แม่พระและพระกุมาร (อังกฤษ : Madonna and Child ; อิตาลี : Madonna col Bambino ) เป็นรูปเคารพ ที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในศาสนาคริสต์ เป็นรูปของพระนางมารีย์พรหมจารี (ซึ่งชาวคาทอลิกเรียกว่าแม่พระ ) และพระกุมารเยซู (พระเยซู เมื่อทรงพระเยาว์)
“แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi)
ที่มาและประวัติ
มาดอนน่า ในภาษาอิตาลี สมัยกลาง หมายถึงสตรีผู้สูงศักดิ์หรือมีความสำคัญ และเป็นคำที่ใช้เรียกแทนรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารี คำว่า “Madonna” แปลว่าพระแม่เจ้าของข้าพระองค์ (My Lady) ซึ่งเป็นการเน้นความใกล้ชิดของผู้เคร่งครัดซึ่งเปรียบได้กับภาษาฝรั่งเศส ว่า “Madonna” ซึ่งแปลว่า “Our Lady” ชื่อที่ใช้นี้เป็นการแสดงถึงความนิยมของ “ลัทธิบูชา พระแม่มารีย์” และการแพร่หลายของภาพวาดของพระแม่ที่สร้างเพื่อสนองความต้องการของ “ลัทธิบูชาพระแม่มารีย์” ในยุคกลาง คำว่า “Madonna” กลายมาเป็นที่ยอมรับกันในหลายภาษาในทวีปยุโรป
หลังจากที่มีความขัดแย้งกันในความเหมาะสมของตำแหน่งของพระแม่มารีย์ในนามของ “พระมารดาพระเจ้า ” (กรีก : Theotokos ) ทางสภาสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง (First Council of Ephesus) ก็ยอมรับตำแหน่งของพระแม่มารีย์ว่าเป็นพระมารดาพระเจ้า รูปเคารพรูปแรกของพระแม่มารีย์และพระกุมารเยซูวาดเมื่อ ค.ศ. 431 เป็นภาพเขียนบนผนังทึ่เก็บศพแบบรังผึ้งพริสซิลลา (Catacomb of Priscilla) ซึ่งเป็นที่เก็บศพใต้ดินสำหรับชาวยิว และคริสต์ศาสนิกชนที่กรุงโรม ซึ่งเป็นรูปพระเยซูทรงดูดนมจากถันของพระแม่มารีย์ขณะเดียวกันก็ทรงมองมาทางผู้ดูรูป[ 1]
ต่อมาก็มีการสร้างรูปเคารพของพระแม่มารีย์และพระกุมารกันมากทางจักรวรรดิโรมันตะวันออก ถึงแม้ว่าจะได้รับความกดดันจากลัทธิทำลายรูปเคารพ ซึ่งไม่ยอมรับการสร้างหรือการบูชาสัญลักษณ์ทางวัตถุ และรูปที่สร้างก็ถือว่าเป็น “รูปเคารพ” (Idol) รูปที่สร้างในสมัยนี้ยังเป็นรูปลักษณะที่คล้ายคลึง และซ้ำๆ กัน
เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาอกาเปตุสที่ 1 เสด็จไปเยี่ยมกรุงเยรูซาเลม เมื่อปี ค.ศ. 536 ก็ถูกกล่าวหาว่าไม่ทรงเห็นด้วยกับการบูชารูป “แม่พระและพระกุมาร” และการแสดงรูปของพระแม่มารีย์ภายในวัด[ 2] ภาพเขียนที่นิยมกันทางตะวันออกจะเป็นภาพแสดงให้เห็นพระแม่มารีย์นั่งบัลลังก์และบางทีก็สวมมงกุฏไบเซนไทน์ประดับมุกโดยมีพระเยซูทรงนั่งบนพระเพลา[ 3]
รูป “แม่พระและพระกุมาร” ทางตะวันตกตอนต้นสมัยกลาง ก็ทำแบบศิลปะไบแซนไทน์ อย่างใกล้เคียง จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13เมื่อลัทธิบูชาพระแม่มารีย์เป็นเผยแพร่กันในทวีปยุโรป การสร้างรูป “แม่พระและพระกุมาร” ก็เริ่มมีแบบที่ต่างจากเดิมหลายแบบตามความต้องการของแต่ละลัทธิบูชา รูปสมัยแรกจะเป็นพระแม่มารีย์นั่งบัลลังก์และพระเยซูจะทรงแสดงกิริยาอย่างผู้ใหญ่เช่นยกพระหัตถ์ขึ้นเพื่อประทานพร ในสมัยกอทิก และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา องค์ประกอบของรูปจะเป็นพระแม่มารีย์นั่งมีพระเยซูบนตักหรือในอ้อมแขน ต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภาพเขียนแบบอิตาลีก็จะมีแม่พระและพระกุมารและนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา นั่งมอง
รูปปั้นปลายสมัยกอธิคของแม่พระและพระกุมารอาจจะเป็นรูปพระแม่มารีย์ยืนโดยมีพระเยซูอยู่ในอ้อมแขน รูปเคารพที่ใช้แสดงทั่วไปจะแตกต่างจากที่ใช้เป็นการส่วนตัว แบบหลังจะเล็กกว่าและออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับความเคร่งครัดของผู้บูชาภายในห้องสวดมนต์เล็ก ๆ เช่นภาพพระแม่มารีย์ทรงเลี้ยงพระเยซูด้วยนม (Madonna Litta) ซึ่งแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้เป็นการบูชาเป็นส่วนตัว
อ้างอิง
↑ Victor Lasareff, "Studies in the Iconography of the Virgin" The Art Bulletin 20 .1 (March 1938, pp. 26-65) p 27f. (“การศึกษารูปสัญลักษณ์ของพระแม่มารีย์” โดยวิกเตอร์ ลาซาเรฟ)
↑ m. Mundell, "Monophysite church decoration" Iconoclasm (Birmingham) 1977, p 72.
