อิสรา สุนทรวัฒน์

อิสรา สุนทรวัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มิถุนายน พ.ศ. 2513 (54 ปี)
ประเทศสหรัฐอเมริกา
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2537–2556)
คู่สมรสปัทมา ธรรมรัตน์

อิสรา สุนทรวัฒน์ (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2513) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ประวัติ

อิสรา เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อเล่นว่า "จ๊อบ" เป็นบุตรชายของ นายแสงชัย สุนทรวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และ นางวัชรี สุนทรวัฒน์ รวมถึงเป็นหลานชายของ นายสมชาย สุนทรวัฒน์ อดีตรัฐมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี 4 สมัย

อิศรา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโทจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]

อิศรา สมรสกับ นางสาวปัทมา ธรรมรัตน์[ต้องการอ้างอิง]

การทำงาน

นายอิสรา เป็นที่รู้จักเมื่อเป็นพิธีกรในรายการ "ฟุดฟิดฟอไฟ" รายการสอนภาษาอังกฤษ ทางช่อง 9 แทนนายแสงชัย บิดาที่ล่วงลับไป ซึ่งปัจจุบันมี คาร่า พลสิทธิ์ ร่วมเป็นพิธีกรอีกหนึ่งคน

อิสรา ยังคงทำงานพิธีกร และ เคยเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์มติชน กับเคยเป็นพิธีกรรายการ ข้ามขอบฟ้า ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการต่างประเทศทางสถานีโทรทัศน์ฟ้าวันใหม่ โดยมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นวิทยากรประจำรายการ

ปัจจุบัน อิศรา เป็นคอลัมนิสต์ออนไลน์ ให้กับ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอเมริกาศึกษาในประเทศไทย

งานการเมือง

นายอิสรา สุนทรวัฒน์ ลงรับสมัครเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปทั้งประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยลงในเขต 10 ซึ่งประกอบด้วยเขตห้วยขวาง เขตวัฒนา (เฉพาะแขวงคลองเตยเหนือและแขวงคลองตันเหนือ) กรุงเทพมหานคร และนายอิสรา ก็ได้รับเลือกตั้งไป โดยชนะคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคไทยรักไทย คือ ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ไปเพียงแค่ 102 คะแนน

ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา ในปี พ.ศ. 2548 นายอิสรา ลงสมัครในพรรคเดิม เขตเดิม และพบกับคู่แข่งคนเดิม แต่คราวนี้นายอิสรากลับเป็นฝ่ายแพ้นางสาวณหทัยไปเกือบ 4,000 คะแนน

หลังจากเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปลายปี พ.ศ. 2551 ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายอิสราได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และต่อมาโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกษิต ภิรมย์[2] เพื่อเปิดทางให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาช่วยงานด้านความมั่นคงให้กับนายกรัฐมนตรี

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายอิสรา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 47 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้รับเลือกตั้งถึงลำดับที่ 45

ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ได้รับการเลื่อนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แทน พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี[4] ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  2. ครม.มีมติแต่งตั้ง "อิศรา สุนทรวัฒน์" เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  4. ประกาศสภาผู้เทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายอิสรา สุนทรวัฒน์)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!