อี ซุน-ชิน

อี ซุน-ชิน
28 เมษายน พ.ศ. 208716 ธันวาคม พ.ศ. 2141

อี ซุน-ชิน
เกิดที่ ฮัมซอง (ปัจจุบัน คือ โซล)
อนิจกรรมที่ ช่องแคบโนรยัง
เหล่าทัพ กองทัพเรือเกาหลี
Yi Sun-sin

ฮุนมินจ็องอึม
ฮันจา
อาร์อาร์I Sunsin or Ri Sunsin
เอ็มอาร์Yi Sunsin or Ri Sunsin
ชื่อสุภาพ
ฮุนมินจ็องอึม
ฮันจา
อาร์อาร์Yeohae
เอ็มอาร์Yŏhae
ชื่อมรณกรรม
ฮุนมินจ็องอึม
ฮันจา
อาร์อาร์Chungmu
เอ็มอาร์Ch'ungmu

อี ซุน-ชิน (เกาหลี이순신; ฮันจา李舜臣; เอ็มอาร์I Sun-sin; 28 เมษายน พ.ศ. 208716 ธันวาคม พ.ศ. 2141) คือแม่ทัพเรือของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชซ็อน ที่มีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเรือเกาหลีเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ในยุคราชวงศ์โชซ็อน เขาเข้าร่วมรบในฐานะผู้บัญชาการที่ 1 แห่งจังหวัดทหารเรือคย็องซัง, ช็อลลา และชุงช็อง ราชทินนามของเขาคือ "Samdo Sugun Tongjesa" (ฮันกึล : 삼도수군통제사, ฮันจา : 三道水軍統制使) ซึ่งแปลว่า ผู้บัญชาการ 3 จังหวัดทหารเรือ ซึ่งเป็นราชทินนามสำหรับผู้ที่ครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยรบทางทะเลของราชวงศ์โซซอน มาจนถึง พ.ศ. 2439 อี ซุน-ชินมีชื่อเสียงด้วยการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่ฝ่ายตนมีจำนวนน้อยกว่ามากได้ และการประดิษฐ์เรือรบเต่า (คอบุกซ็อน, 거북선) ซึ่งเป็นเรือรบหุ้มเกราะโลหะลำแรกของโลกอีกด้วย เขาได้รับการยกย่องในฐานะแม่ทัพเรือไร้พ่าย และอาจหาญด้วยวีรกรรมการที่ตนนั้นถูกกระสุนปืนไฟยิงแต่มีคำสั่งให้ลูกน้องมัดตนไว้กับเสากระโดงเรือจนกว่าจะตายและให้แม่ทัพรองสวมเกราะของตนเพื่อขวัญกำลังใจของทหารเรือเกาหลีซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้ [1]

เขาถึงแก่อสัญกรรมในยุทธนาวีที่โนรยัง (อ่านว่า โน-รยัง) จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนไฟหนึ่งนัด ในวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 ราชสำนักโชซ็อนยกย่อง เขาด้วยการพระราชทานราชทินนาม และยศให้หลายตำแหน่ง รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติอย่าง "ชุงมูกง" (Chungmugong,충무공, 忠武公, ขุนศึกผู้จงรัก) , "ซ็อนมูอิลดึงกงชิน" (Seonmu Ildeung Gongsin, 선무일등공신, 宣武一等功臣, นายทหารผู้ควรได้รับการยกย่องชั้น1แห่งราชวงศ์โซซอน) และตำแหน่งอีก 2 คือ "ย็องอึยจ็อง" (Yeongijeong, 영의정, 領議政, Prime Minister) , และ "ท็อกพุงบูว็อนกุน" (Deokpung Buwongun, 덕풍부원군, 德豊府院君, เจ้าชายแห่งราชสำนักจากท็อกพุง) และได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงว่า "จอมพลเรือแห่งจักรวรรดิหมิง"

ช่วงต้นของชีวิต

อี ซุน-ชินเกิดที่กรุงฮันยัง (ปัจจุบันคือโซล) ตระกูลของเขาคือตระกูลอีแห่งท็อกซู พ.ศ. 2095 อี ช็อง พ่อของเขาถูกจับและลงโทษ จากข้อหาประกอบพิธีศพให้อาชญากรที่ตายไปแล้ว ครองครัวของเขาจึงย้ายไปที่อาซาน จังหวัดกองซางโต พระเจ้าซอนโจพระราชทานอภัยโทษให้ในปี พ.ศ. 2110

หนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญในช่วงนี้คือการที่เข้าได้เป็นเพื่อนกับ ยู ซองรยง (유성룡) นักวิชาการผู้มีชื่อ ที่ได้เป็นมหาเสนาบดีของเกาหลีในช่วงการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ซึ่งในช่วงสงครามนี้ การสนับสนุนของยู ซองลยอง มีความสำคัญมากๆต่อชัยชนะของอี ซุน-ชิน

ในวัยเด็ก เขาเล่นเกมสงครามกับเพื่อนๆ ซึ่งในการละเล่นนี้ เขาได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะด้านความเป็นผู้นำทางทหาร (เช่นเดียวกับนโปเลียน) และเขายังประดิษฐ์ธนูและลูกศรเองตั้งแต่ยังเป็นวัยเด็ก

พ.ศ. 2119 อี ซุน-ชินเขาสอบคัดเลือกนายทหารประจำปี (무과; 武科) เขาได้แสดงความสามารถเชิงดาบและธนู ให้เป็นที่ประทับใจแก่คณะกรรมการตัดสิน แต่ตกในการสอบขี่ม้าเพราะตกม้าขาหัก หลังจากเข้าสอบใหม่และผ่าน เขาถูกส่งไปรบในตำบลทหารกองทัพภาคเหนือ ในจังหวัดฮัมยอง (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งของเกาหลีเหนือ) เขาเป็นนายทหารใหม่ที่อายุเยอะที่สุด (32 ปี) เขาได้รับหน้าที่เข้ารบต่อสู้กับพวกหนู่เจิน (ต่อมาคือพวกแมนจู) ที่เข้ามาปล้นสะดมตามแนวชายแดน อี ซุน-ชินได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วจากความเป็นผู้นำและเป็นผู้มีกลยุทธ์

พ.ศ. 2126 เขาวางแผนลวงพวกหนู่เจินให้ออกมารบ จนสามารถเอาชนะและจับหัวหน้าพวกหนู่เจิน มูไปไน ได้อย่างไรก็ตาม อี ซุน-ชินต้องพักราชการไปไว้ทุกข์ให้บิดาที่จากไปตามประเพณีอยู่ 3 ปี ก่อนจะกลับเข้ามารับราชการอีก

ความสามารถและความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมของเขานั้น กลับเป็นการสร้างความอิจฉาริษยาให้แก่ผู้อื่นยิ่ง กล่าวหาว่าเขาหนีทัพระหว่างการรบ การใส่ร้ายนี้ นำโดยนายพล ลีอี ผู้ซึ่งต่อมาแพ้ให้กับกองทัพญี่ปุ่นในการรบที่ซางจู การใส่ร้ายป้ายสีเพื่อขัดแข้งขัดขาผู้อื่น กลายเป็นเรื่องปกติมากๆในกองทัพและรัฐบาลเกาหลีในปีถัดๆมา ในที่สุด อี ซุน-ชินก็ถูกจับจองจำและทรมาน หลังถูกปล่อย เขาถูกลดขั้นเป็นเพียงพลทหาร แต่เขาก็ไต่เต้าขึ้นมาใหม่ได้อีกอย่างรวดเร็ว จนได้เป็นผู้บัญชาการศูนย์ฝึกทหาร และถูกย้ายไปเป็นผู้พิภาคษาศาลทหารในจังหวัดเล็กๆแห่งหนึ่ง

ความพยายามของอี ซุน-ชินในภาคเหนือ ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว ในช่วงเดือนท้ายๆของปี พ.ศ. 2133 เขาได้รับการปรับเลื่อนตำแหน่งถึง 4 ครั้ง และในท้ายที่สุด เขาได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการฝ่ายซ้ายแห่งจังหวัดทหารเรือจอนลา (전라좌도; 全羅左道) ในช่วงนี้เอง รัฐบาลโซซอนกำลังอยู่ในภาวะสับสน เนื่องจากความไม่แน่ชัดว่าญี่ปุ่น ภายใต้การนำของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ จะรุกรานเกาหลีหรือไม่ (ซึ่งผลคือ ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลีจริงจริงในอีก 2 ปีให้หลัง) และ การเรืองอำนาจของนู่เอ๋อร์ฮาชื่อ ผู้นำหนุ่มแห่งหนู่เจิน (เขาคือผู้วางรากฐานให้อาณาจักรแมนจู ต่อมา ลูกหลานของเขา ก็สามารถบุกยึดประเทศจีน สถาปนาราชวงศ์ชิงได้) ด้วยเหตุนี้ จึงมีการโยกย้ายนายทหารผู้เปี่ยมประสบการณ์ ขึ้นไปประจำการยังจุดยุทธศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ อี ซุน-ชินจึงถูกส่งไปประจำการที่ยอซู ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2133 และที่นี่เอง เขารับผิดชอบสร้างมณฑลทหารเรือขึ้นมา ซึ่งต่อมากลายเป็นกุญแจสำคัญในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในสงคราม 7 ปีหรือศึกอิมจิน (ชื่อที่ชาวเกาหลีเรียก การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)) เขาสร้างความแข็งแกร่งให้กองทัพเรือเกาหลีผ่านการปรับปรุงหลายครั้ง รวมไปถึงการสร้างเรือเต่า โคบุ๊คซอน ที่ถือได้ว่าเป็นเรือรบหุ้มเกราะเหล็กลำแรกของโลก

การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)

