเดิม บทเรื่องเดิม และบทพูดเดิมไว้ โดยที่ฉบับอเมริกาเหนือมีการเปลื่ยนแปลง และนอกจากนั้นก็ยังมีการพากย์และบรรยายภาษาไทยในบางรายการอีกด้วย เช่น เค-อง!

รายการที่ออกอากาศ

รายการต่าง ๆ ที่ออกอากาศหลัง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เซ็นต์สัญญาขออนุญาตส่งสัญญาณออกอากาศช่อง Animax Asia

รายการการ์ตูน

รูปแบบการโฆษณาการ์ตูน ข้างบนเป็นแบบเก่า ส่วนข้างล่างเป็นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน

ภาพยนตร์การ์ตูน

รายการวาไรตี้

  • Pretty Boys and Girls (เสียงเกาหลี บรรยายอังกฤษ)
  • Comedy Boot Camp (เสียงเกาหลี บรรยายอังกฤษ)
  • Sony Style TV Magazine (Season 5) (เสียงอังกฤษ บรรยายไทย)

รายการเพลง

  • Live Power Music (บรรยายอังกฤษ)
  • ANIMAX MUSIX
  • ANIMAX MUSIX Spring 2010 (บรรยายอังกฤษ)
  • ANIMAX MUSIX Fall 2010 (เสียงญี่ปุ่น บรรยายอังกฤษ)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Sony Pictures Entertainment เปิดตัวแอนิแมกซ์เอเชีย, ข่าวสำหรับหนังสือพิมพ์, SPE, 29 ตุลาคม 2003, Anime News Network.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "About Animax - Animax Asia". Animax Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-20.
  3. http://newsletter.th.initiative.asia/?p=643 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รายละเอียดเกี่ยวกับช่อง Animax หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Animax-asia". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2007-10-20.
  5. "Animax Asia official site". สืบค้นเมื่อ 2007-10-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!