นาวาอากาศตรี อัษฎาวุธ วัฒนางกูร อดีตอธิบดีกรมมหาดเล็ก 904[1][2]ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ราชการ
บริหารส่วนกลาง สำนักพระราชวัง[3] รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สนับสนุนการถวายบินแก่องค์ประธานศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการ[4] อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายมาตรฐานความปลอดภัยและพัฒนาทรัพยากรการบิน อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัทการบินไทย อดีต ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรการบิน อดีต ผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรมนักบิน บริษัทการบินไทย ร่วมงานกับบริษัท การบินไทยเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2538[5]และดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัทการบินไทยเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
เป็นบุตร เรืออากาศตรี อาชีพ วัฒนางกูร กับ นาวาอากาศเอกหญิง พูนศรี ทองปรีชา น้องชายของ ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร หรือ วรฑา วัฒนะชยังกูร อดีตคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 18 โรงเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ 25 นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบรุ่น 91[6] จบการศึกษาสูงสุดปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโยธา HOCHSCHULE DER BUNDESWEHR MUENCHEN FEDERAL REPUBLIC OF GERMANY
ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัทการบินไทย ต่อจาก เรืออากาศเอกประวิตร ชินวัตร[7] ซึ่งเป็นรุ่นพี่นักเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ 16 โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 9 ลูกพี่ลูกน้อง ทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรี สมรสกับ นางสาววนัสบดี พลอยทรัพย์ โดยรับพระราชทานน้ำสังข์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เมื่อ 24 กันยายน 2567
ตระกูลวัฒนางกูร
นาวาอากาศตรีอัษฎาวุธ วัฒนางกูรเป็นหลานของ จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูรอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและนาง พรรณี วัฒนางกูร ภรรยา จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูรหนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกที่ไต้หวัน
อีกทั้งเป็นอาของ นางสาวกวิตา วัฒนะชยังกูรและนายภาคิน วัฒนะชยังกูร บุตร ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร [8]ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นอดีต คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และพิธีกรทางสถานีช่อง 7
กรรมการบริษัท
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย[9]
บริษัท เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ[10]จำกัด (มหาชน)
พระอาจารย์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
นาวาอากาศตรี อัษฎาวุธ วัฒนางกูร เป็นพระอาจารย์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ[11][12] ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรมนักบิน เมื่อ พ.ศ. 2547 และเป็นนักบินผู้ช่วยในการทำการบินในเที่ยวบินมหากุศลไปเชียงใหม่ ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2550 TG8870/8871 และ TG8842/8843 ไปยังพุทธคยาประเทศอินเดีย 13 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2553 และเป็นนักบินผู้ช่วย TG8866 จากกรุงเทพ ไปขอนแก่นใน วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัทการบินไทย
รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัทการบินไทย เป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดของกัปตันการบินไทย โดยตำแหน่งนี้จะเป็นตำแหน่งที่กัปตันอาวุโสของการบินไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเท่านั้น อาจถือว่าเทียบเท่าตำแหน่งหัวหน้านักบินบริษัทการบินไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง