อิจิโย ฮิงูจิ (ญี่ปุ่น : 樋口一葉 ; โรมาจิ : Higuchi Ichiyō ; 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 – 23 พฤศจิกายน 1896) ชื่อจริง นัตสึโกะ ฮิงูจิ (ญี่ปุ่น : 樋口夏子 ; โรมาจิ : Higuchi Natsuko ) หรือ นัตสึ ฮิงูจิ (ญี่ปุ่น : 樋口奈津 ; โรมาจิ : Higuchi Natsu )[ 2] เป็นอดีตนักเขียนชาวญี่ปุ่นจากยุคเมจิ และนักเขียนหญิงมืออาชีพคนแรกของวรรณกรรมสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น ฮิงูจิมีความเชี่ยวชาญด้านการประพันธ์เรื่องสั้นและบทกวี อีกทั้งยังเป็นนักจดบันทึกประจำวันรวมเรื่อง
ประวัติ
ชีวิตช่วงแรก
นัตสึโกะ ฮิงูจิ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 ในโตเกียว โดยเป็นลูกคนที่สี่และลูกสาวของที่สอง ของโนริโยชิ ฮิงูจิ และอายาเมะ "ทากิ" ฟูรูยะ[ 5] ผู้ปกครองของเธอมาจากชนบทใกล้จังหวัดยามานาชิ [ 6] แต่บิดาของเธอพยายามจนได้รับสถานะซามูไรมาในปี 1867 อย่างไรก็ตามเขาก็ได้ครองตำแหน่งอยู่ไม่นานก่อนที่ชนชั้นซามูไรจะถูกโค่นล้มลงในการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ การที่ฮิงูจิเติบโตในครอบครัวซามูไรมาก่อนมีอิทธิพลต่อตัวตนของเธอ[ 8]
ในปี 1886 ฮิงูจิเริ่มศึกษาวากะ (กวีญี่ปุ่น) ที่โรงเรียนเอกชนฮางิโนยะ ดำเนินกิจการโดยอูตาโกะ นากาจิมะ [ 6] เธอได้รับบทเรียนกวีและการบรรยายเกี่ยวกับวรรณกรรมญี่ปุ่นเป็นประจำทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการประกวดแต่งกวีประจำเดือนที่ทั้งศิษย์เก่าและปัจจุบันสามารถเข้าร่วมการประกวดได้ บทกวีที่สอนในโรงเรียนนี้ส่วนมากเป็นกวีแบบอนุรักษ์นิยมของยุคเฮฮัง ฮิงูจิรู้สึกด้อยกว่านักเรียนคนอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชนชั้นสูง
แรงกดดันของฮิงูจิในการเป็นนักเขียนนั้นแจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้นในปี 1891 เมื่อเธอเริ่มเขียนไดอารีอย่างจริงจัง ในสมุดของฮิงูจิมีความยาวประมาณ 100 หน้าที่ครอบคลุมชีวิต 5 ปีที่เหลือของเธอ บอกเล่าความรู้สึกของฐานะที่ด้อยกว่าในสังคม ความขลาดของเธอ และความยากจนของครอบครัวที่ค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ไดอารีของฮิงูจิเปรียบได้เหมือนสถานที่ที่เธอสามารถยืนยันเจตจำนง ความรู้สึกนึกคิด และมุมมองของเธอที่มีต่อวรรณศิลป์ของผู้อื่นหรือของผู้อื่นที่มีต่อเธอได้
ความพยายามในการเป็นนักเขียน
ในปี 1889 สองปีให้หลังการเสียชีวิตของพี่ชายคนโต บิดาของเธอเสียชีวิต อันเป็นผลมาจากการลงทุนธุรกิจที่ล้มเหลวจากขาดแคลนเงินทุน นอกจากนี้คู่หมั้นของเธอที่เป็นนักกฎหมายและว่าที่ผู้ว่าการ ซาบูโร ชิบูยะ ก็ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น ฮิงูจิได้ย้ายไปอยู่ที่ฮางิโนยะเพื่อฝึกงานตามคำแนะนำของครู แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนฮิงูจิก็ย้ายออกมาอีกครั้งหลังเธอไม่พอใจในปริมาณงานบ้านที่เธอต้องทำ ฮิงูยิย้ายไปที่ย่านฮงโง พร้อมด้วยมารดาและน้องสาวของเธอ ที่นั่นพวกเธอได้รายได้จากการทอผ้าและบริการซักผ้า[ 16] ฮิงูจิเห็นเพื่อนของเธอที่ประสบความสำเร็จ คาโฮะ มิยาเกะ ผู้แต่งนวนิยาย ยาบุโนะอูงูยซุ (ญี่ปุ่น : 藪の鶯 ; โรมาจิ : Yabu no Iguisu ; นกกระจ้อยญี่ปุ่น ในหมู่ไม้) และมิยาเกะที่ได้รับความเคารพยิ่ง ฮิงูจิตัดสินใจที่จะเป็นนักเขียนนวนิยายเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของเธอ
