ฮิเดโยะ โนงูจิ และมารดา
ฮิเดโยะ โนงูจิ (ญี่ปุ่น : 野口英世 ; โรมาจิ : Noguchi Hideyo ; 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471) นักวิทยาแบคทีเรีย ชาวญี่ปุ่น ผู้สามารถเพาะเชื้อก่อโรคซิฟิลิส ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ในปี 2454 และสาขาวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี 2457 และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกธนบัตรแบบหนึ่งพันเยน ชุดใหม่โดยมีรูปเหมือนของเขาอยู่ที่ด้านหน้าธนบัตรในปี 2547
ฮิเดโยะ โนงูจิบนธนบัตรหนึ่งพันเยนซึ่งออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2547
ชีวิตวัยเยาว์
โนงูจิเกิดมาในครอบครัวชาวนาฐานะยากจนที่เมืองอินาวาชิโระ จังหวัดฟูกูชิมะ เดิมเคยใช้ชื่อตามที่บิดามารดาตั้งให้ว่า เซซากุ โนงูจิ (ญี่ปุ่น : 野口清作 ; โรมาจิ : Noguchi Seisaku ) ตอนอายุประมาณ 1 ขวบครึ่ง เขาได้พลัดตกลงไปในเตาหลุม ทำให้มือซ้ายถูกไฟลวกอย่างรุนแรงจนไม่สามารถใช้การได้ เมื่อเข้าเรียนชั้นประถมในโรงเรียนประถมมิตสึวะ โนงูจิจึงต้องอดทนกับการถูกเพื่อนๆ กลั่นแกล้งและล้อเลียนเรื่องมือซ้ายทุกวัน แต่เขาก็ตั้งใจเล่าเรียนจนสามารถสอบได้คะแนนสูงสุดของชั้น และได้เข้าเรียนต่อในชั้นประถมปลายอินาวาชิโระด้วยความช่วยเหลือจากคุณครูซากาเอะ โคบายาชิ (ญี่ปุ่น : 小林 栄 ; โรมาจิ : Kobayashi Sakae ) ในปี 2432
จากนั้นในปี 2434 คุณครูโคบายาชิและเพื่อนร่วมชั้นของโนงูจิก็ช่วยกันเรี่ยไรเงินเป็นค่าผ่าตัดรักษามือซ้ายให้กับโนงูจิ โดยผู้ที่ทำการผ่าตัดให้เขาคือคานาเอะ วาตานาเบะ (ญี่ปุ่น : 渡部 鼎 ; โรมาจิ : Watanabe Kanae ) นายแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการผ่าตัดในครั้งนี้ ทำให้โนงูจิรู้สึกชื่นชมในอาชีพแพทย์ และตัดสินใจว่าในอนาคตจะประกอบอาชีพเป็นแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้คนยากไร้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย
การทำงาน
เมื่อเรียนจบชั้นประถมปลายในปี 2436 โนงูจิก็เดินทางไปที่เมืองไอซูวากามัตสึ และขอร้องให้คานาเอะ วาตานาเบะรับเขาไว้ทำงานที่โรงพยาบาลไกโย โดยระหว่างที่ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล โนงูจิได้ศึกษาวิชาแพทย์ อีกทั้งยังหัดเรียนภาษาเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศสด้วยตัวเองควบคู่ไปด้วย
ทว่าในปี 2439 เนื่องจากไม่มีเงินทุนเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย โนงูจิจึงเดินทางเข้าโตเกียว มาหาโมริโนซูเกะ ชิวากิ (ญี่ปุ่น : 血脇守之助 ; โรมาจิ : Chiwaki Morinosuke ) ทันตแพทย์จากโรงเรียนทันตแพทย์ทากายามะ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยทันตแพทย์โตเกียว ) ที่เคยได้พบกันที่โรงพยาบาลไกโย ชิวากิช่วยให้โนงูจิได้เข้าศึกษาวิชาแพทย์ที่โรงเรียนกวดวิชาไซเซ เพื่อเข้ารับการทดสอบความรู้ทางด้านแพทยศาสตร์ภาคแรก ซึ่งโนงูจิสามารถสอบผ่านโดยทำคะแนนได้เป็นอันดับที่ 1 และต่อมาในปีเดียวกัน โนงูจิก็ผ่านการทดสอบในภาคหลัง เขาจึงได้เป็นแพทย์อย่างเต็มตัวในขณะที่มีอายุเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น
ปี 2440 โนงูจิทำงานเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่โรงเรียนทันตแพทย์ทากายามะ ต่อมาก็เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยที่โรงพยาบาลจุนเท็นโด แต่ทำได้ไม่นานก็ได้ไปทำงานที่สถาบันวิจัยโรคระบาดของชิบาซาบูโร คิตาซาโตะ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยนักวิจัยชั้นหัวกะทิจากมหาวิทยาลัยโตเกียวเตโกกุ (มหาวิทยาลัยโตเกียวในปัจจุบัน) ทำให้โนงูจิผู้ไม่ได้เรียนจบจากมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการยอมรับและถูกปฏิบัติอย่างเย็นชาจากเพื่อนร่วมสถาบัน แต่ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นั่น เขาก็ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นล่าม ให้กับไซมอน เฟลกซ์เนอร์ ศาสตราจารย์ทางด้านพยาธิวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ซึ่งเดินทางมาดูงานที่ญี่ปุ่น เฟลกซ์เนอร์รู้สึกถูกใจในตัวโนงูจิ และได้ชักชวนให้เขาไปที่สหรัฐอเมริกาหากมีโอกาส
