ประวัติ
ประเทศไทย
ชนิด เรือตรวจการณ์ปืนแบบเอ็ม 58
ชื่อ เรือหลวงแหลมสิงห์
ตั้งชื่อตาม อำเภอแหลมสิงห์
อู่เรือ
เดินเรือแรก 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558
เข้าประจำการ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 (8 ปี)
รหัสระบุ
คำขวัญ ไพรีพินาศ Let them sink by us
สถานะ อยู่ในประจำการ
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
520 ตัน ความยาว:
58 เมตร (190 ฟุต) ความกว้าง:
9.3 เมตร (31 ฟุต) กินน้ำลึก:
2.9 เมตร (9.5 ฟุต) ความลึก:
5.1 เมตร (17 ฟุต) ระบบพลังงาน:
3 × เครื่องจักรใหญ่ CAT 3516 C ขนาด 2,525 kW 3 × เครื่องกำเนิดไฟฟ้า MAN D2876 LE301/Leroy Somer LSAM 47.2 M7 กำลังไฟ 375 kVA (300kW) 50Hz 3Ph ระบบขับเคลื่อน:
1 × ใบจักรกลางแบบปรับพิทช์ได้ (CPP) 2 × ใบจักรข้างแบบพิทช์คงที่ (FPP) ความเร็ว:
23 นอต (43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด พิสัยเชื้อเพลิง:
2,500 ไมล์ทะเล (4,600 กิโลเมตร; 2,900 ไมล์) จำนวนเรือและอากาศยาน:
2 × เรือยางท้องแข็ง (RIB) อัตราเต็มที่:
53 นาย ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
1 × เรดาร์แบบ S BAND 30kW 1 × เรดาร์แบบ X BAND 25kW 1 × ระบบ ECDIS 1 × เข็มทิศ Ring Laser Gyro 1 × ระบบ GPS 1 × วิทยุสื่อสาร HF/SSB 1 × วิทยุสื่อสาร HF/SSB แบบ Frequency Hopping 1 × วิทยุสื่อสาร UHF AM/FM 1 × วิทยุสื่อสาร VHF/UHF ยุทโธปกรณ์:
1 × ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร OTO Melara (Refurbished) 1 × ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร MIS 2 × ปืนกลขนาด .50 นิ้ว
เรือหลวงแหลมสิงห์ (PGB-561) (อังกฤษ : HTMS Laemsing ) เป็นเรือลำแรกและลำเดียวในเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์ [ 2] เป็นเรือที่ออกแบบและต่อขึ้นในประเทศไทย[ 3] และเป็นเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี[ 4] สังกัดกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ
เรือหลวงแหลมสิงห์ มีคำขวัญว่า ไพรีพินาศ [ 5] ตั้งขึ้นตามป้อมไพรีพินาศ ที่ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
ประวัติ
โครงการเรือหลวงแหลมสิงห์ เป็นโครงการเรือตรวจการณ์ปืนลำแรกและลำเดียวของประเทศไทยที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นโดยคนไทย ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการพึ่งพาตนเอง รวมถึงเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกรมอู่ทหารเรือในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน หลังจากก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.991 โดยออกแบบเรือตรวจการณ์ปืนชุดนี้ให้มีความสามารถในการปฏิบัติการได้ครบ 2 มิติ คือสงครามผิวน้ำ และสงครามต่อต้านอากาศยาน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมจัดชั้นเรือ (Classification Society) ที่เป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classification Societies) ซึ่งเป็นมาตรฐานของกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Navy Criteria) หรือองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO)[ 3]
โครงการเรือหลวงแหลมสิงห์มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ตามยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือปี พ.ศ. 2551 - 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการเรือรุ่นเก่า เป็นเรือที่ออกแบบโดยบริษัทของไทยเอง คือบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) และขายให้กับกองทัพเรือไทยในรูปแบบของ Package Deal วงเงิน 699,459,000 บาท ซึ่งกองทัพเรือได้มอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้ดำเนินการต่อเรือ[ 6]
ปืนใหญ่ในป้อมไพรีพินาศ ที่มาของคำขวัญเรือหลวงแหลมสิงห์
สำหรับชื่อของเรือหลวงแหลมสิงห์ ได้ตั้งขึ้นตามระเบียบของกองทัพเรือ ที่มีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อเรือรบตามประเภทของเรือ ซึ่งเรือตรวจการณ์ปืนระเบียบกำหนดให้ตั้งตามชื่ออำเภอที่ตั้งอยู่ชายทะเล ซึ่งเรือได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "เรือหลวงแหลมสิงห์" ตามอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี [ 6]
เรือหลวงแหลมสิงห์ ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558 โดยมี พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธี และมี นางณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ ภริยาของผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือตามประเพณีโบราณ ณ อู่แห้งหมายเลข 1 กรมอู่ทหารเรือ[ 7]
เรือหลวงแหลมสิงห์ ได้ทำพิธีรับมอบและเข้าประจำการณ์เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 โดยมี พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธี ณ ท่าเรือแหลมเทียน จังหวัดชลบุรี[ 6]
การออกแบบ
เรือหลวงแหลมสิงห์ เป็นเรือตรวจการณ์ปืนแบบเอ็ม 58 (M58 Patrol Gun Boat) ของมาร์ซัน[ 8] มีความยาวตลอดลำเรือ 58 เมตร มีความกว้างกลางลำ 9.3 เมตร ความลึกกลางลำเรือ 5.1 เมตร กินน้ำลึกเต็มที่ 2.9 เมตร มีระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน มีความเร็วที่ระวางขับน้ำสูงสุด 23 นอต[ 9] ระยะในการปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 1,500[ 5] - 2,500[ 9] ไมล์ทะเล ตัวเรือทำจาก สตีล/อะลูมิเนียม มีความจุถังเชื้อเพลิง 86,600 ลิตร ความจุถังน้ำจืด 59,800 ลิตร[ 8] ความคงทนทะเลถึงระดับ 4 (Sea State 4) มีสถานที่จัดเก็บสเบียงอาหาร และน้ำจืดเพียงพอสำหรับการปฏิบัติการในทะเลอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วันโดยไม่ต้องส่งกำลังบำรุง และมีห้องพักอาศัยเพียงพอต่อกำลังพลประจำเรือตามอัตราที่กำหนดไว้คือ 53 นาย[ 9]
ระบบขับเคลื่อน ใช้เครื่องจักรใหญ่ CAT 3516 C ขนาด 2,525 kW จำนวน 3 เครื่อง ใบจักรกลางแบบปรับพิทช์ได้ (CPP) 1 เพลา และใบจักรข้างแบบพิทช์คงที่ (FPP) 2 เพลา เครื่องกำเนิดไฟฟ้า MAN D2876 LE301/Leroy Somer LSAM 47.2 M7 กำลังไฟ 375 kVA (300kW) 50Hz 3Ph จำนวน 3 เครื่อง[ 8]
ระบบสื่อสาร ประกอบไปด้วย เรดาร์แบบ S BAND กำลัง 30kW เรดาร์แบบ X BAND กำลัง 25kW ระบบสารสนเทศเพื่อการเดินเรือ ECDIS เข็มทิศไยโรแบบ Ring Laser Gyro ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) วิทยุสื่อสารย่าน HF/SSB, HF/SSB แบบ Frequency Hopping, UHF AM/FM และ VHF/UHF[ 8]
ระบบอาวุธในเรือประกอบไปด้วย ปืนขนาด 76/62 มิลลิเมตร OTO Melara (Refurbished) จำนวน 1 กระบอก ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร MIS จำนวน 1 กระบอก ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก[ 9]
เรือหลวงแหลมสิงห์ ผลงานการออกแบบของบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ด้านสังคม ในรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2561 เนื่องจากเรือมีภารกิจในการคุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ปกป้องผลประโยชน์ของชาติในชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนในเหตุการณ์ต่าง ๆ และการประสบภัย จึงถือว่าสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมเป็นอย่างยิ่ง[ 10]
การต่อเรือ
เรือหลวงแหลมสิงห์ ต่อขึ้นโดยกรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการต่อเรือ โดยใช้พื้นที่ของอู่ทหารเรือธนบุรีเป็นสถานที่ในการต่อเรือโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ[ 9] ได้แก่