ความพยายามของฮิงูจิขั้นต้นในการเขียนเรื่องแต่งคือการเขียนในรูปแบบของเรื่องสั้นก่อน ในปี 1891 ฮิงูจิพบกับที่ปรึกษาในอนาคตที่เธอคิดว่าน่าจะคอยให้ความช่วยเหลือเธอได้ โทซุย นาการาอิ ฮิงูจิตกหลุมรักเขาโดยที่ไม่รู้ว่าในอายุ 31 ปีของเขา นาการาอินั้นมีชื่อเสียงจากการชู้สาว อีกทั้งยังไม่รู้ตัวอีกว่าเขาได้เขียนวรรณกรรมชื่อดังที่มุ่งเน้นเพียงแต่ความสนุกเพลิดเพลินของสาธารณชนและไม่ได้หวังว่าวรรณกรรมของเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมที่มีความจริงจัง ที่ปรึกษาของเธอไม่ได้คืนความรักของเธอให้แก่เขา หากแต่ดูแลในฐานะน้องสาวเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวนี้จะเป็นแก่นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ในงานเขียนของฮิงูจิ
ในเดือนมีนาคม 1892 ฮิงูจิได้ออกวรรณกรรมเรื่องแรกชื่อ ยามิซากูระ (ญี่ปุ่น : 闇桜 ; โรมาจิ : Yamisakura ; ซากูระยามค่ำคืน) ตีพิมพ์ในฉบับแรกของนิตยสารมูซาชิโนะ ภายใต้นามปากกา อิจิโย ฮิงูจิ เรื่องราวจากยุคแรกนี้ (1892–1894) ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากความยากจนในยุคเฮอัง ฮิงูจิรู้สึกถูกบีบบังคับในการฝึกสอนการเขียนวรรณกรรมคลาสสิก เนื้อเรื่องนั้นไม่แข็งแรง มีการพัฒนาตัวละครเพียงเล็กน้อย และเต็มไปด้วยความรู้สึกอ่อนไหวที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ฮิงูจิเขียนไปอย่างพร้อมกันในไดอารีของเธอ แต่หลังจากนั้นฮิงูจิก็พัฒนาความสามารถของเธออย่างรวดเร็ว ฮิงูจิเริ่มมีแก่นเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอ เช่น ความสัมพันธ์แบบสามเหลี่ยมความรักของหญิงสาวโดดเดี่ยวและสวยงามที่สูญเสียบิดามารดาของพวกเธอไป, ชายหนุ่มหล่อที่ทิ้งแฟนสาวของเขาไป (และยังคงอยู่ในเนื้อเรื่องโดยไม่โดดเด่น) และคนขอทานเข้าตาจนที่ตกหลุมรักผู้หญิง อีกหนึ่งแก่นเรื่องที่ฮิงูจิมักใช้คือความทะเยอทะยานและความโหดร้ายของชนชั้นกลางในยุคเมจิ
วรรณกรรมเรื่องอูโมเรงิ (ญี่ปุ่น : うもれ木 ; โรมาจิ : Umoregi ) คือสัญญาณในการเป็นนักเขียนมืออาชีพของฮิงูจิ อูโมเรงิ ถูกตีพิมพ์ในวรสารที่มีชื่อเสียง มิยาโกะโนะฮานะ ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 1892 เพียงแค่ 9 เดือนหลังจากเธอได้เริ่มเขียนอย่างจริงจัง ผลงานของฮิงูจิได้รับความสนใจและเธอเองก็ได้รับการยอมรับในฐานะนักเขียนหน้าใหม่
บั้นปลายชีวิต
อนุสรณ์สถานของอิจิโย ฮิงูจิในบ้านเกิดของเธอที่วัดจิอุนจิ โคชู จังหวัดยามานาชิ
ฮิงูจิบนธนบัตร 5,000 เยน ประกาศใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2004
ในปี 1893 ฮิงูจิ มารดา และน้องสาวของเธอย้ายออกมาจากบ้านชนชั้นกลาง และย้ายมาอยู่ในเมืองยากจนที่พวกเขาเปิดร้านเครื่องเขียนก่อนที่จะล้มไป ที่พักอาศัยใหม่ของพวกเขาใช้เวลาเดินทางด้วยการเดิน 5 นาทีจากโยชิวาระ ซึ่งเป็นย่านโคมแดง ในโตเกียว ประสบการณ์ของฮิงูจิระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ในละแวกนี้จะถูกนำไปใช้เขียนวรรณกรรมของเธอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง ทาเกะคูราเบะ (ญี่ปุ่น : たけくらべ ; โรมาจิ : Takekurabe )
