เทศบาลตำบลวังไผ่ |
---|
|
อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลวังไผ่ |
ตรา |
คำขวัญ: บ้านเมืองสวยงามสะอาดตา ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชื่อเสียงด้วยหลักธรรมาภิบาล ได้มาตรฐานบริการสาธารณะ |
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลวังไผ่ แสดงแผนที่จังหวัดชุมพรทต.วังไผ่ (ประเทศไทย) แสดงแผนที่ประเทศไทย |
พิกัด: 10°30′42.08″N 99°07′11.9″E / 10.5116889°N 99.119972°E / 10.5116889; 99.119972 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ชุมพร |
---|
อำเภอ | เมืองชุมพร |
---|
จัดตั้ง |
- • 25 พฤษภาคม 2531 (สุขาภิบาลวังไผ่)
- • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.วังไผ่)
|
---|
การปกครอง |
---|
• นายกเทศมนตรี | มาโนช ธัญญาบัตร |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 10.85 ตร.กม. (4.19 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2561) |
---|
• ทั้งหมด | 6,866 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 632.81 คน/ตร.กม. (1,639.0 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัส อปท. | 05860105 |
---|
ทางหลวง | |
---|
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 199/9 หมู่ 9 ตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86190 |
---|
โทรศัพท์ | 0 7753 4153 |
---|
โทรสาร | 0 7753 4153 ต่อ 9 |
---|
เว็บไซต์ | www.wangpaicity.go.th |
---|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เทศบาลตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เดิม คือ สุขาภิบาลตำบลวังไผ่ ซึ่งได้จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตาม พ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล เป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีพื้นที่ 10.85 ตารางกิโลเมตร
ประวัติ
ในระยะเริ่มแรกที่เปลี่ยนแปลงฐานะ เทศบาลตำบลวังไผ่ยังคงใช้ สำนักงานสุขาภิบาลหลังเดิมเป็นที่ทำการ แต่เนื่องจากการที่เทศบาลต้องมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนเพิ่มขึ้น จากผลของกฎหมายต่างๆ ที่ภาครัฐต้องกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงทำให้เทศบาลมีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับภาระหน้าที่ และการขยายตัวด้านความเจริญของเมือง ส่งผลให้สำนักงานหลังเดิมซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียว มีความแออัดคับแคบ ไม่สามารถรองรับภารกิจและหน้าที่ในการให้บริการประชาชนได้อย่างเพียงพอ และผู้ที่มาติดต่อขอรับบริการต่างๆ ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลดังกล่าว เทศบาลตำบลวังไผ่จึงได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานหลังใหม่ ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
เทศบาลตำบลวังไผ่ ได้กำหนดดวงตราและเครื่องหมายเทศบาลโดยถืปฏิบัติตาม หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. 23567/2498 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2498 กล่าวคือ ได้กำหนดเครื่องหมายเป็นรูปวงกลมโดยมีรูปกอไผ่อยู่ในสองข้างบริเวณบึงน้ำ เนื่องจากมีความเป็นมาว่าเป็นบริเวณคลองชุมพร ในเขตตำบลวังไผ่ เป็นบึงกว้างมีต้นไม้ขึ้นอยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกว่า " วังไผ่ "
ตราเทศบาล
เทศบาลตำบลวังไผ่ ได้กำหนดดวงตราและเครื่องหมายเทศบาลโดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. 23567/2498 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 กล่าวคือ ได้กำหนดเครื่องหมายเป็นรูปวงกลมโดยมีรูปกอไผ่อยู่ในสองข้างบริเวณบึงน้ำ เนื่องจากมีความเป็นมาว่าเป็นบริเวณคลองชุมพร ในเขตตำบลวังไผ่ เป็นบึงกว้างมีต้นไม้ขึ้นอยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกว่า “วังไผ่”
สภาทางสังคม
เทศบาลตำบลวังไผ่ ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 465 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง ประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 10 กิโลเมตร
เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลวังไผ่ รวมเอาเขตชุมชนในท้องที่ตำบลวังไผ่ จำนวน 10 หมู่บ้าน คือ
พื้นที่เต็มทั้งหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 4, หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 13 ตำบลวังไผ่ และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 2, หมู่ที่ 8, หมู่ที่ 9, หมู่ที่ 11, หมู่ที่ 12 ตำบลวังไผ่
พื้นที่มีทั้งหมดจำนวน 10.85 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ
- ตั้งหลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่ในแนวเขตตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลาวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตอนประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 1,000 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากศูนย์กลาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลย 4 ตอนประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร บรรจบกันถนนวัดดอนเมือง ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตอนประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 500 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตอนประจวบคีรีขันธ์- ชุมพร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านทางหลวงหมายเลข 4 ตอนประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวง หมายเลข 4 ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ตามแนวเส้นตั้งฉากไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทาง 1,000 เมตร
ทิศตะวันออก
- จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นทางขนานกับศูนย์กลาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตอน ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพรและทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 327 แยกทางหลวง หมายเลข 4 จังหวัดชุมพร ระยะทาง 1,000 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงหมายเลข 327 แยกทางหลวงหมายเลข 4 - จังหวัดชุมพร ไปทางทิศเหนือระยะทาง 1,000 เมตร ตรงจุดที่เริ่มทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 -จังหวัดชุมพร ฟากใต้บรรจบกับริมถนน ไปวัดพระขวาง ฟากตะวันตก
- จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นทางตรงไปทางทิศใต้ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 327 แยกทางหลวงหมายเลข 4 - จังหวัดชุมพร ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลางแผ่นดินหมายเลข 327 แยกทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 4 จังหวัดชุมพร ฟากใต้ ตรงจุดที่ริมทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 327 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4-จังหวัดชุมพร ฟากใต้บรรจบกับริมถนนไปวัดพระขวาง ทางฟากตะวันตก
- จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นทางเลียบริมถนนไปวัดพระขวาง ฟากตะวันตก และฟากเหนือไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 5ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปวัดพระขวาง ฟากตะวันตก ตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำชุมพร ฝั่งตะวันออก
ทิศใต้
- จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบแม่น้ำชุมพร ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ตอนชุมพร-หลังสวน ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไป วัดเขาปูน ฟากตะวันออก ตรงคอสะพานข้ามแม่น้ำชุมพร - ฝั่งเหนือ
ทิศตะวันตก
- จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นทางเลียบริมถนนไปทางวัดเขาปูน ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ตอนชุมพร-ระนอง ถึงหลักที่ 7 ซึ่ง ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 4 ตอนชุมพร - ระนองฝากเหนือ
- จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นทางเลียบเส้นแนวเขตค่ายเขตอุดมศักดิ์ และเส้นทางตรงไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านถนนไปบ้านวังใหม่ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านวังใหม่ฝากเหนือ
- จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนไปบ้านถ้ำกองบรรจบกับหลักเขตที่ 1 (ตามแผนที่แนบท้ายส่วนที่ 2)
ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศ (ปี 2556–2558)
- อุณหภูมิเฉลี่ย
- อุณหภูมิสูงสุด 33.72 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด 24.25 องศาเซลเซียส
- ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย (ปี 2557)
- ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย เดือน มี.ค - มิ.ย 127.19 มม.
- ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย เดือน ก.ค. - ต.ค. 138.36 มม.
- ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย เดือน พ.ย. - ก.พ 353.60 มม.
- ปริมาณน้ำฝนระหว่างปี 2497 – 2556 (60 ปี)
- ปริมาณน้ำฝนสูงสุด พ.ศ. 2504 = 2,765 มม.
- ปริมาณน้ำฝนต่าสุด พ.ศ. 2500 = 1,340.8 มม.
- ค่าเฉลี่ยครบ 60 ปี = 1,950.60 มม.
- ทิศทางลมในแต่ละฤดู สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงประมาณกลางเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม หลังจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลง
- ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือน พฤษภาคม ถึงกลางเดือน ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกคลุม กับมีช่วงกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ เป็นระยะต่อจากนั้นจนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาปกคลุม
- ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือน ตุลาคม ถึงกลางเดือน กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย