หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา


กมลา ยุคล ณ อยุธยา

เกิดกมลา เศรษฐี
8 มกราคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
คู่สมรสหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บุตรหม่อมราชวงศ์ศรีคำรุ้ง ยุคล
หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล

หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เศรษฐี; เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น บี๋ เป็นหม่อมในหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

ประวัติ

หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา มีบรรพชนฝั่งบิดาเป็นชาวซิกข์นามธารีจากประเทศปากีสถาน และมีมารดาเป็นชาวอีสาน[1][2] หม่อมกมลามีบุตรและธิดากับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล รวม 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์ศรีคำรุ้ง ยุคล หรือ คุณหญิงแมงมุม (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2527) และ หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม (เกิด 28 กันยายน พ.ศ. 2528)

หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสร้างของ บริษัท พร้อมมิตรภาพยนตร์ ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล คือ ครูสมศรี คนเลี้ยงช้าง น้องเมีย มือปืน สาละวิน เฮโรอีน เสียดาย เสียดาย 2 กล่อง และสุริโยไท ได้ร่วมงาน และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2526 โดยทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ และผู้ควบคุมการผลิต ดูแลความเรียบร้อยในกองถ่าย รวมทั้งการควบคุมดูแลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งหมด รวมทั้งการเดินทางไปเจรจากับค่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ ของภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท หม่อมกมลาจะเป็นผู้ประสานงาน และเป็นผู้เจรจาร่วมกับตัวแทนของ บริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด

ผลงานแสดง

ภาพยนตร์

  • หล่อลากดิน (2525)
  • มือปืน (2526)
  • หน่วย 123 (2527)
  • น้องเมีย (2533)

ละครโทรทัศน์

  • เสียดาย (2563)

ผลงานการสร้างภาพยนตร์

  • ครูสมศรี (2529)
  • น้องเมีย (2533)
  • คนเลี้ยงช้าง (2533)
  • มือปืน 2 สาละวิน (2536)
  • เฮโรอีน (2537)
  • เสียดาย (2537)
  • เสียดาย 2 (2539)
  • กล่อง (2541)
  • สุริโยไท (2544)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (2550)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (2550)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557)
  • พันท้ายนรสิงห์ (2558)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา (2558)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "คุณชายอดัม เผยภาพครอบครัวในชุดสไตล์อินเดีย กับเรื่องสกุลคุณแม่.. ที่คนอาจไม่รู้". กระปุกดอตคอม. 13 ธันวาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ""คุณชายอดัม" ถ่ายภาพครอบครัวในชุดแขก เล่าเรื่องสกุลฝั่งคุณแม่ ที่คนไม่รู้มาก่อน". สนุกดอตคอม. 14 ธันวาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๖, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!