เรื่องราวชีวิตผู้ใหญ่ของฮิงูจิ (1894–1896) นั้นไม่ได้มีเพียงแค่ประสบการณ์ที่เธอได้พักอาศัยอยู่ใกล้ย่านโคมแดงและการตระหนักรู้ถึงสภาพอันเลวร้ายของผู้หญิงเท่านั้น แต่โดยอิทธิพลจากเรื่องแต่งของอิฮาระ ไซกากุ นักเขียนในศตวรรษที่ 17 ที่ฮิงูจิได้ค้นพบ วรรณกรรมของฮิงูจิในยุคนี้ เช่น โอสึโงโมริ (ญี่ปุ่น : 大つごもり ; โรมาจิ : Ōtsugomori ; วันสุดท้ายของปี), นิโงริเอะ (ญี่ปุ่น : にごりえ ; โรมาจิ : Nigorie ), จูซังยะ (ญี่ปุ่น : 十三夜 ; โรมาจิ : Jūsanya ; คืนที่สิบสาม), ทาเกะคูราเบะ และ วากาเระมิจิ (ญี่ปุ่น : わかれ道 ; โรมาจิ : Wakaremichi
ความโด่งดังของฮิงูจิจากวรรณกรรมที่ออกล่าสุดของเธอแพร่ไปยังผู้ที่ครองอำนาจในโตเกียวต่าง ๆ ฮิงูจิได้รับการยกย่องว่าเป็น "สตรีคนสุดท้ายของยุคเมจิเก่า" ในบ้านอันเรียบง่ายของฮิงูจิ เธอได้รับการเยี่ยมเยียนโดยนักเขียน นักศึกษากวี ผู้ชื่นชอบในผลงาน นักวิจารณ์ และบรรณาธิการเพื่อขอให้เธอมาร่วมงานด้วย หลังจากฮิงูจิที่มักมีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้ง จึงเลิกการเขียนไป ต่อมาบิดาและพี่ชายคนโตของฮิงูจิที่เป็นวัณโรคมาก่อนหน้าเธอ ก็ทำให้ได้รับเชื้อวัณโรคด้วย ฮิงูจิเสียชีวิตในวันที่ 23 พฤศจิกายน 1896 ด้วยอายุ 24 ปี[ 29] ร่างของฮิงูจิถูกฝังไว้ที่สุสานสึกิจิฮงกังจิวาดาโบริในซูงินามิ โตเกียว
งานเขียนคัดสรร
ฮิงูจิได้เขียนผลงานเรื่องสั้นทั้งสิ้น 21 เรื่อง กวีเกือบ 4,000 บท รวมถึงเรียงความและไดอารีหลายเล่ม ปีดังต่อไปนี้หมายถึงปีที่มีการตีพิมพ์ครั้งแรก
เรื่องสั้น
การแปล
วรรณกรรมของฮิงูจิถูกแปลในหลายภาษา การแปลภาษาอังกฤษครั้งแรกย้อนกลับไปในช่วงปี 1903 (โอสึโงโมริ ; ญี่ปุ่น : 大つごもり ; โรมาจิ : Ōtsugomori ; The Last Day of the Year โดยเทอิ ฟูจิโอะ) ในปี 1981 โรเบิร์ต ลิญงส์ แดนลี่ ได้คัดเลือกวรรณกรรม 9 เรื่องของฮิงูจิและนำมาแปลใหม่อีกครั้
วรรณกรรมบางเรื่องยังถูกแปลจากภาษาญี่ปุ่นคลาสสิก ที่ฮิงูจิใช้ในทุกเรื่องที่เธอเขียน[ 32] มาเป็นภาษาญี่ปุ่นสมัยปัจจุบัน เช่น การแปลของนิโงริเอะ (ญี่ปุ่น : にごりえ ; โรมาจิ : Nigorie ) โดยฮิโรมิ อิโต [ 33] [ 34] หรือทาเกะคูราเบะ โดยฟูมิโกะ เอ็นจิ [ 35]
มรดก
ภาพวาดของฮิงูจิถูกนำมาใช้บนธนบัตร 5,000 เยน ในปี 2004 ทำให้ฮิงูตจิเป็นสตรีคนที่สามที่ได้อยู่บนธนบัตรญี่ปุ่นตามหลังจักรพรรดินีจิงงู ในปี 1881 และ มูราซากิ ชิกิบุ ในปี 2000
วรรณกรรมของเธอเรื่องโอสึโงโมริ , นิโงริเอะ , จูซังยะ และทาเกะคูราเบะ มักถูกดัดแปลงไปเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อยู่บ่อยครั้ง เช่น An Inlet of Muddy Water (1953, กำกับโดยทาดาชิ อิไม ) และ ทาเกะคูราเบะ (1955, กำกับโดยเฮโนซูเกะ โกโช )
ภาพยนตร์ที่อิงจากชีวิตของฮิงูจิเรื่องฮิงูจิ อิจิโย ถูกฉายในปี 1939 นำแสดงโดย อิซูซุ ยามาดะ และกำกับโดยเคียวตาโร นามิกิ[ 36] [ 37] ฮิงูจิยังเป็นตัวชูโรงในละครเวทีโดยฮิซาชิ อิโนอูเอะ เรื่องซุตซือคาตาโกริ ฮิงูจิ อิจิโย ที่ทำการแสดงครั้งแรกในปี 1984[ 38]
อ้างอิง
↑ "Higuchi Ichiyō" . Britannica.com . สืบค้นเมื่อ 14 October 2021 .