วีรกรรมของอี ซุน-ชิน ได้รับการจดจำอย่างมาก จากการเข้าร่วมรบหลายต่อหลายครั้งในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) นี้เอง ในปี พ.ศ. 2135 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิออกคำสั่งเคลื่อนพลเข้าตีเกาหลี หมายจะกวาดพื้นที่ทั้งคาบสมุทรเกาหลี เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการหน้าในการเข้ายึดประเทศจีนต่อไป หลังการโจมตีเมืองปูซาน อี ซุน-ชินก็เริ่มปฏิบัติการโต้ตอบทางทะเล จากยอซู หน่วยบัญชาการของเขา เขามีชัยเหนือญี่ปุ่นใน ยุทธนาวีที่โอ๊กโป,ยุทธนาวีที่ซาชาน และอีกหลายศึก ชัยชนะอย่างต่อเนื่องของเขา ทำให้แม่ทัพทั้งหลายของญี่ปุ่นกังวลถึงภัยจากทางทะเล อี ซุน-ชินเข้ารบในยุทธนาวีใหญ่ๆ อย่างน้อย 23 ครั้ง และได้ชัยชนะทุกครั้ง

ฮิเดโยชิตระหนักถึงความจำเป็นยิ่งยวด ถึงการครอบครองทะเลในระหว่างสงคราม จากล้มเหลวในการจ้างเรือแกลเลียนจากโปรตุเกส ฮิเดโยชินจึงหันไปเพิ่มขนาดกองเรือของเขาเป็น 1,700ลำ โดยคิดว่าเกาหลีจะสู้ในระยะประชิด และญี่ปุ่นจะเอาชนะได้โดยง่ายเป็นแน่ เพราะในเวลานั้นระดับความสามารถของกองทัพเกาหลีและญี่ปุ่นแตกต่างกันมาก

มีเหตุผลอยู่หลายประการว่าทำไมอี ซุน-ชินถึงชนะได้หลายต่อหลายครั้ง หนึ่งคือ อี ซุน-ชินได้เตรียมตัวรับมือกับสงคราม ที่เขามองว่าเลี่ยงไม่ได้ โดยการตรวจความพร้อมของกำลังพล, ยุทโธปกรณ์และเกียกกาย (กองเสบียง) ให้มีความพร้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางแผนและสร้างเรือเต่า ที่ถือว่าเป็นกุญแจหลักต่อชัยชนะในครั้งนี้ สอง เกาหลีมีความเชี่ยวชาญในด้านภูมิศาสตร์ประเทศของตัวเองเป็นอย่างดี และอี ซุน-ชินก็มักจะล่อญี่ปุ่น ให้เข้ามารบในที่ๆและวันเวลาญี่ปุ่นเสียเปรียบเสมอๆ โดยสถานที่นั้นคือสถานที่ที่เป็นช่องแคบ เรือรบญี่ปุ่นที่มีจำนวนมากเข้ามาติดกับและเบียดเสียดจนเรือรบแถวหลังไม่สามารถช่วยสนับสนุนได้และคลื่นทะเลหนุนให้เรือรบญี่ปุ่นเข้ามาในช่องแคบได้ง่าย แต่หนีออกไปไม่ได้ อี ซุน-ชินยังแสดงให้ทหารหาญเห็นถึงความกล้าหาญและความจงรักษ์เสมอๆ เขาปฏิบัติต่อทหารของเขาด้วยเกียรติ และรบเคียงบ่าเคียงไหล่ทหารหาญ แม้ในสถานการณ์เสี่ยงอันตราย มีการบันทึกเอาไว้ว่า เขามักจะแสดงออกถึงความเสียดายในชีวิตทหารที่ตายไป และตอบสนองความต้องการสุดท้ายของทหารที่เสียชีวิตเสมอๆ ด้วยเหตุนี้เอง ทหารทุกนายจึงรักเขา และพร้อมที่จะร่วมเป็นร่วมตายกับเขา แม้ข้าศึกจะมีจำนวนมากกว่านับร้อยเท่า มากไปกว่านั้น เขามีคุณสมบัติของผู้นำในการรักษาขวัญกองทัพ ในยามที่ข่าวความพ่ายแพ้ทางบกจะเข้ามา และอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกาหลีชนะญี่ปุ่นได้คือ เรือรบเกาหลี พานโอกซอน ที่มีคุณลักษณ์เหนือชั้นกว่าเรือรบญี่ปุ่นยิ่ง โดยเชิงโครงสร้างแล้ว พานโอกซอนมีความแข็งแกร่งมากกว่า ท้องเรือแข็งแกร่ง มีปืนใหญ่ประจำเรือไม่ต่ำกว่า 20 กระบอก ในขณะที่ญี่ปุ่นมีเพียงหนึ่งหรือสองกระบอก ถึงแม้บางลำจะเป็นปืนอย่างยุโรปแต่ก็เป็นปืนรุ่นเก่า จึงทำให้เรือรบเกาหลีมีข้อได้เปรียบในการสู้ระยะไกลอย่างมาก

ความเยี่ยมยอดของเขา ในฐานะนักยุทธศาสตร์และผู้นำนั้น ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก ในระหว่างสงคราม ตัวอย่างเช่น ยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง (명량) ที่อี ซุน-ชินนำเรือพานโอกซอนเพียง 13 ลำ เข้าโรมรันกับกองเรือญี่ปุ่น 333 ลำ (เป็นเรือรบ 133ลำ และเรือลำเลียงไม่น้อยกว่า 200 ลำ) [2][3][4][5][6][7][8][9][10][11] ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2140 โดยสามารถจมเรือรบญี่ปุ่นได้รวม 31 ลำ[12] ทำให้เรือจำนวนหนึ่งใช้การไม่ได้รวม 92 ลำ [ต้องการอ้างอิง] จับทหารญี่ปุ่นในการรบมาเป็นเชลยประมาณ 8,000 ถึง 18,466 นาย [13] ในขณะที่ทางเกาหลีไม่เสียเรือเลยสักลำ มีเพียงทหารตาย 2 นาย และบาดเจ็บ 3 นาย บนเรือที่อี ซุน-ชินบัญชาการ[14] และอี ซุน-ชินยังเป็นผู้บัญชาการที่กระตือรือร้น มักจะเป็นฝ่ายเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นอยู่เสมอ

ภายใต้การบัญชาการของ อี ซุน-ชิน กองทัพญี่ปุ่นจึงต้องถอนกำลังออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกาหลีและจีนปลอดภัยจากการรุกรานของญี่ปุ่น

ความสำเร็จในการรบในครั้งนี้ เป็นผลจากการแผนการวางกลยุทธ์ โดยเขาศึกษาทิศทางของกระแสน้ำและกระแสลมอย่างละเอียดจนทำให้ชนะข้าศึกในที่สุด (ในปี พ.ศ. 2557 มีการนำยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง (ฮันกึล : 명량) ไปสร้างเป็นภาพยนตร์สงครามอิงประวัติศาสตร์ในชื่อ อีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม[15] Myeongryang : The Admiral: Roaring Currents, Roaring Currents ทำรายได้สูงสุดในปีที่ออกฉายและยังคงทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในประเทศเกาหลีใต้)

พ.ศ. 2136 อี ซุน-ชิน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคใต้ และได้รับพระราชทานราชทินนาม "นายพลเรือแห่งสามจังหวัดทหารเรือ" (ฮันกึล : 삼도수군통제사, ฮันจา :三道水軍統制使) ซึ่งทำให้เขาสามารถบังคับบัญชา กองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดกองซางโต กองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดจอนลา และกองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดชุงชอง

การทัพทั้งสี่ของแม่ทัพลี

กองกำลังญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ปูซานและดาแดจิน ที่ซึ่งเป็นเมืองท่าทางใต้ของเกาหลี เนื่องจากไม่มีกองเรือต่อต้าน กองทัพบกญี่ปุ่นจึงรุกคืบ เข้ายึดเมืองท่าทั้ง 2 ได้อย่างรวดเร็ว และเริ่มรุกขึ้นเหนือประหนึ่งสายฟ้าฟาด ทำให้เดินทางถึงโซลในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2135 ใช้เวลานับจากยกพลขึ้นบกเพียง 19 วัน สาเหตุที่กองทัพญี่ปุ่นสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพของกองทัพบกภาคใต้ เนื่องจากกองกำลังหลักทางบกของเกาหลีไปอยู่ที่ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งประมาทว่าญี่ปุ่นจะไม่รุกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรบที่แซงจู และความล้มเหลวในการป้องกันด่านโจลยอง

การทัพทั้งสี่ของอี ซุน-ชิน รวมไปถึงทุกๆ ปฏิบัติการ อย่างน้อย 33 ปฏิบัติการใหญ่ๆ ที่อี ซุน-ชินได้ชัยมา ทำให้ญี่ปุ่นต้องเสียเรือรบซันเคน เรือลำเลียงพล และเรือลำเลียงเสบียงนับร้อยๆ และมีทหารถูกจับนับพันนาย

เรือเต่า

ภาพวาดเรือเต่า

ความสำเร็จที่ได้รับการจดจำมากของแม่ทัพลีก็คือการรื้อฟื้น และพัฒนาเรือเต่า (โคบุคซอน;거북선) ขึ้นมาจากความคิดสร้างสรรค์ของเขา และการสนับสนุนของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกนาย แท้จริงแล้ว อี ซุน-ชินไม่ใช่ผู้ที่คิดค้นเรือเต่านี้ขึ้นมา อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน หากแต่เขานำแบบแปลนเก่า ที่มีการคิดขึ้นมาแต่ยุคต้นราชวงศ์โชซ็อน มาปรับปรุงใหม่ต่างหาก มีการคาดกันว่า แบบแปลนเก่านี้ น่าจะถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจง

