เทศบาลตำบลขุนกระทิง

เทศบาลตำบลขุนกระทิง
วัดถ้ำเขาขุนกระทิง เป็นที่ราบเนินเขา มีถ้ำอยู่ด้านบน ใกล้กับชุมชนริมทางหลวงสายเพชรเกษมประกอบไปด้วย ชุมชนบ้านขุนกระทิง ชุมชนบ้านในห้วย ด้านหน้าบริเวณวัดด้านตรงข้ามมีตลาดนัดชาวบ้านจำหน่ายสินค้า มีแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาขุนกระทิง ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำขุนกระทิง
วัดถ้ำเขาขุนกระทิง เป็นที่ราบเนินเขา มีถ้ำอยู่ด้านบน ใกล้กับชุมชนริมทางหลวงสายเพชรเกษมประกอบไปด้วย ชุมชนบ้านขุนกระทิง ชุมชนบ้านในห้วย ด้านหน้าบริเวณวัดด้านตรงข้ามมีตลาดนัดชาวบ้านจำหน่ายสินค้า มีแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาขุนกระทิง ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำขุนกระทิง
ทต.ขุนกระทิงตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร
ทต.ขุนกระทิง
ทต.ขุนกระทิง
พิกัด: 10°27′29.5″N 99°07′44.4″E / 10.458194°N 99.129000°E / 10.458194; 99.129000
ประเทศ ไทย
จังหวัดชุมพร
อำเภอเมืองชุมพร
จัดตั้ง • 24 สิงหาคม 2516 (สภาตำบลขุนกระทิง)
 • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.ขุนกระทิง)
 • 11 กุมภาพันธ์ 2554 (ทต.ขุนกระทิง)
พื้นที่
 • ทั้งหมด19.93 ตร.กม. (7.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เดือนมีนาคม 2566)[1]
 • ทั้งหมด4,207 คน
 • ความหนาแน่น211.08 คน/ตร.กม. (546.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06860116
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 99 หมู่ที่ 8 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86190
เว็บไซต์www.khunkrating.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ขุนกระทิง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1–5, 7–8 และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 6 ของตำบลขุนกระทิง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองชุมพร)[2][3] ในอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เดิมได้รับการจัดตั้งเป็นสภาตำบลขุนกระทิงในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516[4] ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขุนกระทิงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[5]

เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลขุนกระทิง จังหวัดชุมพร มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลขุนกระทิงได้ยกฐานะเป็น "เทศบาลตำบลขุนกระทิง"[6] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และมีผลในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และเป็นเทศบาลตำบลลำดับ 5 ในท้องที่อำเภอเมืองชุมพร ในปี พ.ศ. 2565 เทศบาลตำบลขุนกระทิงมีประชากรทั้งหมด 4,189 คน

พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณทิศใต้ของอำเภอเมืองชุมพร พื้นที่อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพร 12.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชุมพรประมาณ 16.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 477 กิโลเมตรตามทางรถยนต์ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 19.93 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็น 12,456.25 ไร่ มีลักษณะเป็นชุมชนปริมณฑลของเทศบาลเมืองชุมพร คือ เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาและศูนย์ราชการสำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตชุมพร, มหาวิทยาลัยรามคำแหงวิทยาเขตชุมพร, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีวิทยาเขตชุมพร, ศูนย์ไปรษณีย์ชุมพร, สำนักงานที่ดินจังหวัดชุมพร, สำนักงานทางหลวงชนบทชุมพร, การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดชุมพร, โครงการก่อสร้างสำนักชลประทานที่ 14, สถานีขนส่งผู้โดยสารปฐมพร จังหวัดชุมพร, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชุมพร รวมไปถึงกองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 (ค่ายอาภากรเกียรติวงศ์)

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลขุนกระทิง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ก): 811–814. วันที่ 29 พฤศจิกกายน พ.ศ. 2479
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (31 ก): 4–6. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขุนกระทิง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เป็นเทศบาลตำบลขุนกระทิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 17 ง): 19. วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!