↑ "樋口一葉 (Higuchi Ichiy)" . Kotobank (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 17 October 2021 .
↑ 6.0 6.1 Comité franco-japonais de Tokio (January 1936). France-Japon : Bulletin mensuel d'information (ภาษาฝรั่งเศส). p. 40.
↑ Ortabasi & Copeland 2006 , p. 129.
↑ Ortabasi & Copeland 2006 , p. 130.
↑ Ortabasi & Copeland 2006 , p. 131.
↑ Van Compernolle, Timothy J. (1996). The Uses of Memory: The Critique of Modernity in the Fiction of Higuchi Ichiyō . Cambridge (MA) and London: Harvard University Press. p. 6. ISBN 978-0-674-02272-0 .
↑ Kosaka, Kris (21 July 2018). "Fiercely intelligent and unstoppably prolific, Hiromi Ito is a modern literary provocateur" . Japan Times . สืบค้นเมื่อ 22 June 2021 .
↑ Itō, Hiromi (1996). にごり江 現代語訳 • 樋口一葉 (Nigorie: Modern language translation • Higuchi Ichiyō) . Tokyo: Kawadeshobo Shinsha. ISBN 978-4-309-40732-6 .
↑ Higuchi, Ichiyō; Ōgai, Mori (2009). たけくらべ・山椒大夫 (Nigorie, Sanshō Dayū) . แปลโดย Enchi, Fumiko; Teiichi, Hirai. Tokyo: Kodansha. ISBN 978-4-06-282651-8 .
↑ Galbraith IV, Stuart (2008). The Toho Studios Story: A History and Complete Filmography . Lanham, Toronto, Plymouth: Scarecrow Press. p. 30. ISBN 978-0-8108-6004-9 .
↑ "樋口一葉 (Higuchi Ichiyō)" . Kinenote (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 17 October 2021 .
↑ "頭痛肩こり樋口一葉 (Zutsuu katakori Higuchi Ichiyō)" . Kotobank (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 21 October 2021 .
งานอ้างอิง
Danly, Robert Lyons (1980). A Study of Higuchi Ichiyō (PhD). Yale University. OCLC 753731293 .
Danly, Robert Lyons (1981). In the Shade of Spring Leaves: The Life and Writings of Higuchi Ichiyō . New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-30002-614-6 .
Keene, Donald (1956). Modern Japanese Literature . New York: Grove Press. ISBN 978-0-80215-095-0 .
Ortabasi, Melek; Copeland, Rebecca L. (2006). The Modern Murasaki: Writing by Women of Meiji Japan . New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-23113-775-1 .
Rubin, Jay (2001). Modern Japanese Writers . New York: Charles Scribner's Sons. ISBN 978-0-68480-598-6 .
Tanaka, Yukiko (2000). Women Writers of Meiji and Taishō Japan: Their Lives, Works and Critical Reception, 1868–1926 . Jefferson: McFarland. ISBN 978-0-78640-852-8 .
Winston, Leslie (2004). "Female Subject, Interrupted in Higuchi Ichiyō's 'The Thirteenth Night". Japanese Language and Literature . 38 (1): 1–23. doi :10.2307/4141270 . JSTOR 4141270 .
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ ศิลปิน ประชาชน อื่น ๆ