เหยี่ยวดำ

เหยี่ยวดำ
M. m. affinis, ประเทศออสเตรเลีย
เสียงร้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: เหยี่ยว
Accipitriformes
วงศ์: เหยี่ยวและนกอินทรี
Accipitridae
สกุล: Milvus

(Boddaert, 1783)
สปีชีส์: Milvus migrans
ชื่อทวินาม
Milvus migrans
(Boddaert, 1783)
ชนิดย่อย

5, ดูข้อความ

ขอบเขตของเหยี่ยวดำ
  พื้นที่สืบพันธุ์
  อาศัย
  ไม่ใช่พื้นที่สืบพันธุ์
  ทางผ่าน
ชื่อพ้อง
  • Falco migrans Boddaert, 1783
  • Milvus affinis
  • Milvus ater
  • Milvus melanotis
เหยี่ยวดำในสวนสัตว์ฮานอย

เหยี่ยวดำ (อังกฤษ: Black kite, Pariah kite; ชื่อวิทยาศาสตร์: Milvus migrans) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางในวงศ์ Accipitridae กล่าวกันว่าเป็นชนิดที่พบได้แพร่หลายที่สุดในโลก แม้ว่าประชากรบางพื้นที่ลดลงอย่างมากหรือขึ้น ๆ ลง ๆ[2] ประชากรในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านตัว[1]

จัดเป็นนกขนาดกลาง ขนาดลำตัวประมาณ 60-66 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกันคือ ลำตัวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองทั้งด้านบนและด้านล่าง ปีกสีน้ำตาลเข้ม หางเป็นแฉกตื้น ๆ มองดูคล้ายง่าม ปากสั้นสีดำแหลมคม ปลายปากเป็นขอ หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกยาว ส่วนนกที่ยังไม่โตเต็มที่ ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน พร้อมกับมีขีดสีเหลืองอ่อนทั่วทั้งตัว

พบกระจายพันธุ์อยู่กว้างขวางในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ยูเรเชีย, ออสตราเลเชีย และโอเชียเนีย จึงทำให้มีชนิดย่อยหลากหลายถึง 5 ชนิด (ดูในตาราง) และเป็นนกอพยพในหลายพื้นที่ในช่วงฤดูหนาว ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือ, ภาคกลางและภาคใต้

มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวัน ชอบบินอยู่ตามที่โล่งชายป่า ตามริมฝั่งทะเล หรือตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อจับเหยื่อได้ก็มักกินบนพื้นดิน หรืออาจนำไปกินบนต้นไม้ พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่หรือเป็นฝูง

เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ เหยี่ยวดำจะทำรังรวมกันเป็นกลุ่มบนต้นไม้สูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันสร้างรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ นำมาขัดสานกัน จากนั้นทั้งคู่จะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อน นกจะใช้เวลากกไข่นานประมาณ 29-32 วัน ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ปกติ 3 ฟอง

ไข่ของเหยี่ยวดำ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[3] [4] ในการสำรวจในปี พ.ศ. 2559 ในประเทศไทยไม่พบเลย จึงทำให้ไม่ทราบว่าสูญพันธุ์ไปแล้วหรือไม่จากประเทศไทย[5]

อนุกรมวิธาน

ชนิดย่อย

ปัจจุบันมีเหยี่ยวดำชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ 5 ชนิด[6]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 BirdLife International (2020). "Milvus migrans". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T181568721A181571544. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T181568721A181571544.en. สืบค้นเมื่อ 13 November 2021.
  2. Ferguson-Lees, J.; Christie, D. (2001). Raptors of the World. London: Christopher Helm. ISBN 978-0-7136-8026-3.
  3. "เหยี่ยวดำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-03-02.
  4. เหยี่ยวดำ
  5. หน้า 15, รุกป่าชายเลน ทำนกหายากใกล้สูญพันธุ์. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21643: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
  6. Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (July 2023). "Hoatzin, New World vultures, Secretarybird, raptors". IOC World Bird List Version 13.2. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 3 September 2023.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!