เรือเต่าที่อี ซุน-ชินได้ปรับปรุงขึ้น มีอัตราบรรจุปืนใหญ่ 24-28 กระบอก โดยแบ่งเป็นกราบ (ด้านข้างของเรือ) ละ 11กระบอก และหัวและท้ายเรือ ตำแหน่งละหนึ่งกระบอก หัวเรือถูกแกะสลักเป็นรูปมังกร และที่หัวมังกรแกะสลักนี้ สามารถบรรจุปืนใหญ่ได้อีกถึง 4 กระบอก อีกทั้งมีการบรรจุม่านควันอีกด้วย ปืนใหญ่และม่านควันนี้ถูกตกแต่งเข้ากันอย่างดี เพื่อการข่มขวัญข้าศึก ที่ด้านข้างของเรือ มีการเจาะช่องเพื่อยิงธนู, ปืนคาบชุด และปืนครก หลังคาเรือถูกคลุมด้วยแผ่นโลหะรูปแปดเหลี่ยมและหนามแหลม จุดประสงค์ของการสร้างหนามแหลมนี้ เพื่อป้องกันข้าศึกที่พยายามบุกเข้ายึดเรือ เพราะด้วยเหตุว่าลี ชุนชินทราบดีว่าประสิทธิภาพของทหารเกาหลีนั้นต่างจากความชำนาญอาวุธของทหารญี่ปุ่นมากรวมถึงทหารราบเกาหลีมักด้อยความสามารถทั้งด้านการฝึกฝนและอาวุธ ถึงแม้จะมีการสวมเกราะของทหารทั้ง2ฝ่ายแล้วก็ตามเรือรบญี่ปุ่นนี้มีขนาดใหญ่กว่าเรือเกาหลี อีกทั้งมีกราบเรือที่ยาวกว่า หนามแหลมบนเรือเต่านี้ จึงมีประโยชน์ในการป้องกันทหารญี่ปุ่นกระโดดลงมายึดเรืออย่างยิ่ง ตัวเรือมีหางเสืออยู่2ใบ และใบพาย 20ใบ ในยามเดินเรือ หนึ่งใบพาย จะใช้ 2ฝีพาย แต่ในยามรบ จะใช้ 5ฝีพาย

ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในวงการประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับจำนวนชั้นของเรือเต่า ว่ามี 2 หรือ 3ชั้น และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่ทว่า เป็นที่แน่นอนว่าเรือเต่านั้นมีหลายชั้น แยกฝีพายออกจากหน่วยรบ นี่ทำให้เรือเต่ามีความคล่องตัวสูง เนื่องด้วยทั้งกำลังคนและลม โดยมากแล้ว เชื่อว่าเรือมี 2ชั้น ตามแปลนที่1 และ2ของเรือเต่า แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็ยังเชื่อว่าเรือเต่ามี 3ชั้น เนื่องจากอี ซุน-ชินเป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวอันเป็นเอกลักษณ์ และเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเสมอๆ ซึ่งแตกต่างจากคนอื่นที่มีคุณวุฒิ และวัยวุฒิเช่นเดียวกับเขาอย่างสิ้นเชิง จึงมีความเป็นไปได้ว่าเขาจะสร้างเรือเต่า 3ชั้น นอกจากนี้ เรือธงของเขา (เรือปานโอกซอน) ที่เขาใช้ตลอด 4การทัพนี้ ก็มี 3ชั้น ดังนั้นเรือเต่าก็น่าจะมี 3ชั้นเช่นกัน

เรือเต่านี้ เป็นส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดเกี่ยวกับกองเรือของอี ซุน-ชิน แต่เขากลับไม่เคยใช้เรือเต่ามากกว่า 5ลำ ในแต่ละยุทธนาวี สาเหตุที่ใช้น้อยนั้น ไม่ใช่มาจากเรื่องงบประมาณ และเวลาในการก่อสร้างอันมีจำกัดในตอนนั้น แต่เป็นเพราะกลยุทธ์การนาวีต่างหาก ในยุคนั้น คงมีเพียงราชนาวีอังกฤษและราชนาวีโซซอนเท่านั้น ที่ใช้ปืนใหญ่เป็นอาวุธหลัก โดยประวัติศาสตร์แล้ว ราชนาวีโซซอนมักจะปราบสลัดญี่ปุ่นด้วยปืนและปืนใหญ่มาตั้งแต่ราวๆ พ.ศ. 1933 แต่ราชนาวีโซซอนไม่มีหน่วยนาวิกโยธิน เพื่อยึดเรือ ในขณะที่กองทัพเรือญี่ปุ่นมี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับราชนาวีโซซอน ในการ "ออกห่าง" จากเรือรบญี่ปุ่น อี ซุน-ชินมักจะเตือนลูกน้องเขาเสมอว่า การไปรบประชิดตัวกับญี่ปุ่นเป็นเรื่องต้องห้าม เพราะฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธระยะประชิดและกองทัพออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ให้อาศัยระยะยิงที่เหนือกว่าให้เป็นประโยชน์แทน และเรือเต่าก็ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้

เรือเต่า ถูกนำออกมาใช้ครั้งแรกในยุทธนาวีแห่งซาชอน (พ.ศ. 2135) และถูกนำมาใช้เกือบทุกครั้งจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ โศกนาฐกรรมที่ชีลชอนลยาง ที่ราชนาวีเสียเรือเต่าและพานโอกซอนทั้งหมด เหลือเพียง เรือพานโอกซอน 13ลำเท่านั้น (อี ซุน-ชินไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาในยุทธนาวีนี้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นกับดัก จึงถูกจับขึ้นศาลทหาร) และไม่ปรากฏอีกเลย นับแต่ยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง จุดเปลี่ยนที่2 ของสงคราม

เรือเต่านี้ โดยมากมักจะใช้เป็นหัวหอกทะลวงข้าศึก ใช้ได้ดีในพื้นที่แคบ ล้อมรอบไปด้วยเกาะแก่ง แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในทะเลเปิด

สายลับสองหน้าของญี่ปุ่น และความแตกแยกของเกาหลี

หลังชัยชนะอย่างต่อเนื่องของอี ซุน-ชิน ฮิเดโยชิ และแม่ทัพของเขาก็เริ่มหวาดเกรง เพราะกองเรือเกาหลีเข้าใกล้ปูซาน ฝ่ายญี่ปุ่นกลัวว่าเส้นทางลำเลียงเสบียงจะถูกตัด อีกทั้ง อี ซุน-ชินยังทำให้การขนส่งอาหารและยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นล่าช้า กำลังเสริมจากญี่ปุ่นก็ผ่านด่านกองทัพเรือเกาหลีไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ แผนการบุกเข้าเปียงยางจึงชะงักลง ด้วยว่าเสบียงมาไม่ถึงมือกองหน้าทั้ง2ของญี่ปุ่น

แต่ฮิเดโยชิก็ปรับแผนอย่างรวดเร็ว ที่ปูซาน เรือรบญี่ปุ่นถูกปรับปรุงด้วยการเสริมเกราะไม้และปืนใหญ่ และเพิ่มมาตรการป้องกันอ่าวด้วยปืนใหญ่ตามริมแนวชาวฝั่ง โดยสั่งให้โรงหล่อในปูซานหล่อขึ้นมา ที่สำคัญที่สุด ญี่ปุ่นรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังความกลัวของพวกเขา และอี ซุน-ชินจะต้องถูกกำจัดให้พ้นทาง ตราบใดที่อี ซุน-ชินยังอยู่ ไม่มีอะไรสามารถรับประกันความปลอดภัยทางทะเลให้ญี่ปุ่นได้แน่นอน

เนื่องจากความแยกแยก แบ่งฝักฝ่าย เล่นพรรคเล่นพวกของราชสำนักโซซอน ทำใหญ่ญี่ปุ่นคิดกลอุบายได้ สายลับสองหน้าของญี่ปุ่นนาม โยชิระ ถูกส่งเข้าหานายพลเกาหลีนาม คิม อูงซู เพื่อคอยป้อนข้อมูลเท็จให้เกาหลี และทางเกาหลีก็เชื่อเขาเสียด้วย

วันหนึ่ง เขาหลอกแม่ทัพคิมว่า แม่ทัพ คาโต้ คิโยมาสะจะยกทัพมา ณ สถานที่ และวันเวลาที่แน่นอน ด้วยกำลังพลมหาศาล เพื่อโจมตีชายฝั่งอย่างแน่นอน และยุยงให้เขาส่งอี ซุน-ชินออกไปรบ แม่ทัพคิมหลงเชื่อและส่งสารแจ้งไปยังจอมพล คอน ยูล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (Commander-in-Chief; 도원수, 導元帥) ผู้ที่ส่งสารฉบับนี้ขึ้นทูลเกล้าถวายแด่พระเจ้าซอนโจอีกทอด พระเจ้าซอนโจทรงกระหายชัยชนะ เพื่อที่จะขับญี่ปุ่นออกไปจากราชอาณาจักรของพระองค์ยิ่งนัก จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โจมตี อย่างไรก็ตาม อี ซุน-ชินกลับปฏิเสธที่จะสนองพระบรมราชโองการ เนื่องจากเขาทราบดีว่า ข้อมูลนี้ได้รับมาจากสายลับของข้าศึก อีกทั้งยุทธภูมินี้ เต็มไปด้วยหินโสโครก อันตรายอย่างยิ่ง อีกทั้งคลื่นลมก็ไม่เหมาะแก่การรบ ที่สำคัญ เขาไม่เชื่อคำพูดสายลับสองหน้า

เมื่อแม่ทัพคิมกราบทูลรายงานถึงการปฏิเสธพระบรมราชโองการ เหล่าขุนนางขี้อิจฉา ที่จ้องจะล้มอี ซุน-ชินต่างก็เร่งกราบทูลให้ลงพระอาญาอี ซุน-ชิน และส่งแม่ทัพวอน กยูน อดีตอดีตผู้บัญชาการกองเรือตะวันตกแห่งจังหวัดกองซาง และผู้บัญชาการทหารบกแห่งจอนลา เพื่อเป็นการซ้ำเติมอี ซุน-ชิน วอน กยูนยังกราบทูลรายงานป้ายสีว่า อี ซุน-ชินเป็นพวกขี้เหล้าและเกียจคร้าน

