สโมสรฟุตบอลพีที ประจวบ

พีที ประจวบ
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลพีที ประจวบ
ฉายาต่อพิฆาต
ก่อตั้ง2007; 17 ปีที่แล้ว (2007)
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(สามอ่าวสเตเดียม)
ความจุ5,000
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอล พีที ประจวบ เอฟซี จำกัด
ประธานทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
ผู้จัดการฉลอง ติรไตรภูษิต
ผู้ฝึกสอนสะสม พบประเสริฐ
ลีกไทยลีก
2566–67ไทยลีก, อันดับที่ 10
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลพีที ประจวบ เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ลงเล่นในระดับไทยลีก โดยเป็นสโมสรตัวแทนจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประวัติสโมสร

ยุคโปรลีก

สโมสรฟุตบอลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโปรวินเชียลลีก โดยได้เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกใน ฤดูกาล 2551 โดยเริ่มต้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือก กลุ่ม 4 โดยทีมได้สนับสนุนจากสมาคมกีฬาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และองค์การบริหารจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[1] โดยใช้นักฟุตบอลภายในจังหวัดและใช้สนามค่ายธนะรัชต์ ศูนย์การทหารราบ เป็นสนามเหย้าโดยในปีนั้นทีมสามารถผ่านเข้ารอบรองและรอบชิงชนะเลิศได้และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ โดยทีมชนะเลิศ คือ สโมสรฟุตบอลจังหวัดกระบี่ อย่างไรก็ดี ทั้งสองทีมได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย เพื่อมาแข่งขันที่ กรุงเทพมหานคร โดยผลงานในรอบสุดท้าย ทีมทำผลงานได้ย่ำแย่โดยจบอันดับสุดท้ายของสาย บี ไม่สามารถผ่านเข้ารอบต่อไปได้

ยุคลีกภูมิภาค

ต่อมาทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีนโยบายที่จะปรับโครงสร้างของไทยลีกดิวิชัน 2 ให้มีความเป็นมืออาชีพ และขยายความนิยมฟุตบอลไทยให้ไปสู่ระดับท้องถิ่นมากขึ้น เลยได้ทำการเปลื่ยนเป็นระบบลีกภูมิภาคขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2552 ทางสมาคมกีฬาฯ เองจึงส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โดยทำการแข่งขันในโซนภาคกลางและภาคตะวันออก โดยผลงานในปีนั้น สโมสรจบอันดับที่ 10 จากทั้งหมด 12 ทีม

ต่อมาใน ฤดูกาล 2553 ฝ่ายจัดการแข่งขันมีมติให้ทีม ย้ายโซนไปทำการแข่งขันในโซนภาคใต้ โดยแจ้งล่วงหน้าแค่วันเดียว ทำให้ผู้บริหารสโมสรตัดสินใจถอนทีมออกจากการแข่งขัน เนื่องจากไม่สามารถเตรียมงบประมาณการทำทีมได้ทันการณ์ ประกอบกับความกังวลในสวัสดิภาพนักฟุตบอลและทีมงาน ที่จะต้องลงไปแข่งขันในจุดเสี่ยงที่เกิดความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[2]

กลับมาส่งทีมเข้าแข่งขัน

หลังจากที่ไม่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน เป็นเวลาหนึ่งฤดูกาล ใน ฤดูกาล 2554 ฝ่ายจัดการแข่งขันฯ ให้สิทธิ์ลงทำการแข่งขันในโซนเดิม (โซนภาคกลางและภาคตะวันออก) แต่ผลงานของทีมไม่ดีนัก โดยในปีนั้น จบอันดับที่ 13 จาก 16 ทีม มี 24 คะแนนจาก 30 นัด ส่วนทีมชนะเลิศของโซนในปีนั้นคือ สโมสรราชบุรี เอฟซี

ต่อมาในฤดูกาลถัดมา (ฤดูกาล 2555) สโมสรได้ทำการเปลื่ยนแปลงตราสัญลักษณ์และฉายาของทีม จาก "ช้างคู่" มาเป็น "ต่อพิฆาต" และทางกองเชียร์ก็ได้มีชื่อเรียกขนานนามว่า "ปีศาจพันตา" โดยมีที่มาจากสัปปะรดซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัด นอกเหนือจากนั้นยังได้มีการเปลื่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารสโมสร โดยได้เชิญ เฉลิมชัย ศรีอ่อน เข้ามาเป็นประธานสโมสรฯ โดยผลงานของทีมในปีนั้น จบอันดับที่ 7 จาก 18 ทีม มี 51 คะแนนจาก 34 นัด ทีมชนะเลิศของโซนในปีนั้นคือ สโมสรอยุธยา เอฟซี[3]

