อารักษ์ อมรศุภศิริ |
---|
|
สารนิเทศภูมิหลัง |
---|
ชื่อเกิด | อารักษ์ อมรศุภศิริ |
---|
เกิด | 2 กันยายน พ.ศ. 2527 (40 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
---|
อาชีพ | - นักดนตรี
- นักแต่งเพลง
- นักแสดง
- นายแบบ
|
---|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน |
---|
สังกัด | |
---|
อารักษ์ อมรศุภศิริ (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2527) ชื่อเล่น เป้ เป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง นักแสดง และนายแบบชาวไทย เข้าสู่วงการบันเทิงจากการเดินแบบ ก่อนจะมีผลงานเพลงในฐานะมือกีต้าร์ของวงสเลอ และเริ่มเป็นที่รู้จักจากผลงานภาพยนตร์เรื่อง บอดี้ศพ 19
ประวัติ
อารักษ์ อมรศุภศิริ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2527 เป็น ลูกชายคนโต ของ คุณพ่อ ไพโรจน์ อมรศุภศิริ และ คุณแม่ ระเบียบ ศรียี่ทอง มีน้องสาว 1 คน ชื่อ มาริสา อมรศุภศิริ (ชื่อเล่น : ปอม)
การศึกษา
อารักษ์เข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลจันทร์เจ้า จบการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ และมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ระดับอุดมศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ
ผลงาน
อารักษ์ เข้าสู่วงการบันเทิงจากการเดินแบบ และ ถ่ายแบบลงนิตยสารแฟชั่น ขณะเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่ บริษัท เกรย์ ฮาวนด์
เพลง
ในปี พ.ศ. 2548 อารักษ์ ถูกชักชวนให้เข้าร่วมวงสเลอในฐานะมือกีต้าร์ ซึ่งในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกอีก 4 คน ได้แก่ จักรพันธ์ บุณยะมัต (ชื่อเล่น : เย่ ; ตำแหน่ง : ร้องนำ) ธิติพันธุ์ อนะวัชพงษ์ (ชื่อเล่น : เอม ; ตำแหน่ง : กลอง) ธนันต์ บุญญธนาภิวัฒน์ (ชื่อเล่น : บู้ ; ตำแหน่ง : เบส) และ ธีรวัต อุทัย (ชื่อเล่น : แบงค์ ; ตำแหน่ง : ทรัมเปต) หลังจากตระเวนเล่นคอนเสิร์ตตามงานดนตรีนอกกระแส ควบคู่ไปกับการทำเดโมส่งค่ายเพลง ในปี พ.ศ. 2549 วงสเลอ ก็ได้ออกอัลบั้มเต็มชุดแรก (Boo!) ในสังกัด สมอลล์รูม ด้วยแนวเพลงสไตล์อัลเทอร์เนทีฟร็อก
วงสเลอ เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะคลื่นลูกใหม่ของวงการดนตรีนอกกระแสในไทย และ ได้รับเชิญจาก นอยซ์เดอลุกซ์ เรคคอร์ดส ให้ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ เมืองฮัลเลอ ประเทศเยอรมนี[1] ก่อนอัลบั้มชุดที่สองของวงสเลอ (Bum) จะออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 อารักษ์ ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก (ออโต้ อีโรติก) ในสังกัด สมอลล์รูม ด้วยแนวเพลงสไตล์เพียวโฟล์ก ผ่านเครื่องดนตรีเพียงแค่ 2 ชิ้น คือ กีต้าร์โปร่ง และ ฮาร์โมนิก้า[2] ควบคู่ไปกับอัลบั้มชุดที่สามของวงสเลอ (Boong)
อารักษ์ ในฐานะศิลปินเดี่ยว และ นักแต่งเพลง ถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เรื่อง สไตล์การร้องซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก บ็อบ ดีแลน และ เนื้อหาของเพลงที่เสียดสีสังคม[3] แต่ไม่นานนักหลังจากปล่อยซิงเกิลแรก "มาเลเซีย" กลับกลายเป็นเพลงฮิตติดปาก ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 คลื่นวิทยุในไทยอยู่หลายสัปดาห์[4] ส่งผลให้ อารักษ์ ได้รับรางวัล คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 8 สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2553
จนกระทั่งในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 อารักษ์ ประกาศถอนตัวออกจากวงสเลอ ด้วยเหตุผลเรื่องเวลาไม่ตรงกัน[5]