ด้วยเหตุนี้ อี ซุน-ชินจึงถูกปลด ถูกจับใส่โซ่ตรวน และถูกส่งไปยังโซล เพื่อทรมานและจองจำ อี ซุน-ชินถูกทรมานจนเกือบตาย ด้วยวิธีทรมานพื้นฐานเช่น การเฆี่ยนด้วยแส้, การโบยตีด้วยพลอง, การนาบด้วยเหล็กร้อนแดง และ ด้วยวิธีตามแบบการทรมานของเกาหลี คือการหักขา [ต้องการอ้างอิง] แท้จริงแล้ว พระเจ้าซอนโจทรงหมายจะเอาชีวิตเขาด้วยซ้ำ แต่ผู้สนับสนุนอี ซุน-ชิน โดยเฉพาะ เสนาบดีชุง ตาก ขอให้ทรงเมตตาอี ซุน-ชิน เพื่อเห็นแก่ความดีความชอบแต่ครั้งก่อน ส่วนมหาเสนาบดี ยู ซอง ลยอง ที่เคยเป็นเพื่อนสมัยเด็กของอี ซุน-ชิน และเป็นหัวเรือใหญ่ในการสนับสนุนเขากลับนิ่งเงียบในช่วงนี้ แม้จะได้รับการละเว้นโทษตาย แต่เขากลับถูกลดขั้นลงเป็นทหารเลวอีกครั้ง ในกองพลของจอมพลคอน ยูล โทษนี้ สำหรับแม่ทัพเกาหลีนั้น รุนแรงยิ่งกว่าโทษตายเสียอีก เพราะพวกเขามีชีวิตอยู่ด้วยเกียรติยศ

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาโดนลดขั้นลงเป็นทหารเลว ก่อนนี้ ตอนที่เขาเป็นนายทหาร เขาก็เคยถูกใส่ความว่าหล่ะหลวมในการป้องกัน เผ่าหนี่เจิน อานารยชน ผู้รุกรานจากทางเหนือ ที่ส่งผลให่เกิดความสูญเสียมากมายนัก แต่ข้อเท็จจริงนั้น อี ซุน-ชินมองเห็นถึงจุดอ่อนนี้แล้ว และสั่งให้เสริมแนวป้องกัน แต่ผู้บังคับบัญชาของเขากลับเห็นว่าเขาเลอะเทอะ และโยนความผิดทุกอย่างให้เขาในภายหลัง

แต่ถึงแม้ว่าเขาจะได้รับความอัปยศอดสู จากการถูกลดขั้นเป็นทหารเลว แต่เขาก็ยังคงทำงานของเขาโดยไม่ปริปากบ่นอย่างขยันขันแข็ง อีกทั้งบรรดานายทหารก็ล้วนให้เกียรติเขา ด้วยรู้ว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และในไม่ช้า เขาก็เข้าไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจอมพลคอน ยูล จนกระทั่งการตายในสนามรบของแม่ทัพวอน กยูน พร้อมหายนะที่ช่องแคบชีลชอนลยอง เขาจึงได้รับการคืนยศ

การคืนยศและการทัพครั้งสุดท้าย

เนื่องด้วยอี ซุน-ชิน ไม่มีอำนาจใดๆอีกต่อไปแล้ว ญี่ปุ่นจึงไม่มีอะไรต้องกังวลอีกต่อไป การเจรจาสันติภาพระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น ประสบความล้มเหลวใน พ.ศ. 2139 และการรุกรานเกาหลีครั้งที่2จึงเปิดฉากขึ้นในต้นเดือนของปีถัดมา ด้วยกำลังพล 140,000 นาย และกองเรือ 1,000ลำ แต่รอบนี้ญี่ปุ่นโชคไม่ดีเหมือนคราวก่อน สมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ แห่งราชวงศ์หมิง มีพระบรมราชโองการ ส่งกองพลนับพันเข้ามาช่วยเหลือเกาหลีในครั้งนี้ ดังนั้น เกาหลีจึงสามารถยันกองทัพญี่ปุ่น และผลักญี่ปุ่นลงใต้ได้สำเร็จในช่วงฤดูหนาวของปีพ.ศ. 2139

ถึงแม้ว่ากองทัพผสมทางบกของเกาหลี-จีนจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่ในด้านกองทัพเรือนั้นกลับล้มเหลว แม่ทัพวอน กยูนล้มเหลวในการป้องกันน่านน้ำ ปล่อยให้กองทัพเรือญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวโซแซงได้โดยสวัสดิภาพ และเริ่มปฏิบัติการทางทหารได้อย่างง่ายดาย

แม่ทัพวอน กยูน ผู้ที่เข้ามารับผิดชอบกองทัพเรือเกาหลีแทนอี ซุน-ชิน ตัดสินใจเคลื่อนกองเรือทั้งหมดของราชนาวีโซซอน ที่สร้างโดยอี ซุน-ชิน จำนวน 150ลำ พร้อมกะลาสี 30,000นาย วอน กยูนเคลื่อนพลจากฐานทัพเรือยอซูโดยแทบจะไม่ได้มีแผนการอะไรเลย นอกจากลาดตระเวณล่าทำลายกองเรือญี่ปุ่นบริเวญปูซาน เช้าวันถัดมา วอน กยูน ก็ตรวจพบกองเรือญี่ปุ่น วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2140 ที่ช่องแคบชิลชอน ยุทธนาวีที่ช่องแคบชิลชอนก็เริ่มขึ้น และกองทัพเรือเกาหลีก็ถูกสังหารหมู่ที่นี่เอง กะลาสีเรือเกาหลีที่กำลังเหนื่อยล้าจากการพายเรือ ถูกกองทัพเรือญี่ปุ่นเข้าตีฉับพลัน เรือรบญี่ปุ่นเข้าประชิดเรือเกาหลี ขว้างตะขอเกี่ยวเรือ แล้วทหารญี่ปุ่นโหนตัวเองบุกขึ้นเรือเกาหลี ,เริ่มการประจันบานในระยะประชิด แทหารเกาหลีซึ่งไม่ใช่คู่มือของทหารญี่ปุ่นจึงพ่ายแพ้ในที่สุด

นี่คือความต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่างแม่ทัพกวอน ยูล และแม่ทัพอี ซุน-ชิน ซึ่งอี ซุน-ชินมักจะเคลื่อนทัพอย่างมีแบบแผนและกลยุทธ์ ในขณะที่กวอน ยูลยอมให้กองทัพเรือญี่ปุ่นบุกเข้าประชิด ขึ้นยึดเรือเพื่อเข้ารบในระยะประชิด ซึ่งเป็นกลยุทธ์พื้นฐานของกองทัพญี่ปุ่นได้อย่างง่ายดาย

ผลลัพธ์ของยุทธนาวีนี้ คือหายนะของกองทัพเรือเกาหลี ที่อยู่ในระดับสิ้นไร้ไม้ตอก' โดยมีเพียงเรือรบ 13ลำเท่านั้นที่เหลือรอดมาได้ (จาก 150ลำ) 12ลำที่รอดมานั้น หนีทัพภายใต้การนำของ ปาล โซล ที่คาดการเอาไว้แล้วว่าการรบครั้งนี้คือหายนะ หลังการล่าทำลาย แม่ทัพกวอน ยูล และแม่ทัพลี ออกกีและผู้บัญชาการอื่นๆ ต่างหนีขึ้นเกาะพร้อมด้วยทหารนายอื่นๆที่รอดตาย แต่ก็พบทหารญี่ปุ่นจากป้อมใกล้ๆ ยืนคอยท่าอยู่แล้ว ไม่มีการจับเป็น และถูกสังหารทิ้งทั้งหมด และยุทธนาวีที่ช่องแคบชีลลยองนี้ ก็เป็นยุทธนาวีเดียวที่ญี่ปุ่นมีชัยเหนือกองทัพเรือเกาหลี ในสงครามนี้

หลังพระเจ้าซอนโจทรงสดับข่าวหายนะนี้ มีพระราชโองการปล่อยอี ซุน-ชิน และคืนยศ ผู้บัญชาการทหารเรือให้ทันที แต่อี ซุน-ชินก็พบว่า เขามีเรือรบอยู่ 12ลำ กับกำลังพลที่รอดชีวิต และพร้อมที่จะเข้าสู่สนามรบเพียง 200นาย เมื่อรวมกับเรือธงของเขา เขามีเรือรบในบังคับบัญชาเพียง 13ลำเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พรเจ้าซอนโจจึงทรงดำริว่ากองทัพเรือของพระองค์สิ้นนาวิกานุภาพแล้ว ยากที่จะพื้นฟูให้ทันเวลา จึงมีพระราชโองการให้ยุบกองทัพเรือ และโยกให้ไปขึ้นตรงต่อกองทัพบก ภายใต้การนำของจอมพล คอน ยูล แต่อี ซุน-ชินกลับทูลตอบว่า "ข้าพเจ้ายังมีเรือรบอยู่13ลำ ตราบที่ข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ราชศัตรูจะไม่มีทางได้ทะเลตะวันตกอย่างแน่นอน (หมายถึงทะเลเหลือง) ฝ่ายญี่ปุ่น ภายใต้การนำของ คูรูชิมะ มิชิฟูสะ,โทโด ทากาโทระ,คาโต้ โยชิอากิ และ วากิซากะ ยาสุฮารุ ที่กำลังได้ใจจากชัยชนะในครั้งก่อน ก็หมายจะกำจัดอี ซุน-ชิน พร้อมเรือรบที่เหลืออีก 13ลำ ระหว่างทางไปโซล ก็เคลื่อนพลออกจากปูซานสู่โซล