ใน ฤดูกาล 2556 สโมสรทำผลงานได้ดีขึ้นกว่ามาก โดยจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศของโซนภาคกลางและตะวันออก ผ่านเข้ารอบไปเล่นในรอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก ได้เป็นครั้งแรกของสโมสร อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นครั้งแรก ผลงานของสโมสรในรอบนั้นกลับไม่ดีนัก โดยจบด้วยอันดับที่ 5 ของสายเอ และไม่สามารถชนะทีมใดได้เลยในสาย

ย้ายโซน

ในปีต่อมา ทางฝ่ายจัดการแข่งขันฯ ได้มีมติให้ทีมย้ายโซนการแข่งขันไปแข่งในโซนภาคใต้อีกครั้ง โดยในช่วงแรกทางผู้บริหารสโมสรออกมาแสดงความไม่พอใจ โดยขู่ที่จะทำการถอนทีมอีกครั้งซึ่งมีเหตุผลสำคัญ คือ เรื่องระยะทางการเดินทางไปแข่งขันและสวัสดิภาพความปลอดภัย แต่ต่อมาสโมสรได้กลับมาทำการแข่งขันตามเดิม ซึ่งในปีนี้เองสโมสรทำผลงานได้ดีเยี่ยม โดยภายใต้การคุมทีมของ ธงชัย สุขโกกี โดยสโมสรคว้าตำแหน่งชนะเลิศ โซนภาคใต้ และเข้ารอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก อีกครั้ง โดยในครั้งนี้ ทีมสามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ โดยแข่งขันกับ สโมสรไทยฮอนด้า ซึ่งสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศได้สำเร็จ พร้อมได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันใน ไทยลีกดิวิชัน 1 ได้สำเร็จ

ยุคดิวิชั่น 1 และไทยลีก 2

สนามกีฬากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หรือสามอ่าวสเตเดียม

หลังจากที่สโมสรได้เลื่อนมาเล่นใน ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ สโมสรก็ทำทำการเปลี่ยนผู้ฝึกสอนใหม่ มาเป็น ดุสิต เฉลิมแสน อดีตแบ็กซ้าย ทีมชาติไทย และดาราเอเชียเข้ามาคุมทีมอย่างเป็นทางการ โดยในปีแรกก็สามารถอยู่รอดในลีกได้ทันทีพร้อมกับทำผลงาน จบอันดับที่ 8 ของตาราง โดยมี 54 คะแนนจาก 38 นัด ถือว่าสร้างความประหลาดใจเล็กๆ ให้กับแฟนฟุตบอลในช่วงนั้น ซึ่งผลงานหลังจากนั้นก็ติดอันดับโซนบนมาโดยตลอด โดยใน ฤดูกาล 2559 สโมสรจบอันดับที่ 7 และ ฮริสตียัน คีโรฟสกี ทำผลงานได้ดี ด้วยการเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาล โดยทำไป 17 ประตู

ต่อมา สโมสรศรีสะเกษ เอฟซี ได้ตัว ดุสิต เฉลิมแสน เข้าไปคุมทีม ทำให้สโมสร ต้องแต่งตั้ง ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล เข้ารับช่วงต่อ ตามเป้าหมายของสโมสรที่ว่า "ยกพลขึ้นบุก" พร้อมกับทำการเปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอล พีที ประจวบ เอฟซี พร้อมกับเสริมนักฟุตบอลหลายราย ไม่ว่าจะเป็น อมร ธรรมนาม, อดุลย์ หมื่นสมาน, ซีเกต หมาดปูเต๊ะ, สมภพ นิลวงศ์ เป็นต้น ทำให้ทีมประสบความสำเร็จ สามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่น ไทยลีก ในฤดูกาลหน้าได้สำเร็จ โดยเป็นการฉลองครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งสโมสรอีกด้วย

ยุคไทยลีกและชนะเลิศถ้วยรางวัลแรก

ก่อนเปิดฤดูกาล 2561 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกที่สโมสรจะได้ลงเล่นบนลีกสูงสุดของประเทศ พีที ประจวบถูกมองว่าเป็นหนึ่งในทีมที่จะต้องตกชั้นลงไปเล่นในไทยลีก 2 อย่างไรก็ตาม ทีมสามารถทำผลงานได้ดี โดยมีนัดที่พวกเขาสามารถเปิดบ้านเอาชนะเมืองทอง ยูไนเต็ด 6–1 และบุกไปเอาชนะบางกอกกล๊าส 3–4 ซึ่งเมื่อจบฤดูกาล พวกเขาสามารถจบอันดับที่ 6 ของตารางได้อย่างประทับใจ ต่อมาในฤดูกาล 2562 แม้ว่าจะทีมจะทำผลงานในลีกตกลงไป โดยมีช่วงที่ต้องลุ้นหนีตกชั้นก่อนที่จะกลับมาจบอันดับที่ 9 ของตาราง แต่ในฟุตบอลถ้วย พวกเขากลับทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจด้วยการชนะเลิศโตโยต้า ลีกคัพ 2562 ซึ่งทีมสามารถเอาชนะการดวลลูกโทษเหนือแชมป์เก่าอย่างสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ดในรอบรองชนะเลิศและบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดในนัดชิงชนะเลิศ คว้าถ้วยรางวัลใบแรกในประวัติศาสตร์สโมสรได้สำเร็จ

