จินดา สนิทวงศ์
|
---|
|
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 |
---|
เสียชีวิต | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530 (71 ปี) |
---|
สัญชาติ | ไทย |
---|
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
---|
บุตร | 3 คน |
---|
บิดามารดา | |
---|
พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์[1] (26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530) เป็นบุตรของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นพระมาตุลา (น้า)ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
การศึกษา
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2469 ปริญญาแพทยศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2484 เริ่มเป็นแพทย์ทหารไปปฏิบัติราชการสงครามอินโดจีนเมื่อกลับมาแล้วเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลกลาง ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามเลิกแล้วได้ย้ายไปทำงานที่โรงพยาบาลเลิดสินซึ่งเป็นโรงพยาบาลเปิดใหม่ต่อมาได้รับทุนฟูลไบร์ทไปศึกษาและฝึกงานศัลยกรรมกระดูกที่ SyracuseUniversity แล้วทำงานต่อที่สหรัฐอเมริกากลับมาทำงานต่อที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจัดตั้งแผนกศัลยกรรมกระดูกขึ้นเป็นแผนกเฉพาะในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
รับราชการ
หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เริ่มรับราชการสนองพระเดชพระคุณเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นครั้งคราว พร้อมกับทำงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าไปด้วยซึ่งในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จแปรพระราชฐานบ่อยขึ้น หม่อมหลวงจินดาต้องตามเสด็จพระราชดำเนินด้วย การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในแต่ละครั้งทรงรับเอาราษฎรเป็นคนไข้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมหลวงจินดาร่วมรักษาคนไข้
ขณะนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทราบถึงความไม่สะดวกของหม่อมหลวงจินดา จึงย้ายหม่อมหลวงจินดาไปเป็นแพทย์ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดและส่งมาปฏิบัติหน้าที่ถวายการรักษาโดยตรงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2503 – 2510 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีหมายกำหนดการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นทางการเกือบ 30 ประเทศ หม่อมหลวงจินดาในขณะนั้นมียศพันเอก ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินทุกประเทศในฐานะแพทย์ประจำพระองค์ การที่หม่อมหลวงจินดาได้ตามเสด็จพระราชดำเนินเป็นระยะเวลายาวนาน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ
ครอบครัว
หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 3 คน คือ
- พลอากาศเอกจารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับกานดา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศรืรัชยานนท์)
- คุณหญิงบุษยา ไกรฤกษ์ สมรสกับดร.จิตรพัฒน์ ไกรฤกษ์
- พันตรีภาดร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับพรพิมล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เอี่ยมบุญลือ)
ชีวิตบั้นปลาย
เมื่ออายุได้ 67 ปี หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เห็นว่าตนเองมีอายุมากแล้วสมควรที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำพระองค์แทนต่อไปจึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ แต่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไม่ทรงพระราชทานพระราชานุญาต ยังคงให้หม่อมหลวงจินดาเป็นแพทย์ประจำพระองค์สืบต่อมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ดนัย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกคนหนึ่ง
พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530 สิริอายุ 71 ปี 59 วัน พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ปีเดียวกัน ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พลโท หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์
|
|
อ้างอิง
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/001/1.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ เล่ม 104 ตอนที่ 226 หน้า 7780-7781 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2530
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๘๕๖, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๕๙, ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๔๔, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๕๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๑๔๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๔๒, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๒๖๙, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๖๐, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