เปลี่ยนชื่อ ไปอเมริกา
ปี 2441 โนงูจิได้ทราบข่าวว่าภรรยาของซากาเอะ โคบายาชิ คุณครูผู้มีพระคุณได้ล้มป่วย เขาจึงรีบกลับไปยังบ้านเกิด ซึ่งในระหว่างรอดูอาการนั้น โนงูจิมีโอกาสได้อ่านนิยายเรื่อง “จิตใจนักเรียนในยุคปัจจุบัน” (当世書生気質) ที่ประพันธ์โดย โชโย สึโบอูจิ และได้พบว่า เซซากุ โนโนงูจิ (ญี่ปุ่น : 野々口精作 ; โรมาจิ : Nonoguchi Seisaku ) ตัวเอกในนิยายเรื่องนี้มีชื่อที่คล้ายคลึงกับเขามาก ทว่ากลับเป็นคนชอบเที่ยวเตร่และไม่เอาการเอางาน โนงูจิรู้สึกทนไม่ได้ที่ชื่อของเขาไปคล้ายกับตัวละครตัวนี้ ซากาเอะ โคบายาชิ ครูผู้มีพระคุณในสมัยเด็กจึงได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเขาว่า ฮิเดโยะ ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า ผู้เก่งกล้าของโลก
หลังจากนั้นไม่นาน โนงูจิก็ถูกส่งไปทำงานที่ด่านกักกันโรค เมืองท่าโยโกฮามะ และได้ตรวจพบตรวจเชื้อกาฬโรค ในเลือดของผู้ป่วย ทำให้ชื่อเสียงของโนงูจิเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คน และจากผลงานในครั้งนี้ โนงูจิจึงได้ถูกรับเลือกให้เป็น 1 ในคณะแพทย์จากนานาประเทศ เดินทางไปยังประเทศจีน เพื่อยับยั้งกาฬโรคที่กำลังระบาดอย่างหนัก เมื่อกลับมาญี่ปุ่นในปี 2443 โนงูจิก็ตัดสินใจที่จะเดินทางไปสหรัฐอเมริกา
ที่นั่น โนกุจิได้รับมอบหมายจาก ดร.เฟลกซ์เนอร์ ให้ศึกษาวิจัยเรื่องพิษงู และเขาก็สามารถวิจัยพิษงูออกมาเป็นผลสำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี หลังจากนั้นชื่อของโนกุจิก็เป็นที่ยอมรับไปทั่วสหรัฐอเมริกาและในระดับโลก โนกุจิยังคงศึกษาวิชาการแพทย์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะด้านระบาดวิทยา โดยในปี 2454 เขาประสบความสำเร็จในการเพาะเชื้อ Spirochete ของโรคซิฟิลิศได้เป็นคนแรกของโลก
ปี 2461 โนกุจิเดินทางไปยังเอกวาดอร์ และพบกับเชื้อโรคไข้เหลือง (Yellow Fever) จึงได้ศึกษาวิจัยและพัฒนายารักษาโรคนี้จนสำเร็จ แต่แล้วในปี 2470 โรคไข้เหลืองก็ระบาดไปทั่วทั้งทวีปแอฟริกาอีกครั้งและรุนแรงกว่าเดิม ยารักษาโรคก็ใช้ไม่ได้ผล ทำให้โนกุจิต้องเดินทางไปทวีปแอฟริกาเพื่อวิจัยให้แน่ชัดว่าเพราะเหตุใด แม้ว่าก่อนเดินทางจะมีคนคัดค้านเพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยก็ตาม หลังจากเดินทางมาที่ทวีปแอฟริกา โนกุจิก็พบว่าโรคไข้เหลืองที่กำลังระบาดนั้นเป็นเชื้อโรคคนละตัวกับครั้งก่อน เขาจึงเริ่มลงมือค้นคว้าวิจัยอย่างหนักจนกระทั่งตัวเองได้รับเชื้อไข้เหลืองไปด้วย และเสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วยโรคดังกล่าว ในปี 2471 ที่เมืองอักกรา (Accra) ประเทศกานา
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
คุณหมอนักสู้ โนกุจิ ฮิเดโยะ, มาซาโอะ บาบะ (ผู้แต่ง) , พรอนงค์ นิยมค้า (ผู้แปล) , สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. เยาวชน, 2542
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาอังกฤษ
D'Amelio, Dan. Taller Than Bandai Mountain: The Story of Hideyo Noguchi. [ลิงก์เสีย ] New York: Viking Press . 10-ISBN 9-997-50238-8 ; 13-ISBN 978-9-997-50238-4 (cloth) [OCLC 440466]
Flexner, James Thomas. (1996). Maverick's Progress. New York: Fordham University Press . 10-ISBN 0-823-21661-6 ; 13-ISBN 978-0-823-21661-1 (cloth)
Flexner, Simon. (1929). "Hideyo Noguchi: A Bographical Sketch," in Science, Vol. 69, p. 653.