การตอบสนองต่อความเคลื่อนไหวของอี ซุน-ชินช่างทรงพลังยิ่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2140 เขาลวงกองทัพเรือญี่ปุ่น (เรือรบ 133ลำ และเรือลำเลียง ไม่ต่ำกว่า200ลำ) ให้เขามาที่ช่องแคบมลองยอง และเริ่มเปิดฉากเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นที่นั่น [16] ด้วยการระดมยิงปืนใหญ่และธนูไฟใส่เรือข้าศึก อีกทั้งรักษาระยะห่างจากเรือข้าศึก มิให้ข้าศึกสามารถบุกขึ้นยึดเรือได้ เรือญี่ปุ่น 31ลำอับปาง ทหารญี่ปุ่นนับพันถูกฆ่า ไม่ก็จมน้ำตาย แม่ทัพ คูรูชิมะ มิชิฟูสะ ของญี่ปุ่น ถูกยิงตายโดยพลธนูประจำเรือที่เข้าใกล้เรือธงของญี่ปุ่น ชัยชนะของอี ซุน-ชินในยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยองนี้ สะท้อนให้เห็นถึง ความสามารถอันยิ่งยวดของเขาในฐานะนายทหารจอมยุทธศาสตร์ ทุกวันนี้ ชาวเกาหลีจะเฉลิมฉลองชัยชนะจากยุทธนาวีที่ช่องแคบมลองยอง ในฐานะชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของอี ซุน-ชิน

การรบครั้งสุดท้าย และการอสัญกรรมของอี ซุน-ชิน

แผนที่แสดงเส้นทางการเดินเรือในระหว่างยุทธนาวีโนรยัง

15 ธันวาคม พ.ศ. 2141 กองเรือขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ภายใต้การบังคับบัญชาของชิมาสุ โยชิฮิโระได้มารวมพลที่อ่าวซาชอน ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของช่องแคบโนรยัง เป้าหมายของชิมาสุคือการสลายการสกัดกันของกองเรือผสมหมิง-โชซ็อน ที่สกัดกองเรือของโคนิชิ ยูกินากะ เพื่อสนธิกำลัง ก่อนที่จะถอนกำลังกลับบ้าน ในขณะเดียวกัน อี ซุน-ชินก็ทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของชิมาสุ ผ่านการรายงานของหน่วยลาดตระเวณหาข่าวและชาวประมงพื้นในพื้นที่

กองเรือโซซอนประกอบด้วย เรือปานโอกซอน 82ลำ และเรือเต่า3ลำ พร้อมกำลังพล 8,000นาย [17] ส่วนกองเรือหมิงประกอบด้วย เรือรบสำเภาจีนขนาดใหญ่ 6ลำ เรือแกลเลียนขนาดเล็ก 57ลำ[18] และเรือปานโอกซอนที่อี ซุน-ชินมอบให้ เชน หลิน 2ลำ พร้อมกำลังพล 5,000นายจากกรมทหารประจำมณฑลกวางตุ้ง และนาวิกโยธินจีน 2,600นาย ที่ประจำการบนเรือรบโซซอน[18][19]

การปะทะเริ่มขึ้น ณ เวลา 0200 ของวันที่ 16 ธันวาคม การรบที่ผ่านมา ฝ่ายญี่ปุ่นไม่สามารถรับมือกับกองเรือเกาหลีได้เลย ถ้าอี ซุน-ชินเป็นคนบัญชาการรบ ครั้งนี้ก็เช่นกัน กองเรือผสมหมิง-โซซอนเปิดฉากยิงปืนใหญ่สกัดกั้นการเคลื่อนตัวของญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ความคับแคบในช่องแคบโนรยัง ยังทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นไม่สามารถขยับตัวได้อีกด้วย

เมื่อญี่ปุ่นเริ่มร่นถอย อี ซุน-ชิน ก็เร่งให้ตามตี แต่ในช่วงเวลานี้เอง กระสุนปืนคาบศิลานัดหนึ่งที่ญี่ปุ่นยิงมา ถูกร่างของอี ซุน-ชิน[20] เข้าที่สีข้างด้านขวา[21] แม้ว่ากระสุนจะเข้าที่จุดตาย แต่อี ซุน-ชินกลับกล่าวว่า "การรบดำเนินมาถึงจุดสูงสุดแล้ว อย่าให้ใครรับรู้ถึงการตายของข้า"[20] แล้วเขาก็ขาดใจตายในอีกไม่กี่อึดใจถัดมา

ผู้ที่อยู่ดูใจอี ซุน-ชิน ก่อนจากไปนั้นมีเพียง3คนเท่านั้น 2ใน3คนนั้นได้แก่ ลี โฮ ลูกชายคนโตของอี ซุน-ชิน และ ลี วาน หลานชายของเขา เพื่อมิให้ใครสังเกตเห็นการตายของอี ซุน-ชิน ลีโฮและลีวาน ประคองร่างของอี ซุน-ชินไร้วิญญาณเข้าไปในตัวเรือ เพื่อหลีกหนีสายตาของผู้คน สำหรับการรบที่เหลือ ลีวานสวมเกราะของลุงของเขา แล้วขึ้นไปตีกลองศึก เพื่อรักษาขวัญกำลังใจทหารว่าแม่ทัพของเขายังคงมีชีวิตเรือธงยังคงทำการรบอยู่[20]

ระหว่างศึก เฉิน หลิน แม่ทัพเรือฝ่ายจีนตกอยู่ในภาวะคับขัน 2-3ครั้ง และเรือธงก็ตรงเข้ามาช่วยเขาทุกครั้ง เมื่อเชนหลิงมาเข้าพบอี ซุน-ชิน เพื่อขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือ เขาพบลีวาน และได้รับแจ้งถึงมรณกรรมของอี ซุน-ชิน[22] กล่าวกันว่า เชนหลิงตกใจมาก คุกเข่าลงโขกศีรษะถึง3ครั้งและร้องไห้[23] ข่าวการจากไปของแม่ทัพลี แพร่สะพัดไปทั่วทั้งกองเรือผสมหมิง-โซซอนอย่างรวดเร็ว ทหารหาญทุกนาย ไม่ว่าจะหมิงหรือโซซอนต่างก็พากันร้องไห้ระงม[22]

ร่างไร้วิญญาณของแม่ทัพลี ถูกนำส่งไปยังบ้านเกิดที่อาซาน เพื่อฝังไว้ข้างๆบิดาของเขาตามประเพณีนิยม ศาลเจ้าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา

ปฏิกิริยาของรัฐบาลโชซ็อน

แม่ทัพอี ซุน-ชิน นอกจากจะสามารถถล่มกองทัพญี่ปุ่นได้แล้ว ยังเป็นผู้ที่รักและเคารพในตัวทหารหาญและครอบครัวยิ่ง เขาได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านจากทั้งผลงานในการป้องกันประเทศชาติ และความเป็นผู้โอบอ้อมอารีย์มีเมตตาต่อประชาชน ผู้ประสบภัยสงครามอีกด้วย ผู้คนเคารพยกย่องแม่ทัพอี ซุน-ชินยิ่ง และกล่าวถึงอี ซุน-ชิน มากกว่าตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือที่เขาเป็น

ในทางกลับกัน พระเจ้าซอนโจกลับไม่ได้ทำอะไรเพื่อปกป้องราชอาณาจักรของพระองค์เลย ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พระองค์ทรงล้มเหลวในการป้องกันขอบขัณฑสีมา และการแปรพระราชฐานหนีไปจากโซลโดยทันทีของพระองค์ ทำให้ภาพลักษณ์ของพระองค์ล่มสลายลง มีความเป็นไปได้ถึงความเชื่อว่า พระเจ้าซอนโจและราชสำนัก กลับมองชัยชนะของอี ซุน-ชินและการสนับสนุนในตัวเขาเป็นหอกข้างแคร่ ที่อาจจะทำให้เขาก่อกบฏได้ในภายหลัง เฉยเช่นที่ ลี ซองเกเคยก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจมาจากราชวงศ์โครยอปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าแทโจปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนในปี พ.ศ. 1935 ด้วยความกลัวดังนี้ พระเจ้าซอนโจจึงทรงลงพระอาญาจองจำและทรมานอี ซุน-ชิน แต่ก็ได้ยู ซองลยองคอยช่วยกราบทูลคัดค้านโทษตายของอี ซุน-ชินไว้ถึง 2ครั้ง

ด้วยเหตุนี้ การพระราชทานรางวัลให้อี ซุน-ชิน จึงเกิดขึ้นหลังมรณกรรมของเขาเกือบทั้งหมด

ขุนนางในราชสำนักหลายคน มีส่วนสำคัญมากในการทำให้พระเจ้าซอนโจมีพระดำริต่ออี ซุน-ชินในแง่ลบ รัฐบาลโซซอนถูกดึงลงไปในวังวนแห่งการแก่งแย่งชิงดี, เกลียดชัง และแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เหล่าขุนนางที่กลัวและเกลียดชังแม่ทัพผู้โดดเดี่ยว ทุ่มแรงกายแรงใจทำศึกเพื่อปกป้องประเทศชาติ ในขณะที่ราชสำนักกลับแตกแยกสับสน ด้วยวังวนของความอิจฉาริษยานี้ มีแผนการขัดขาอี ซุน-ชินมากมาย จนทำให้อี ซุน-ชินไม่สามารถต่อกรกับข้าศึกได้อย่างเต็มความสามารถ

นักประวัติศาสตร์เองก็ค้นพบว่า ในพงศาวดารโชซ็อนนั้น พระเจ้าซอนโจ ไม่ทรงเคยแสดงความเสียใจหรือตกใจต่อการตายของอี ซุน-ชินเลย

ความบิดเบี้ยวของราชสำนักโซซอนนี้ ดำเนินมาตลอดประวัติศาสตร์ราชวงศ์โชซ็อน ที่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความมั่นคงของประเทศชาติ จนมาสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2453 เมื่อเกาหลีสูญเสียเอกราชให้จักรวรรดิญี่ปุ่น

มรดกที่อี ซุน-ชินมอบไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง

"ถ้าเราหวังที่จะสู้จนตัวตาย เราจักมีชีวิต แต่ถ้าไม่แล้ว เราจักตายอย่างไร้ค่า"- แม่ทัพลี

ทุกวันนี้ อี ซุน-ชินได้รับการยกย่องจากชาวเกาหลี ในฐานะวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชาวเกาหลีมองเขาในฐานะ ชายผู้กล้าหาญ อดทน แข็งแกร่ง มีความเสียสละ และจงรักภักดีต่อประเทศชาติ

นายพลเรือ จอร์จ อเล็กซานเดอร์ บัลลาร์ด แห่งราชนาวีอังกฤษยกย่องอี ซุน-ชินในฐานะนายทหารผู้ยิ่งใหญ่ และเปรียบเทียบเขากับ โฮราชิโอ เนลสันแห่งอังกฤษ

เป็นเรื่องยากมากสำหรับชาวอังกฤษ ที่จะกล่าวว่ามีใครมีความสามารถเทียบเท่ากับเนลสัน แต่ถ้าจะมีใครสักคนที่สามารถเทียบเท่ากับเนลสันได้นั้น ชายคนนั้นก็คงจะเป็นผู้บัญชาการที่ยิ่งใหญ่ชาวเอเชีย ที่ไม่เคยพ่ายแม้สักครั้ง และตายในการรบกับศัตรู ทางผ่านของชายผู้นั้น ปูไว้ด้วยซากเรือรบญี่ปุ่นนับร้อยที่อัปปาง และศพทหารกล้าของข้าศึก ที่ถูกเขาส่งลงไปนอนอยู่ใต้ทะเลนอกคาบสมุทรเกาหลี ไม่พลาดหรอก และนี่ไม่ใช่การประมาณการด้วยว่า ตั้งแต่ต้นจนจบ เขาไม่เคยทำอะไรพลาดเลย งานของเขาช่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้สถานการณ์แต่ละแบบที่หลากหลาย ยากที่จะวิจารณ์ ตลอดชีวิตทหารหาญของเขา อาจจะสรุปได้ว่า เขาไม่ได้เรียนรู้การรบทางทะเลในประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะใช้ชี้นำเลย เขาออกรบในทะเลในแบบที่มันควรจะเป็น ตราบที่ผลลัพธ์ของการรบนั้นชัดเจน และจบลงด้วยการเป็นผู้ที่ปกป้องประเทศชาติ ที่ดำรงความสำคัญอย่างหาที่เปรียบมิได้[24]

นายพลเรือ เทสซึทาโร่ ซาโต้ แห่งจักรวรรดินาวีญี่ปุ่น เองก็กล่าวถึงอี ซุน-ชินเอาไว้ในหนังสือของเขาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2451 หรือ 2 ปีก่อนเกาหลีศูนย์เสียเอกราชให้ญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์

โดยประวัติศาสตร์แล้ว มีแม่ทัพเพียงไม่กี่คนที่ชำนาญในยุทธวิธีการเข้าตีตรงหน้า เข้าตีฉับพลัน การรวมกำลัง และการขยายกำลัง นโปเลียนผู้เชี่ยวชาญการยึดครองบางส่วนด้วยทั้งหมด ก็สมควรเรียกได้ว่าเป็นแม่ทัพที่ยอดเยี่ยม ในส่วนของแม่ทัพเรือ 2อัจฉริยะด้านยุทธวิธีที่สมควรจะกล่าวไว้คือ อี ซุน-ชินแห่งเกาหลี จากตะวันออก และเนลสันแห่งอังกฤษ จากตะวันตก ลีเป็นแม่ทัพเรือผู้โดดเด่นอย่างไม่ต้องสงสัย แม้ว่าเขาจะถูกจำกัดขัดขาในสงครามเจ็ดปี และในทางกลับกัน ความกล้าหาญและชาญฉลาดของเขา มิได้เลื่องลือไปทางตะวันตก เหตุเพราะเขาโชคร้ายที่เกิดมาในราชวงศ์โซซอน ใครก็ตามที่จะเปรียบเทียบกับอี ซุน-ชินได้นั้น ควรจะเหนือกว่า มิเชล เดอ รุยเตอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เนลสันนี้ ยังห่างไกลจากอี ซุน-ชินในแง่ของลักษณะนิสัยและความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ลียังเป็นผู้ประดิษฐ์เรือรบหุ้มเกราะที่รู้จักในนามเรือเต่า(โคบุคซอน) เขาคือผู้บัญชาการทางทะเลผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง และเป็นผู้เชี่ยวชาญงานยุทธนาวีของ 300 ปีที่ผ่านมา[25]

ในช่วงระหว่างสงคราม เขาต้องจัดหาเสบียง-ยุทธปัจจัย เพื่อเลี้ยงกองทัพเรือด้วยตัวเอง โดยปราศจากความช่วยเหลือจากราชสำนัก เขาบันทึกในปูมการรบของเขา (นานจูง อีลกี, ฮันกุง: 이순신, ฮันจา: 李舜臣) ถึงความกัลวลในการจัดหาเสบียงอาหารในช่วงฤดูหนาว ข้าศึกของเขานั้น มีอาหารกินอิ่มหนำสำราญและมีจำนวนมากกว่า

อี ซุน-ชิน ไม่เคยร่ำเรียนวิชาทหารเรือ เนื่องด้วยราชวงศ์โซซอนไม่มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกทหารเรือ เขาผ่านการสอบคัดเลือกทหารเมื่อเขายังหนุ่ม และเขาไม่เคยได้รับการศึกษาในวิทยาลัยเลย เขามีเพียงประสบการณ์จากการรบทัพจับศึกกับพวกหนู่เจิน ที่คอยรุกรานทางคอนเหนืออยู่เนืองๆ ความจริงแล้ว ชัยชนะที่ยุทธนาวีที่โอ๊กโป ที่เขารบชนะกองเรือญี่ปุ่นนั้น ก็เป็นการรบทางทะเลครั้งแรกของเขา และบรรดานายทหารและกะลาสีของเขา ไม่มีใครในกองเรือของเขาเคยรบทางทะเลมาก่อนเลย

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อี ซุน-ชินประสบความสำเร็จคือ การครอบครองปืนใหญ่ที่มีระยะยิงและอำนาจการยิงที่สูงกว่าญี่ปุ่น ในขณะที่ญี่ปุ่นหวังจะใช้การรบระยะประชิดเข้าสู้กับเกาหลี เรือเต่าของเขา ที่เพิ่งถูกปล่อยเรือลงน้ำเพียงวันเดียวก่อนสงครามจะเริ่มต้น มีประสิทธิภาพสูงมากในการเข้าตี และทะลวงแนวรบข้าศึก อี ซุน-ชินชนะศึกทางทะเลอย่างน้อย 12 ครั้ง โดยได้รับความเสียหายเพียงน้อยนิด แต่ถล่มเรือญี่ปุ่นนับพัน สังหารชีวิตทหารญี่ปุ่นนับแสน

เขาใช้รูปแบบกองเรือหลายแบบ ขึ้นกับสถานการณ์ และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นทะเลและกระแสน้ำทะเลให้เป็นประโยชน์ เขาใช้ความรอบรู้ในสมุทรศาสตร์ในพื้นที่ของเขาให้เป็นประโยชน์เสมอ มีหลายครั้งที่เขาล่อข้าศึก ให้เข้าไปในพื้นที่ที่เขาสามารถล้อมทำลายข้าศึกได้โดยง่าย

ในยุทธนาวีที่เกาะฮันซัน นายทหารญี่ปุ่นนายหนึ่งแหกกฎและเดินเรือมารบกับเขา อี ซุน-ชิน เป็นผู้เชี่ยวชาญยุทธศาตร์นาวี ที่ไม่มีใครในกองทัพโซซอนในสมัยนั้นเทียบเทียมได้ และไม่มีใครสามารถสร้างผลงานได้อย่างเขา หนึ่งในผลงานอันยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือ การรบกวนเส้นทางลำเลียงเสียงของข้าศึก ด้วยการโจมที่ที่ผ่านการคิดคำนวณมาก่อนของเขา เขาจึงสามารถส่งกองเรือของญี่ปุ่นลงไปนอนยังก้นพระสมุทรได้อย่างสวยงาม

การปรับปรุงกองทัพเรือของเขา ไม่ได้ถูกลบล้างไปในทันทีหลังมรณกรรมของเขา เรือเต่าค่อยๆถูกลดจำนวนลงจากหน้าประวัติศาสตร์โซซอน จนกระทั่งกลายเป็นสัญลักษณ์ในตำนานในปัจจุบัน ราลวงศ์โซซอนตัดสินใจลดจำนวนทหารลง โดยเฉพาะหลังการรุกรานของแมนจู ในช่วง ค.ศ. 1630

สำเนาบันทึกของอี ซุน-ชิน

อี ซุน-ชิน บันทึกความทรงจำของเขาในสมุดบันทึกอย่างละเอียด ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนหนังสือรายงานที่เขาส่งขึ้นกราบทูลพระเจ้าซอนโจ ซึ่งทำให้อนุชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเขาหลายอย่าง นอกจากนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับเรือเต่าเองก็ถูกบันทึกในนี้เช่นกัน งานของเขาได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในชื่อ "นานจุง อิลกิ: บันทึกความสงจำยามสงครามของแม่ทัพอี ซุน-ชิน (Nanjung Ilgi: War Diary of Admiral Yi Soon-shin)" และ "อิมจิน จังโช: ความทรงจำของแม่ทัพลีที่มีต่อราชสำนัก (Imjin Jangcho: Admiral Yi Soon-shin’s Memorials to Court)"

เมื่อมองดูเกียรติประวัติของเชื้อสายของ อี ซุน-ชิน เชื้อสายของเขามากกว่า 200คนผ่านการสอบเข้ารับราชการทหาร กลายเป็นตระกูลสำคัญ หรือบัณฑิตสายทหาร ถึงแม้ว่าเชื้อสายของเขาจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองในช่วงท้ายของราชวงศ์โซซอน แต่ราชสำนักก็ให้เกียรติต่อตระกูลอี (ฮันกึล : 이) อย่างสูง หลายคนทำงานข้าราชการสายมหาดไทยระดับสูง หลังการล่มสลายของราชวงศ์โซซอน เชื้อสายของอี ซุน-ชิน หลายคน กลายมาเป็นสมาชิกองค์การต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อเอกราชของเกาหลี ปัจจุบัน ลูกหลานของ อี ซุน-ชิน อาศัยอยู่บริเวณโซล และอาซาน