ระยะแรก เป็นการต่อส่วนของตัวเรือและวางระบบเครื่องจักร ในพื้นที่อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 13 เดือน โดยเมื่อต่อเสร็จแล้วได้ปล่อยเรือลงน้ำ และนำเรือไปประกอบส่วนของหอบังคับการและสายอากาศสื่อสาร (superstructure) รวมไปถึงระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ[ 9]
ระยะที่สอง ใช้ระยะเวลาประมาณ 10 เดือน ในการประกอบส่วนที่เหลือของเรือข้างต้นคือหอบังคับการ สายอากาศสื่อสาร และระบบอาวุธ โดยใช้บุคลากรของกองทัพเรือดำเนินการติดตั้งและทดสอบระบบเองทั้งหมด[ 9] ใช้ระยะเวลาถึงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559[ 7]
ภารกิจ
เรือหลวงแหลมสิงห์ เป็นเรือตรวจการณ์ปืนขอกองทัพเรือไทย มีภารกิจในการลาดตระเวนและตรวจการณ์บริเวณน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ป้องกันการเข้าแทรกซึมทางทะเล ปฏิบัติการปกป้องคุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ในน่านน้ำไทย คุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเลโดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่งกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ และมีการร้องขอความช่วยเหลือ[ 11] [ 9]
ขีดความสามารถ
เรือหลวงแหลมสิงห์ รองรับขีดความสามารถในการปฏิบัติการต่อต้านเรือผิวน้ำด้วยการซ่อนพราง การใช้งานอาวุธหลักและอาวุธรองของเรือ การชี้เป้าให้กับเรือผิวน้ำและอากาศยานทางทะเล การโจมตีสนับสนุนที่หมายบนฝั่งด้วยปืนหลักและปืนรองของเรือ การรักษาฝั่ง สกัดกั้น ตรวจค้นด้วยระบบการตรวจการณ์ และการใช้งานเรือยางท้องแข็งไฟเบอร์กลาสความเร็วสูง (RIB) การป้องกันภัยทางอากาศในรูปแบบของการป้องกันตนเองด้วยระบบตรวจการณ์ทางอากาศและระบบควบคุมการยิง
นอกจากนี้ยังมีขีดความสามารถในการค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัยทางทะเลตามแนวชายฝั่ง[ 11] และสนับสนุนการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายทางทะเลและท่าเรือ รวมถึงสนับสนุนการปฏิบัติการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย[ 6]
อ้างอิง
↑ Ship RTN 561 (Cargo) Registered in Thailand - Vessel details, Current position and Voyage information - MMSI 567001910, Call Sign HSNV | AIS Marine Traffic
↑ "MARSUN PUBLIC COMPANY LIMITED" . 2021-07-06.
↑ 3.0 3.1 "เรือหลวงแหลมสิงห์ | Innovation Thailand" . www.innovationthailand.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-11-26. สืบค้นเมื่อ 2023-11-26 .
↑ "ผบ.ทร.รับมอบเรือหลวงแหลมสิงห์ จัดสร้างด้วยงบประมาณเกือบ 700 ล้านบาท" . Thai PBS .
↑ 5.0 5.1 "Royal Thai Navy - Detail History" . www.fleet.navy.mi.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-11-26. สืบค้นเมื่อ 2023-11-26 .
↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "สมราคา! ทร.เสริมเขี้ยวเล็บ เรือแหลมสิงห์ เข้าประจำการ กองเรือตรวจอ่าว" . www.thairath.co.th . 2016-09-21.
↑ 7.0 7.1 "รู้จัก! 'รล.แหลมสิงห์' เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของ ทร.ไทย" . www.thairath.co.th . 2015-08-25.
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "MARSUN PUBLIC COMPANY LIMITED" . 2021-07-07.
↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 Kaewdang, Darunrat (2020-12-04). "เรือหลวงแหลมสิงห์" . TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
↑ "MARSUN PUBLIC COMPANY LIMITED" . 2021-07-06.
↑ 11.0 11.1 "กองทัพเรือ ส่งเรือรบ "แหลมสิงห์" เข้าช่วยลูกเรือสินค้าประสบอุบัติเหตุหนักกลางทะเล" . สยามรัฐ . 2022-03-26.