อารักษ์ แอนด์ เดอะปีศาจแบนด์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 อารักษ์ ได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง (อารักษ์ แอนด์ เดอะปีศาจแบนด์) ในสังกัด บีลีฟ เรคคอร์ดส ร่วมกับ เดอะปีศาจแบนด์ ซึ่งในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิก 2 คน ได้แก่ วงศ์วริศ อาริยวัฒน์ (ชื่อเล่น : อัด ; ตำแหน่ง : แบนโจ) และ สุธัช นฤนาทวานิช (ชื่อเล่น : เนม ; ตำแหน่ง : ดับเบิ้ลเบส) ด้วยแนวเพลงสไตล์โฟล์กคันทรี่ โดยยังคงมีเนื้อหาของเพลงที่สะท้อนสังคม แต่ฟังสบายเข้าใจง่ายขึ้น[6][7] หลังจากปล่อย 2 ซิงเกิลแรก "ไก่" ที่กลับมาสร้างความฮือฮาให้กับวงการดนตรีในไทยอีกครั้ง และ "สมศรี" ที่ได้รับคำชมอย่างล้นหลาม ด้วยเนื้อหาของเพลงที่เตือนใจวัยรุ่น เรื่อง การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่งผลให้ อารักษ์ และ วงเดอะปีศาจแบนด์ ได้รับรางวัล สีสันอวอร์ด ครั้งที่ 25 สาขาอัลบั้มยอดเยี่ยม และ สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม เพลง "ความรุนแรง" ประจำปี พ.ศ. 2555
หลังจากห่างหายไปนานกว่า 4 ปี อัลบั้มชุดที่สาม (เหล็กกับไม้) ของ อารักษ์ และ เดอะปีศาจแบนด์ ก็ได้ออกจำหน่ายในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ในสังกัด วอท เดอะ ดัก ด้วยแนวเพลงสไตล์โฟล์คร็อค ขณะนี้อยู่ระหว่างการปล่อยซิงเกิลจากอัลบั้มที่ 4 โดยมีการปล่อยซิงเกิลใหม่เดือนละ 1 เพลง
รายชื่ออัลบั้ม
|
รายละเอียด
|
รายชื่อเพลง
|
ออโต้ อีโรติก
|
|
- ดอกไม้ตูม
- เต้น
- มาเลเซีย
- ชิงช้าสวรรค์
- แขวนอยู่บนเส้นด้าย
- บ้านนอก
- เจ้าเด็กน้อย
- สิ่งที่สวยงามมักจะอยู่ไกลออกไป
- ซาดิสม์
- นอน
- อดีต
- ไม่รู้
- ปากกาอันทรงพลัง
- กระสุนปืน
- ฉันจะคิดถึงเธอ
|
อารักษ์ แอนด์ เดอะปีศาจแบนด์
|
- ออกจำหน่าย : 29 พฤศจิกายน 2555
|
- หนุ่มสาว
- ไก่
- แฟน
- สมศรี
- อ่องอ๊องเอ
- รถสปอร์ต
- ไมโครเวฟ
- ความรุนแรง
- ทีวี
- บ้าน
- หลอกฉันที
- โจ-พล
- ไม่เท่ากัน
- งานศพ
- ชิซึกะ (Demo)
- หนุ่มสาว (Remix)
|
เหล็ก กับ ไม้
|
- ออกจำหน่าย : 4 กุมภาพันธ์ 2560
|
- บอกฉันที
- ร้อย
- เพลงรัก
- ฉันออกไปเต้นกับเพลงที่ไม่คิดจะฟัง
- แพ้
- บู๊
- แทงหลัง
- คิดถึง
- ขู่
- ชู้ทางกาย
- พลังที่หว่างขา
- รักนักร้อง
- เดา
- รอ
- กายฉันว่ายน้ำไปใจฉันคิดถึงเธอ
- อย่าเล่นกับไฟ
|
อาราโกชิน่า
|
- ออกจำหน่าย : 11 พฤศจิกายน 2562
|
- ไม่ต้องทำหรอกบุญ
- รักเธอคนเดียว
- สอนใคร
- ไม่บอก
- ผีเสื้อ
- เธอเลิกยากเหมือนบุหรี่
|
BIG
|
- ออกจำหน่าย : 26 สิงหาคม 2564
|
- เห็นหน้าเธอฉันเจอแต่ปัญหา (Problems)
- เพื่อนที่ทำงาน (co-worker) Ft. TIMETHAI
- หมา (Dog)
- คนสวย (Beautiful one) Ft. AUTTA
- อิจฉานายจัง (Envy)
- ชื่อเก่า (Pet Names)
|
The Back Seat
|
- ออกจำหน่าย : 18 ตุลาคม 2565
|
- เบาะหลัง
- อีลุ่ยฉุยแฉก
- Teamwork Ft. PEE CLOCK
- ผี (ghosted)
- เชิญด่า (idc)(骂吧)
|
อกหัก ติดยา หมาตาย
|
|
- อยากเป็นเสี่ยเลี้ยงต้องทำไง (Sugar Daddy)
- แฟนใหม่เธอใช้ไม่ได้ (Bad New Boy)
- พาของคุณมาเอง (Bring Your Own)
|
อื่น ๆ
ภาพยนตร์
บอดี้ศพ 19 (2550) และ รักสามเศร้า (2551) ผลงานภาพยนตร์ 2 เรื่องแรกของ อารักษ์ นอกจากจะทำให้ อารักษ์ รู้สึกว่าการแสดงเป็นเรื่องสนุกท้าทายแล้ว[12] ความสำเร็จของภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่อง ยังส่งผลให้ อารักษ์ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะนักแสดง และ มีผลงานภาพยนตร์ต่อเนื่องในปีถัดมา
ผลงานละคร
ละครโทรทัศน์
ผู้กำกับภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น
- Day Dream (2552)
- 2 ขวบ (2555)
- Before Friend Zone (2562)
- ACROSS THE YOUNIVERSE (2562)
- The Silence Phobia กลัวความเงียบ (2563)
มิวสิกวิดีโอ
พิธีกร
นักมวย
นักยูโด
- รายการ CU JUDO TOURNAMENT 18 การแข่งขันยูโดสายขาว-เขียว โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 16 มีนาคม 2562[44]
หนังสือ
- สิ่งที่สวยงามมักจะอยู่ไกลออกไป (พิมพ์ครั้งแรกปี 2554)
รางวัล
อ้างอิง