ในเกาหลี แม่ทัพลี นอกจากจะมีชื่อเสียงจากการสร้างเรือเต่าแล้ว ยังมีชื่อเสียงจากคำพูดสุดท้ายก่อนสิ้นใจ ท่านบอกหลานของท่านให้ใส่เกราะของท่านและซ่อนศพของท่านเอาไว้มิให้ใครรู้ เพื่อมิให้ขวัญกองทัพตก โดนท่านกล่าวว่า "อย่าให้ใครรู้ว่าข้าตาย" ("나의 죽음을 알리지마라") หลังชนะศึก ทุกคนล้วนยินดีปรีดาจนกระท่านทราบข่าวการจากไปของผู้นำของตน

ราชทินนามของ อี ซุน-ชิน ชุงมูโกง (ขุนศึกผู้จงรักษ์) ถูกใช้ในเกาหลี ในฐานะราชทินนามอันทรงเกียรติอันดับ 3 และรู้จักในนาม ตำแหน่งทางทหารผู้พิทักษ์อันเก่งกล้าสามารถแห่งชุงมู (the Cordon of Chungmu of the Order of Military Merit and Valor) เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าชายแห่งโด๊กปุง ชุงมูโร (충무로; 忠武路) ถนนดาว์นทาวน์ในโซลเอง ก็ตั้งตามชื่อของเขา เมือง"ชุงมู"เอง ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น"โทงยลอง" เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อี ซุน-ชิน ในฐานะที่เป็นที่ตั้งฐานบัญชาการของเขา (อยู่บนแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาหลี) ใน"เซโจงโน" กลางโซลมีอนุสาวรีย์ของอี ซุน-ชินตั้งไว้อยู่ นอกจากนี้ เรือพิฆาตหลากวัตถุประสงค์ของเกาหลีรุ่นหนึ่ง ก็มีชื่อชั้นว่า "ชามูกง อี ซุน-ชิน" (รหัสโครงการคือ KDX-II)

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

มีการนำชีวประวัติของอี ซุน-ชินไปทำเป็นภาพยนตร์ 2เรื่อง ในชื่อเดียวกันคือ "อี ซุน-ชิน วีรบุรุษนักบุญ" ครั้งแรกที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2505 เป็นภาพยนตร์ขาวดำ และทำใหม่เป็นภาพสี โดยอิงจากบันทึกสงครามของ อี ซุน-ชินในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2547

อี ซุน-ชิน และเรือเต่าของเขา ปรากฏในเกมส์ Age of Empire 2 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความสมดุล ศักยภาพของเรือเต่าจึงถูกเปลี่ยนใน 2 จุดคือ เรือเต่าเคลื่อนที่ได้ช้า ในขณะที่ของจริงแล่นได้เร็วมาก และสามารถยิงปืนใหญ่ได้จากปากมังกรด้านหน้าเท่านั้น ในขณะที่ของจริงสามารถยิงได้รอบด้าน

พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เกาหลี "ทหารสวรรค์" (ชอนกุน (천군; 天軍;Heaven's Soldiers) กำกับโดย มิน จุนกิ แสดงถึงอี ซุน-ชินวัยหนุ่ม (แสดงโดย ปาร์ค จุงฮุน) ที่ต่อสู้กับพวกนฺหวี่เจินร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกับทหารเกาหลีเหนือและใต้ ที่ถูกดาวหางฮัลเลย์ดึงให้พลัดมิติย้อนเวลาจาก พ.ศ. 2548 มาสู่ พ.ศ. 2115 นับว่าผิดแปลกไปกว่าฉบับอื่นที่ อี ซุน-ชินถูกนำเสนอในลักษณะของหนุ่มสิบแปดมงกุฎและค่อนข้างเพี้ยน แทนที่จะเป็นวีรบุรุษผู้กล้าหาญ (เวลาในพื้นเรื่อง เกิดก่อนการรุกราณเกาหลีของญี่ปุ่น ราวๆ 20 ปี) เหตุการณ์ที่นำเสนอก็ผิดเพี้ยนไปจากประวัติศาสตร์ เช่นการทัพต่อต้านพวกนฺหวี่เจินก็มิได้เกิดในปี พ.ศ. 2115 แต่เกิดในไม่กี่ปีหลังจากนั้น หลังเขาสอบเข้ารับราชการทหารได้ในปี พ.ศ. 2119 ภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนตามมาตรฐานการสร้างภาพยนตร์ของเกาหลี (7-8 ล้านดอลลาร์) และประสบความสำเร็จ ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายให้เห็นถึงภาพของอี ซุน-ชิน ในฐานะวีรบุรุษของเกาหลีในยุคปัจจุบันและกำลังจะรวมชาติได้อย่างชัดเจน

ละครชุด "อี ซุน-ชินผู้เป็นนิรันดร์" (불멸의 이순신) จำนวน 104 ตอน ถูกนำออกฉายทางช่อง KBS ของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2547 ถึง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยเนื้อหาส่วนมากเป็นช่วงการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น ในขณะที่สะท้อนชีวิตของแม่ทัพอีไปด้วย บทอี ซุน-ชินแสดงโดย คิม มยังมิน และได้รับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจากบทนี้ ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมมากในจีน และถูกนำมาฉายซ้ำโดยสถานีโทรทัศน์ที่เน้นด้านจริยธรรมบางช่องในอเมริกา ละครชุดนี้ถูกวิจารณ์มากในหลายๆจุด เช่นการฉายภาพอี ซุน-ชินในวัยหนุ่มว่าอ่อนแอและโดดเดี่ยว และเป็นคนที่ไม่สนใจอะไรเลยในสถานการณ์เสี่ยงตาย อย่างไรก็ตาม ละครชุดนี้ได้รับการกล่าวขานว่า มีมิติของมนุษย์ปุถุชนมากกว่าชุดอื่นๆ ละครชุดนี้ฉายภาพของอี ซุน-ชินในภาพของมนุษย์ปุถุชน ที่ต้องฝ่าฟันภยันอันตรายเพียงลำพัง ไม่ใช่วีรบุรุษที่ฟ้าประทานลงมา ละครเรื่องนี้กลายเป็นหัวข้อพูดคุยกันมากขึ้นเพราะบังเอิญเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นประกาศว่าเกาะโตกโดเป็นของญี่ปุ่น ไม่ใช่เกาหลีใต้

สำหรับวรรณกรรม พ.ศ. 2544 คิมฮุนแต่งวรรณกรรมเรื่องแรกของเขาชื่อ "บทเพลงแห่งดาบ" ออกวางขายและประสบความสำเร็จ โดยวรรณกรรมเรื่องนี้แต่งเป็นร้อยกรอง บรรยายในลักษณะบุรุษที่1 โดยตัวของอี ซุน-ชินเอง คิมฮุนได้รับรางวัล Dongin Literature Award ในฐานะวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องสูงสุดในชาติ

ใน พ.ศ. 2557 ภาพยนตร์เรื่อง อีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม[26] "Roaring Currents" (ฮันกึล : 명량) มีเนื้อหาว่าด้วยการที่ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลี และถูกปราบโดย อี ซุน-ชิน เข้าฉายในช่วงกลางปี เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ทำยอดขายตั๋วเกิน 10 ล้านใบ ภายในเวลาเข้าฉายเพียง 12 วัน ถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ใช้เวลาน้อยที่สุดสำหรับการขายตั๋วผ่านหลัก 10 ล้านใบ ของวงการภาพยนตร์เกาหลี และทำลายสถิติยอดขายตั๋วเรื่อง "Avatar" ที่ 13.62 ล้านใบ ได้ไม่ยาก โดยใช้เวลาเข้าฉายเพียง 18 วัน และกลายเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกที่ทำรายได้ในประเทศมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักแสดงผู้รับบท อี ซุน-ชิน คือ ชอยมินซิก[27][28]

อ้างอิง

  1. Korean Hero Yi Sunsin
  2. "First Ironclads". Military History. About. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  3. "Yi-Sunshin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  5. The Failure of the 16th Century Japanese Invasions of Korea
  6. ¿£½ÎÀ̹ö ¹é°ú°Ë»ö - ¸í·®´ëø (เกาหลี)
  7. "야후! 백과사전 - 이순신". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  8. "'명량대첩' 울돌목에 조류발전소 세운다". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-29. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  9. [1]เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 한국일보 : [전남] "명량대첩 승전고 다시 울려라"
  10. 세계를 밝히는 신문 - 세계닷컴
  11. http://www.yushin.or.kr/@history/dvd-kbshistory/kbs046.htmTreeID=2246&PCode=0007&DataID=200610241356000071[ลิงก์เสีย]
  12. ปูมบันทึกความทรงจำของอี ซุน-ชิน:วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1596 (ตามจันทรคติ)
  13. ภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง "Immortal Admiral Yi Sun-shin"
  14. ปูมบันทึกความทรงจำของอี ซุน-ชิน:วันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1596 (ตามจันทรคติ)
  15. "ยีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม", วิกิพีเดีย, 2021-07-25, สืบค้นเมื่อ 2021-07-25
  16. War Diary (亂中日記) , the autobiographical diary of Admiral Yi Sun-Sin
  17. Hawley (2005) , p. 552
  18. 18.0 18.1 Hawley (2005) , p. 553
  19. Choi (2002) , p. 213
  20. 20.0 20.1 20.2 Ha (1979) , p. 237
  21. Hawley (2005) , pp. 549-550
  22. 22.0 22.1 Choi (2002) , p. 222
  23. Hawley (2005) , p. 555
  24. The Influence of the Sea on The Political History of Japan, pp. 66–67.
  25. A Military History of the Empire (ญี่ปุ่น: 帝國國防史論) , p. 399
  26. "ยีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม", วิกิพีเดีย, 2021-07-25, สืบค้นเมื่อ 2021-07-25
  27. "หนังอิงประวัติศาสตร์ Roaring Currents ทำเงินทุบสถิติวงการหนังเกาหลี". ผู้จัดการออนไลน์. 13 August 2014. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.[ลิงก์เสีย]
  28. "Roaring Currents ทุบสถิติ Avatar ในเกาหลีใต้". ผู้จัดการออนไลน์. 18 August 2014. สืบค้นเมื่อ 19 August 2014.[ลิงก์เสีย]

Read other articles:

هذه المقالة يتيمة إذ تصل إليها مقالات أخرى قليلة جدًا. فضلًا، ساعد بإضافة وصلة إليها في مقالات متعلقة بها. (أغسطس 2021) أليكسي سافتشينكو معلومات شخصية الميلاد 14 مايو 1975 (العمر 48 سنة)موسكو  الطول 1.76 م (5 قدم 9 1⁄2 بوصة) مركز اللعب وسط الجنسية روسيا  المدرسة الأم ا...