Kita, Atsushi. (2005). Dr. Noguchi's Journey: A Life of Medical Search and Discovery (tr., Peter Durfee). Tokyo: Kodansha . 10-ISBN 4-770-02355-3 ; 13-ISBN 978-4-770-02355-1 (cloth)
Noguerea, J J (October 2007). "[Hideyo Noguchi and trachoma (Inawashiro, Japan, 1876--Accra, Ghana, 1928]". Archivos de la Sociedad Española de Oftalmología . Spain . 82 (10): 661–2. ISSN 0365-6691 . PMID 17929213 .
Liu, Pinghui V (September 2004). "Noguchi's contributions to science". Science . United States . 305 (5690): 1565. doi :10.1126/science.305.5690.1565a . PMID 15361606 .
Takeda, Yoshifumi (November 2003). "[Great Japanese bacteriologists in the Meiji, Taisho and Showa era]". Nippon Saikingaku Zasshi . Japan . 58 (4): 645–55. ISSN 0021-4930 . PMID 14699855 .
Takazoe, Ichiro (October 2002). "[Achievement by Hideyo Noguchi]". Nippon Naika Gakkai Zasshi . Japan . 91 (10): 2887–90. ISSN 0021-5384 . PMID 12451642 .
Haniu, J. "Dr. Noguchi's laboratory". Scalpel & tongs : American journal of medical philately . UNITED STATES . 44 : 97. ISSN 0048-9255 . PMID 11624705 .
Koide, S S (May 2000). "Hideyo Noguchi's last stand: the Yellow Fever Commission in Accra, Africa (1927-8)". Journal of Medical Biography . ENGLAND . 8 (2): 97–101. ISSN 0967-7720 . PMID 11042776 .
Misawa, M (1991). "[Dr. Hideyo Noguchi and Hajime Hoshi] (Jpn)". Yakushigaku zasshi. The Journal of Japanese history of pharmacy . JAPAN . 26 (2): 113–20. ISSN 0285-2314 . PMID 11623303 .
Misawa, M (1991). "[Dr. Hideyo Noguchi and Hajime Hoshi]". Yakushigaku zasshi. The Journal of Japanese history of pharmacy . JAPAN . 26 (2): 113–20. ISSN 0285-2314 . PMID 11623302 .
Lederer, S E (March 1985). "Hideyo Noguchi's luetin experiment and the antivivisectionists". Isis; an international review devoted to the history of science and its cultural influences . UNITED STATES . 76 (281): 31–48. doi :10.1086/353736 . ISSN 0021-1753 . PMID 3888912 .
Bendiner, E (February 1984). "Noguchi: many triumphs and a brilliant failure". Hosp. Pract. (Off. Ed.) . UNITED STATES . 19 (2): 222–3, 227, 231 passim. ISSN 8750-2836 . PMID 6421835 .
Masaki, T (1978). "[Hideyo Noguchi and oral spirochaete]". Shikai tenbo = Dental outlook . AUSTRALIA . 51 (6): 1265. ISSN 0011-8702 . PMID 394992 .
Dolman, C E. "Hideyo Noguchi (1876-1928): his final effort". Clio medica (Amsterdam, Netherlands) . ENGLAND . 12 (2–3): 131–45. ISSN 0045-7183 . PMID 72623 .
"[Hideyo Noguchi--pioneer bacteriologist]". Orvosi hetilap . HUNGARY . 118 (4): 213–5. January 1977. ISSN 0030-6002 . PMID 319394 .
CLARK, P F. "Hideyo Noguchi, 1876-1928". Bulletin of the history of medicine . Not Available . 33 (1): 1–20. ISSN 0007-5140 . PMID 13629181 .
Sri Kantha S. Hideyo Noguchi's research on yellow fever (1918-1928) in the pre-electron microscopic era. Kitasato Archives of Experimental Medicine , April 1989; 62(1): 1-9.
แหล่งข้อมูลอื่น