หอยเบี้ยจักจั่น
หอยเบี้ยจักจั่น
|
|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
|
อาณาจักร:
|
Animalia
|
ไฟลัม:
|
Mollusca
|
ชั้น:
|
Gastropoda
|
วงศ์ใหญ่:
|
Cypraeoidea
|
ไม่ได้จัดลำดับ:
|
clade Caenogastropoda clade Hypsogastropoda clade Littorinimorpha
|
วงศ์:
|
Cypraeidae
|
สกุล:
|
Monetaria
|
สปีชีส์:
|
M. moneta
|
ชื่อทวินาม
|
Monetaria moneta (Linnaeus, 1758)
|
ชนิดย่อย
|
- Monetaria moneta barthelemyi (f) Bernardi, M., 1861
- Monetaria moneta erosaformis (f)
- Monetaria moneta harrisi (f) Iredale, T., 1939
- Monetaria moneta icterina (f) Lamarck, J.B.P.A. de, 1810
- Monetaria moneta rhomboides (f) Schilder, F.A. & M. Schilder, 1933
- Monetaria moneta tuberculosa (f) Quoy, J.R.C. & J.P. Gaimard, 1834
|
|
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
|
ชื่อพ้อง[1]
|
- Monetaria monetacongo Gmelin, J.F., 1791
- Cypraea moneta Linnaeus, 1758 (basionym)
- Cypraea numisma Röding, P.F., 1798
- Cypraea gibbosa Schröter, J.S., 1804
- Cypraea marginata Kiesenwetter, 1872
- Monetaria ethnographica Rochebrune, A.-T. de, 1884
- Monetaria mercatorium Rochebrune, A.-T. de, 1884
- Monetaria pleuronectes Rochebrune, A.-T. de, 1884
- Monetaria vestimenti Rochebrune, A.-T. de, 1884
- Monetaria chionella Sulliotti, G.R., 1924
- Monetaria britannica Schilder, F.A., 1927
- Monetaria candida Dautzenberg, Ph. & J.L. Bouge, 1933
- Monetaria circumvallata Schilder, F.A. & M. Schilder, 1933
- Monetaria ethnographica circumvallata Schilder, F.A. & M. Schilder, 1933
- Monetaria moneta subalata (f) Schilder, F.A. & M. Schilder, 1933
- Monetaria isomeres Iredale, T., 1939
- Erosaria monetoides Iredale, T., 1939
- Monetaria moneta endua Steadman, W.R. & B.C. Cotton, 1943
- Monetaria moneta erua Steadman, W.R. & B.C. Cotton, 1943
- Monetaria moneta etolu Steadman, W.R. & B.C. Cotton, 1943
- Cypraea annulifera Coen, G.S., 1949
- Monetaria bulgarica Kojumdgieva, E., 1960
|
หอยเบี้ยจักจั่น หรือ หอยเบี้ยจั่น (อังกฤษ: Money cowry) เป็นหอยทะเลฝาเดียวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monetaria moneta (ศัพทมูลวิทยา: moneta (/โม-เน-ตา/) เป็นภาษาละตินแปลว่า "เงินตรา"[2]) ในวงศ์ Cypraeidae
มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ทะเลแดง อินโด-แปซิฟิก นอกชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกากลาง ชายฝั่งทะเลทวีปแอฟริกาตอนตะวันออกและใต้ ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลญี่ปุ่น ไปจนถึงโอเชียเนีย ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเลที่ลอยมาตามกระแสน้ำ
เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ในภาษาไทยก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "รูปี" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล[3]
นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังใช้เป็นเครื่องรางของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือนำไปตกแต่งพลอยเรียกว่า "ภควจั่น" ในเด็ก ๆ เชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี [4]
ปัจจุบัน เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังนิยมสะสมกันเป็นของประดับและของสะสมกันอีกด้วย โดยมีชนิดที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ คือ "ไนเจอร์" (Niger) ที่หอยจะสร้างเมลานินสีดำเคลือบเปลือกไว้จนกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำทั้งหมด และชนิดที่มีราคาสูงที่สุด เรียกว่า "โรสเตรท" (Rostrat) หรือ หอยเบี้ยจักจั่นงวง คือ เป็นหอยเบี้ยจักจั่นในตัวที่ส่วนท้ายของเปลือกมิได้กลมมนเหมือนเช่นปกติ แต่สร้างแคลเซี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายปี จนกระทั่งยาวยืดออกมาและม้วนขึ้นเป็นวงอย่างสวยงามเหมือนงวงช้าง ซึ่งหอยในรูปแบบนี้จะพบได้เฉพาะแถบอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะนิวแคลิโดเนียที่เดียวในโลกเท่านั้น มีการประเมินราคาของเปลือกหอยลักษณะนี้ไว้ถึง 25 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคาของเปลือกหอยที่มีค่าสูงที่สุดในโลกอีกด้วย[3]
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|
|