 

337

У Вікіпедії є статті про інші значення цього терміна: 337 (значення). Рік: 334 · 335 · 336 — 337 — 338 · 339 · 340 Десятиліття: 310-ті · 320-ті — 330-ті — 340-ві · 350-ті Століття: II · III —  IV — V · VI Тисячоліття: 1-ше до н. е. — 1-ше — 2-ге 337 в інших календаряхГри

 

Éphémérides Chronologie du Québec 1775 1776 1777  1778  1779 1780 1781Décennies au Québec :1740 1750 1760  1770  1780 1790 1800 Chronologie dans le monde 1775 1776 1777  1778  1779 1780 1781Décennies :1740 1750 1760  1770  1780 1790 1800Siècles :XVIe XVIIe  XVIIIe  XIXe XXeMillénaires :-Ier Ier  IIe  IIIe Chronologies géographiques Afrique Afrique du Sud, Algérie, Angola, Bénin, Botswana, Burkina Faso,...

سبع عيون الاسم الرسمي سبع عيون[1](بالفرنسية: Sabaa Aiyoun)‏[1]  الإحداثيات 33°54′00″N 5°22′00″W / 33.9°N 5.36666667°W / 33.9; -5.36666667  تقسيم إداري  البلد المغرب[2]  التقسيم الأعلى إقليم الحاجب  عدد السكان  عدد السكان 26277 (2014)[1][3]   عدد الأسر 5570 (2014)&...

 

Ancient Indian kingdom Kuru Kingdomc. 1200 BCE – c. 500 BCECapital Āsandīvat (modern Assandh), Hastinapura Indraprastha (modern Delhi) Common languagesVedic SanskritReligion Historical Vedic religionGovernmentMonarchyRaja (King) • 12th–9th centuries BCE Parikshit• 12th–9th centuries BCE Janamejaya LegislatureSabhaHistorical eraIron Age• Established c. 1200 BCE • Kuru Kingdom got divided into Kuru and Vatsa Kingdom ...

 

Classical education curriculum publisher Classical Academic PressStatusActiveFounded2001 (2001)FoundersChristopher Perrin, Greg Lowe, Joelle Hodge, Rob Baddorf, and Aaron LarsonCountry of originUnited StatesHeadquarters locationCamp Hill, Pennsylvania, USDistributionWorldwidePublication typesCurriculum, books, multimediaNonfiction topicsLatin, Greek, Spanish, science, logic, writing, rhetoric, grammar, poetry, literature, history, Classical educationImprintsNovare ScienceOfficial website...

Landing gear extenders installed on a Cessna 140. Landing gear extenders are devices used on conventional or tailwheel-equipped aircraft. They move the wheels forward of the landing gear leg by 2-3 inches (5–8 cm).[1] The installation of landing gear extenders is almost always the result of operational experience with an aircraft design that shows a problem with the landing gear – when the brakes are applied heavily the aircraft has a tendency to go up on its nose and strike ...

 

Central Polish library National LibraryBiblioteka Narodowa52°12′52″N 21°00′16″E / 52.21444°N 21.00444°E / 52.21444; 21.00444LocationWarsaw, PolandTypeNational libraryEstablishedAugust 8, 1747 (276 years ago) (1747-08-08) as Załuski LibraryFebruary 24, 1928 (95 years ago) (1928-02-24) as National LibraryCollectionSize9,728,855 (As of 2019)[1]Legal depositYesOther informationDirectorTomasz MakowskiWebsitewww.bn.org.pl The ...

 

Time spent on any device with a screen For other uses, see Screen time (disambiguation). A person reading on an iPad tablet Screen time is the amount of time spent using a device with a screen such as a smartphone, computer, television, or video game console.[1] The concept is under significant research with related concepts in digital media use and mental health. Screen time is correlated with mental and physical harm in child development.[2] The positive or negative health e...

Music genre Anime songNative nameアニメソングOther namesAnison (アニソン)Stylistic originsKayōkyokuCultural origins1970s, JapanDerivative formsDenpa songmoe songOther topics J-pop Japanese rock Video game music Anime song (アニメソング, anime songu, also shortened to anison (アニソン)) is a genre of music originating from Japanese pop music. Anime songs consist of theme, insert, and image songs for anime, manga, video game, and audio drama CD series, as well as any other ...

 

Abu Bakar JamaliaAnggota DPD RIMasa jabatan2014–2019 Informasi pribadiLahir21 Juli 1953 (umur 70)Kuala Tungkal, Keresidenan Jambi, Sumatra TengahKebangsaanIndonesiaSunting kotak info • L • B H. Abu Bakar Jamalia (lahir 21 Juli 1953)[1] merupakan Senator DPD RI dapil Jambi periode 2014-2019. Sebelumnya ia adalah anggota DPRD Kabupaten Tanjung Jabung Barat periode 1999-2004.[2][3] Riwayat pendidikan SD Negeri 1 Kuala Tungkal (1967) SMP Negeri 1 Kuala...

 

This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed.Find sources: Xu Shouhui – news · newspapers · books · scholar · JSTOR (July 2009) (Learn how and when to remove this template message) In this Chinese name, the family name is Xu. Emperor of Tianwan Xu Shouhui徐壽輝Emperor of TianwanReign1351–1360Born1320Yuan Yanyou 7(...

16th-century European battle This article is about the 1586 Spanish victory. For the 1591 Anglo-Dutch victory, see Siege of Zutphen (1591). Battle of ZutphenPart of the Eighty Years' WarPicture by Johann Jakob Wick illustrating his report about the Battle of Zutphen, published on 12 October 1586Date22 September 1586LocationZutphen, Guelders(present-day the Netherlands)52°8′51″N 6°12′18″E / 52.14750°N 6.20500°E / 52.14750; 6.20500Result Spanish victoryBellig...

 

55°51′50.6″N 4°19′8.9″W / 55.864056°N 4.319139°W / 55.864056; -4.319139 Govan Shipbuilders LimitedHouse flagTypePrivateIndustryShipbuildingPredecessorFairfield Shipbuilding and EngineeringFoundedSeptember 1972Defunct1988FateAcquiredSuccessorKvaerner GovanHeadquartersGovan, Scotland, UKKey peopleLord Strathalmond (Chairman)Eric Mackie OBE (Managing Director)Number of employees6000 (1978)ParentBritish Shipbuilders (1977-1988)SubsidiariesScotstoun Marine Ltd (...

 

Hindu spiritual leader (1922–2013) This article has multiple issues. Please help improve it or discuss these issues on the talk page. (Learn how and when to remove these template messages) A major contributor to this article appears to have a close connection with its subject. It may require cleanup to comply with Wikipedia's content policies, particularly neutral point of view. Please discuss further on the talk page. (May 2023) (Learn how and when to remove this template message) The neut...

Australian animal rights activist, vegan and former criminal Joey CarbstrongBornJoseph Dominic ArmstrongAdelaide, South AustraliaNationalityAustralianOccupationAnimal rights activistKnown forAnimal rights advocacyWebsitewww.joeycarbstrong.com Joseph Dominic Armstrong, known professionally as Joey Carbstrong, is an Australian animal rights activist. A former criminal,[1] he has since become an advocate for animal liberation and veganism through social media and public speaking eng...

 

1961 British filmKongaTheatrical release poster by Reynold BrownDirected byJohn LemontWritten byHerman CohenAben KandelProduced byHerman CohenNathan CohenStuart LevyStarringMichael GoughMargo JohnsJess ConradClaire GordonCinematographyDesmond DickinsonEdited byJack SladeMusic byGerard SchurmannProductioncompanyAnglo AmalgamatedDistributed byAnglo Amalgamated (Eastern hemisphere)American International Pictures (Western hemisphere)Release dates 26 March 1961 (1961-03-26) (Uni...

 

Историческая область Лечхуми Лечху́ми (груз. ლეჩხუმი/Lečxumi) — историческая область в северо-западной Грузии, объединяющая бассейны рек Риони и Цхенисцкали, а также долину реки Ладжанура. Сегодня это часть края Рача-Лечхуми и Нижняя Сванетия, занимает земли Цагерск...

Digital library Not to be confused with HATII. HathiTrustType of siteDigital libraryOwnerUniversity consortiumRevenueUS$3,777,445 (2019 projections for proposal)[1]URLhathitrust.orgCommercialPartially[2]LaunchedOctober 2008; 15 years ago (October 2008)Current statusActiveContent licensePublic domain (with restrictions on Google scans), various[3]Written inPerl, Java[2] HathiTrust Digital Library is a large-scale collaborative repository o...

 

Sports venue in Johannesburg, South Africa Bidvest StadiumFormer namesMilpark StadiumLocationYale Road Braampark, Johannesburg, Gauteng, South AfricaCoordinates26°11′16″S 28°1′42″E / 26.18778°S 28.02833°E / -26.18778; 28.02833OwnerWits UniversityCapacity5,000Field size105 m × 68 m (115 yd × 74 yd)SurfaceGrassTenantsBidvest Wits Bidvest Stadium, is a multipurpose sports stadium in the Braampark, suburb of Johannesburg, South Africa. The stadium has a dedic...

 

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!