แบบจำลองจำแนก (discriminative model) หรือ แบบจำลองมีเงื่อนไข (conditional model) เป็นแบบจำลองโลจิสติกประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับ การจำแนกประเภทข้อมูล และ การวิเคราะห์การถดถอย แบบจำลองเหล่านี้กำหนดขอบเขตการตัดสินตามข้อมูลที่สังเกตได้ เช่น "ผ่าน/ไม่ผ่าน" "ชนะ/แพ้" "มีชีวิต/ตาย" "สุขภาพดี/เจ็บป่วย" ฯลฯ
ตัวอย่างของแบบจำลองจำแนกทั่วไป ได้แก่ การถดถอยโลจิสติก, สนามสุ่มมีเงื่อนไข และ ต้นไม้ตัดสินใจ เป็นต้น
ในทางกลับกัน ตัวอย่างทั่วไปของแบบจำลองก่อกำเนิด ได้แก่ ตัวจำแนกเบส์อย่างง่าย, ตัวเข้ารหัสอัตโนมัติแบบแปรผัน และ โครงข่ายปฏิปักษ์ก่อกำเนิด เป็นต้น
นิยาม
แบบจำลองจำแนกนั้นจะทำการวิจัยโดยเน้นไปที่การแจกแจงความน่าจะเป็นมีเงื่อนไข ของฉลากจำแนกประเภท ที่ได้จากตัวแปรที่สังเกตการณ์ได้ (ตัวอย่างที่ใช้ฝึกสอน) สำหรับตัวแปรเป้าหมาย ที่ไม่ได้สังเกตการณ์
นี่เป็นข้อที่แตกต่างไปจากแบบจำลองก่อกำเนิดซึ่งเน้นไปที่การศึกษาการแจกแจงความน่าจะเป็นร่วม
ตัวอย่างเช่น ในการรู้จำวัตถุนั้น โดยทั่วไป จะแสดงถึงพิกเซลดิบของรูปภาพหรือเวกเตอร์ของสมบัติที่สกัดเอาจากพิกเซลดิบของรูปภาพ การสร้างแบบจำลองของการแจกแจงความน่าจะเป็นมีเงื่อนไขภายในกรอบตามทฤษฎีความน่าจะเป็น จะช่วยให้สามารถทำนาย จาก ได้
เปรียบเทียบแบบจำลองจำแนกและแบบจำลองก่อกำเนิด
สมมุติว่าตัวอย่างสำหรับฝึกเป็นข้อมูลที่มีป้ายกำกับจำแนกประเภท ตัว และตัวแปรค่าลักษณะ ตัว
ในแบบจำลองก่อกำเนิดจะใช้ความน่าจะเป็นร่วม ของค่าป้อนเข้า และฉลาก และใช้ ทฤษฎีบทของเบส์ ในการทำนายฉลาก ที่รู้แล้วที่เป็นไปได้ที่สุดสำหรับค่าป้อนเข้า ที่ไม่รู้จัก[1]
ในทางกลับกัน แบบจำลองจำแนกไม่สามารถสร้างตัวอย่างจากการแจกแจงร่วมของตัวแปรที่สังเกตได้และตัวแปรเป้าหมาย แต่จะทำงานได้ดีกว่าแบบจำลองกำเนิดสำหรับงานต่าง ๆ เช่น การจำแนกประเภทข้อมูล และ การวิเคราะห์การถดถอย ซึ่งไม่ต้องการการแจกแจงร่วม โดยเหตุผลหนึ่งก็คือ มีตัวแปรสำหรับคำนวณน้อยกว่า[2][3][1] โดยทั่วไปแล้ว แบบจำลองก่อกำเนิดจะมีความยืดหยุ่นต่อปัญหาหารเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองจำแนกส่วนใหญ่มักใช้การเรียนรู้แบบมีผู้สอน และไม่รับรองการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน
การเลือกระหว่างแบบจำลองจำแนก และแบบจำลองก่อกำเนิดนั้น ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของการใช้งานเฉพาะนั้น ๆ แบบจำลองจำแนกและแบบจำลองก่อกำเนิดมีความแตกต่างกันตรงที่วิธีการหาความน่าจะเป็นภายหลัง[4] ในแบบจำลองจำแนกทำนายความน่าจะเป็นภายหลัง จากแบบจำลองอิงตัวแปรเสริม และได้ค่าพารามิเตอร์จากข้อมูลการฝึกสอน การประมาณค่าพารามิเตอร์ได้มาจากการหาค่าภาวะน่าจะเป็นสูงสุดหรือการคำนวณการแจกแจงสำหรับพารามิเตอร์ ในทางกลับกัน แบบจำลองก่อกำเนิดมุ่งเน้นไปที่ความน่าจะเป็นร่วม และคำนวณความน่าจะเป็นภายหลัง โดยทฤษฎีบทของเบส์ ดังนั้น ความน่าจะเป็นภายหลังคือ
- [4]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Ng, Andrew Y.; Jordan, Michael I. (2001). On Discriminative vs. Generative classifiers: A comparison of logistic regression and naive Bayes.
- ↑ Singla, Parag; Domingos, Pedro (2005). "Discriminative Training of Markov Logic Networks". Proceedings of the 20th National Conference on Artificial Intelligence - Volume 2. AAAI'05. Pittsburgh, Pennsylvania: AAAI Press: 868–873. ISBN 978-1577352365.
- ↑ J. Lafferty, A. McCallum, and F. Pereira. Conditional Random Fields: Probabilistic Models for Segmenting and Labeling Sequence Data. In ICML, 2001.
- ↑ 4.0 4.1 Ulusoy, Ilkay (May 2016). "Comparison of Generative and Discriminative Techniques for Object Detection and Classification" (PDF). Microsoft. สืบค้นเมื่อ October 30, 2018.