เมตรต่อวินาทีกำลังสอง เป็นหน่วยของความเร่งของหน่วยเอสไอ ซึ่งประกอบจากหน่วยฐานของความยาว (เมตร) และเวลา (วินาที) สัญลักษณ์เขียนได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น m/s2, m·s−2 หรือจะให้เขียนอีกรูปก็คือ เมตรต่อวินาทีกำลังสอง
ตามหลักการของความเร่งแล้ว หน่วยนี้จะเปลี่ยนไปตามความเร็วหรือช่วงเวลา จึงทำให้หน่วยดังกล่าวเป็นปริมาณเวกเตอร์
ตัวอย่าง
วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัว ซึ่งมีค่าเป็น 1 เมตร/วินาที2 (1 m/s2) จากจุดหยุดนิ่ง เมื่อผ่านไป 5 วินาทีจะเคลื่อนที่ได้ความเร็ว 5 เมตร/วินาที และ 10 เมตร/วินาที เมื่อผ่านไป 10 วินาที การหาค่าความเร่งเฉลี่ยจะทำได้โดยการนำความเร็ว (เมตร/วินาที) ส่วนด้วยเวลา (วินาที) ดังนั้น จากตัวอย่างข้างต้น จะได้ว่า :
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตันกล่าวไว้ว่า "แรงทั้งหมดจะเท่ากับมวลคูณความเร่ง" เมื่อหน่วยของแรงเป็นนิวตัน (N) และมวลมีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg) หรือจะได้ว่า "หนึ่งนิวตันจะเท่ากับหนึ่งกิโลกรัมคูณด้วยเมตรต่อวินาทีกำลังสอง" ดังนั้น หน่วยเมตร/วินาที2 จะได้หน่วย นิวตัน/กิโลกรัม (N·kg−1 หรือ N/kg)[1]
ดังนั้น สนามแรงโน้มถ่วงโลกจะมีค่าความเร่งเป็น 9.8 เมตร/วินาที2 หรือ 9.8 N/kg
ความเร่งจะวัดเป็นอัตราส่วนต่อแรงโน้มถ่วงได้ เช่นเดียวกับแรง g และความเร่งพื้นดินสูงสุดเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
การแปลงหน่วย
การแปลงหน่วยของความเร่ง
ค่าฐาน
|
(กาลิเลโอ, หรือเซนติเมตรต่อวินาที2)
|
(ฟุตต่อวินาที2)
|
(เมตร/วินาที2)
|
(แรงโน้มถ่วง (เมื่อตกแบบเสรี), g0)
|
1 กาลิเลโอ, หรือเซนติเมตรต่อวินาที2
|
1
|
0.0328084
|
0.01
|
0.00101972
|
1 ฟุต/วินาที2
|
30.4800
|
1
|
0.304800
|
0.0310810
|
1 เมตร/วินาที2
|
100
|
3.28084
|
1
|
0.101972
|
1 g0
|
980.665
|
32.1740
|
9.80665
|
1
|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Kirk, Tim: Physics for the IB Diploma; Standard and Higher Level, Page 61, Oxford University Press, 2003