ขบวนการอิบาฎี หรือ อิบาฎียะฮ์ (อาหรับ : الإباضية , อักษรโรมัน: al-ʾIbāḍiyya , เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [alʔibaːˈdˤijja] ) เป็นนิกายในศาสนาอิสลาม [ 1] บางส่วนเรียกเป็นนิกายที่สามของศาสนาอิสลาม ร่วมกับนิกายซุนนี และชีอะฮ์
อิบาฎียะฮ์ปรากฏขึ้นประมาณ 60 ปีหลังศาสดามุฮัมมัด เสียชีวิตใน ค.ศ. 632[ 2] ในฐานะสำนักสายกลางของขบวนการเคาะวาริจญ์ [ 3] [ 4] [ต้องการเลขหน้า ]
แม้ว่าผู้นับถือนิกายนี้ร่วมสมัยจะคัดค้านอย่างมากต่อการถูกจัดเป็นพวกเคาะวาริจญ์ก็ตาม ผู้นับถืออิบาฎีมองตนเองว่าเป็นนิกายที่เก่าแก่และแท้จริงที่สุดของศาสนาอิสลาม
ปัจจุบันอิบาฎียะฮ์เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ในประเทศโอมาน ที่มีผู้นับถือถึงมากกว่าหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด แต่มีผู้นับขนาดเล็กในแอลจีเรีย (มะซาบ ) ตูนิเซีย (เกาะญิรบะฮ์ ) ลิเบีย (นะฟูซะฮ์ ) และแทนซาเนีย (แซนซิบาร์ ) ตลอดทั้งประวัติศาสตร์อิสลาม ผู้นับถืออิบาฎียะฮ์ยังคงเผชิญการกดขี่ทางศาสนา ในโลกมุสลิม โดยเฉพาะในสมัยอุมัยยะฮ์ กับอัลโมราวิด และยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบัน[ 7] [ 8] [ 9] [ 10]
ประวัติ
ภูมิหลัง
อิบาฎียะฮ์ก่อตัวขึ้นในฐานะสำนักสายกลางของเคาะวาริจญ์ นิกายที่มีต้นกำเนิดจากมุฮักกิมะฮ์ (محكمة ) และอัลฮะรูรียะฮ์ (الحرورية ) ทั้งคู่เคยเป็นผู้สนับสนุนอะลี ในฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง ที่ละทิ้งครอบครัวอะลี หลังปฏิเสธการอนุญาโตตุลาการระหว่างอะลีกับมุอาวิยะฮ์ที่ 1 ในยุทธการที่ศิฟฟีน เมื่อ ค.ศ. 657[ 11] [ 12]
หลังยุทธการที่ศิฟฟีน ฝ่ายเคาะวาริจญ์มีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งทั้งกับฝ่ายอะลีและอุมัยยะฮ์เกือบทุกครั้ง ฝ่ายเคาะวาริจญ์จัดตั้งขึ้นภายในชุมชนมุสลิมที่สำคัญ ๆ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการกบฏท้องถิ่นต่อเจ้าหน้าที่อุมัยยะฮ์ หลังเกิดฟิตนะฮ์ครั้งที่สอง ขึ้นใน ค.ศ. 680 ฝ่ายเคาะวาริจญ์จึงแตกออกเป็น 4 กลุ่มหลัก (อุศูลุลเคาะวาริจญ์ ) ที่มีระดับความเป็นกลางและความหัวรุนแรงที่แตกต่างกัน สำนักอิบาฎีก่อตั้งขึ้นในฐานะกลุ่มสายกลางที่บัสรา โดยอิงหลักคำสอนของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อิบาฎ แห่งบะนูตะมีม ผู้ที่ได้รับการยอมรับ (อาจได้รับการยอมรับหลังเสียชีวิต) จากผู้ติดตามเป็นอิมาม [ 15]
อ้างอิง
↑ Vallely, Paul (19 February 2014). "Schism between Sunni and Shia has been poisoning Islam for 1,400 years – and it's getting worse" . The Independent .
↑ Library, International and Area Studies. "LibGuides: Ibadi Islam: History" . guides.library.illinois.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-03 .
↑ John L. Esposito, บ.ก. (2014). "Ibadis" . The Oxford Dictionary of Islam . Oxford: Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ August 20, 2017. Ibadis [:] subsect of Khariji Islam founded in the eighth century. Has its strongest presence in Oman , but is also found in North Africa and various communities on the Swahili Coast .
↑ Lewicki, T. (1971). "al-Ibāḍiyya" . ใน Lewis, B. ; Ménage, V. L. ; Pellat, Ch. & Schacht, J. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition . Volume III: H–Iram . Leiden: E. J. Brill. pp. 648–660. OCLC 495469525 .
↑ Ghazal, Amal N. (8 April 2010). Islamic Reform and Arab Nationalism: Expanding the Crescent from the ... - Amal N. Ghazal - Google Books . Routledge. ISBN 9781136996559 . สืบค้นเมื่อ 2022-10-01 .
↑ Thompson, Andrew David (2019-10-31). Christianity in Oman: Ibadism, Religious Freedom, and the Church - Andrew David Thompson - Google Books . Springer. ISBN 9783030303983 . สืบค้นเมื่อ 2022-10-01 .
↑ Islam In Plain and Simple English: BookCaps Study Guide - BookCaps Study Guides Staff - Google Books . BookCaps Study Guides. 2012. ISBN 9781621071792 . สืบค้นเมื่อ 2022-10-01 .
↑ Walker, Bethany; Fenwick, Corisande; Insoll, Timothy (3 September 2020). The Oxford Handbook of Islamic Archaeology - Google Books . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-998787-0 . สืบค้นเมื่อ 2022-10-01 .
↑ Diana Darke, Oman: The Bradt Travel Guide , pg. 27. Guilford: Brandt Travel Guides, 2010. ISBN 9781841623320
↑ Donald Hawley, Oman , p. 200.
↑ Uzi Rabi, The Emergence of States in a Tribal Society: Oman Under Saʻid Bin Taymur, 1932-1970 , pg. 5. Eastbourne : Sussex Academic Press , 2006. ISBN 9781845190804
ข้อมูล
Gaiser, Adam B. (2010). Muslims, Scholars, and Soldiers: The Origin and Elaboration of the Ibadi Imamate Traditions . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-973893-9 .
Gaiser, Adam (2021). "Ibāḍiyya". ใน Fleet, Kate; Krämer, Gudrun ; Matringe, Denis; Nawas, John; Rowson, Everett (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (3rd ed.). Brill Online. doi :10.1163/1573-3912_ei3_COM_30614 . ISSN 1873-9830 .
Hoffman, Valerie Jon (2012). The Essentials of Ibadi Islam . Syracuse : Syracuse University Press . ISBN 9780815650843 .
Wellhausen, Julius (1901). Die religiös-politischen Oppositionsparteien im alten Islam (ภาษาเยอรมัน). Berlin: Weidmannsche buchhandlung. OCLC 453206240 .
อ่านเพิ่ม
Pessah Shinar, Modern Islam in the Maghrib , Jerusalem: The Max Schloessinger Memorial Foundation, 2004. A collection of papers (some previously unpublished) dealing with Islam in the Maghreb, practices, and beliefs.
แหล่งข้อมูลอื่น