↑ As in the fresco fragments of the lower Basilica di San Clemente, Rome: see John L. Osborne, "Early Medieval Painting in San Clemente, Rome: The Madonna and Child in the Niche" Gesta 20 .2 (1981), pp. 299-310.
ข้อมูลเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพเขียนแม่พระและพระกุมาร
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รูปปั้นแม่พระและพระกุมาร
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระแม่มารีย์องค์ดำ
Metropolitan Museum: The cult of the Virgin Mary in the Middle Ages (ลัทธิบูชาพระแม่มารีย์ในสมัยกลาง)
สมุดภาพ
“แม่พระและพระกุมาร” คริสต์ศตวรรษที่ 12 ไม้แกะทาสี
“แม่พระและพระกุมาร” คริสต์ศตวรรษที่ 13
“แม่พระและพระกุมารบนบัลลังก์และทูตสวรรค์ 20 องค์
และนักบุญ 19 องค์”
คริสต์ศตวรรษที่ 14-ประมาณปี ค.ศ. 1318 โดย
ดุชโช ภาพเขียนสีฝุ่นและทองบนไม้
“แม่พระและพระกุมาร”
ภาพเขียนสีฝุ่นบนไม้
คริสต์ศตวรรษที่ 14
ประมาณปี ค.ศ. 1320
จอตโต ดี บอนโดเน
“แม่พระและพระกุมาร”
คริสต์ศตวรรษที่ 15
ประมาณปี ค.ศ. 1445
เพาโล อูเชลโล (Paolo Uccello)
จิตรกรรมฝาผนัง )
“แม่พระเลึ้ยงพระบุตร”
คริสต์ศตวรรษที่ 15
ประมาณปี ค.ศ. 1450
โดย
ฌอง โฟเคท์ (Jean Fouquet)
“พระแม่มารีย์เบนัวส์” (The Benois Madonna)
คริสต์ศตวรรษที่ 16
ประมาณปี ค.ศ. 1478
เลโอนาร์โด ดา วินชี
“แม่พระและพระกุมาร
และ
นักบุญอันนา ”
คริสต์ศตวรรษที่ 15-ประมาณปี ค.ศ. 1508
เลโอนาร์โด ดา วินชี
“แม่พระและพระกุมารและ
ยอห์นแบปติสต์”
คริสต์ศตวรรษที่ 16
ประมาณปี ค.ศ. 1504
ราฟาเอล ภาพเขียนสีน้ำมัน
“พระแม่มารีเลึ้ยงพระกุมาร” คริสต์ศตวรรษที่ 16 อันเดรีย โซลาริโอ ภาพเขียนสีน้ำมัน
“แม่พระและพระกุมาร” รูปปั้นแกะจากไม้ทาสี ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12
“แม่พระและพระกุมาร”
และประวัติชีวิตของพระแม่มารี
รูปปั้นแกะจากไม้
แบบ
บานพับภาพ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14
“แม่พระและพระกุมาร” รูปปั้นที่สำนักสงฆ์เบลาบิวเร็น คริสต์ศตวรรษที่ 15 ประมาณปี ค.ศ. 1440-1445
“แม่พระและพระกุมาร” รูปปั้นแกะจากไม้ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16
“แม่พระและพระกุมาร” รูปหล่อเงิน คริสต์ศตวรรษที่ 15-ค.ศ. 1407