ในฤดูกาล 2563–64 สโมสรต้องลุ้นหนีตกชั้นก่อนที่จะอยู่รอดบนลีกสูงสุดได้เมื่อจบฤดูกาล ธวัชชัยแยกทางกับสโมสรและย้ายไปคุมทีมหนองบัว พิชญที่เพิ่งเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด มาซามิ ทากิ ผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่นที่เคยคุมทีมเชียงรายและระยอง ได้เข้ามาคุมทีมต่อ ทว่าในฤดูกาล 2564–65 ทีมยังทำผลงานได้ไม่ดีขึ้น โดยยังไม่ชนะใครในบ้านของตนเอง ทำให้ทากิต้องแยกทางกับสโมสรในกลางฤดูกาล โดยมีอิสระ ศรีทะโร อดีตผู้ช่วยผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีภายใต้การคุมทีมของอากิระ นิชิโนะ เข้ามาคุมทีมต่อ เขาพาทีมจบอันดับที่ 13 ของตาราง รอดพ้นจากการตกชั้นได้สำเร็จ นอกจากนี้ เขายังพาทีมเข้าชิงชนะเลิศรีโว่ ลีกคัพ 2564–65 แต่ก็แพ้ให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ก่อนเปิดฤดูกาล 2565–66 อิสระแยกทางกับสโมสร โดยมีธีระศักดิ์ โพธิ์อ้นเข้ามาคุมทีมต่อ แต่เขาได้แยกทางกับสโมสรหลังคุมทีมชนะในลีกได้เพียง 3 จาก 13 นัดแรกของฤดูกาล และดุสิต เฉลิมแสนกลับมาเข้าคุมทีมเป็นครั้งที่สอง เขาพาทีมจบอันดับที่ 11 รอดพ้นจากการตกชั้นได้สำเร็จ

ตราสัญลักษณ์

ในปีแรกที่ทีมส่งเข้าร่วมการแข่งขันนั้น ทีมได้ใช้ตราประจำจังหวัดเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ที่ทางสมาคมกีฬาฯได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันลีกภูมิภาค สโมสรได้ประดิษฐ์ตราสัญลักษณ์ โดยมีตราประจำจังหวัดอยู่บนสุด โดยมีช้างสองเชือกคอยประคอง โดยช้างนั้น หมายถึง ช้างป่ากุยบุรี ซึ่งพบได้มากใน อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ต่อมาหลังที่ทีมส่งกลับมาร่วมการแข่งขันใหม่ ก็ได้มีการใช้สัญลักษณ์ พร้อมกับ ฉายาขึ้นใหม่ โดยใช้ฉายาว่า ต่อพิฆาต พร้อมกับสัญลักษณ์ทีมที่เป็น ต่อ โดยที่มานั้น มาจากชื่อเล่นของประธานสโมสร ในยุคนั้น อย่าง เฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นแรงบันดาลใจและที่มาในการออกแบบ

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ดาวซัลโว
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แต้ม อันดับ ชื่อ ประตู
2552 ดิวิชั่น 2 ภาคกลางและตะวันออก 22 2 14 6 23 32 20 อันดับ 10
2553 ดิวิชั่น 2 ภาคใต้ ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน
2554 ดิวิชั่น 2 ภาคกลางและตะวันออก 30 7 3 20 25 48 24 อันดับ 13
2555 ดิวิชั่น 2 ภาคกลางและตะวันออก 34 13 12 9 45 33 51 อันดับ 7
2556 ดิวิชั่น 2 ภาคกลางและตะวันออก 24 13 7 4 34 19 46 รองชนะเลิศ
2557 ดิวิชั่น 2 ภาคใต้ 24 15 6 3 46 19 51 ชนะเลิศ รอบสอง
2558 ดิวิชั่น 1 38 15 9 14 56 54 54 อันดับ 8 รอบแรก รอบสอง บราซิล เนโต้ ซานตูส 12
2559 ดิวิชั่น 1 26 9 8 9 36 36 35 อันดับ 7 รอบสาม รอบแรก มาซิโดเนียเหนือ คีโรฟสกี 17
2560 ไทยลีก 2 32 18 5 9 58 40 59 อันดับ 3 รอบสาม รอบสอง บราซิล วิลเลน 17
2561 ไทยลีก 34 15 8 11 56 46 53 อันดับ 6 รอบแรก รอบแรก บราซิล เรอิส 26
2562 ไทยลีก 30 9 10 11 32 44 37 อันดับ 9 รอบ 64 ทีม ชนะเลิศ บราซิล ไคอง 6
2563–64 ไทยลีก 30 10 7 13 35 47 37 อันดับ 10 รอบ 32 ทีม งดจัดการแข่งขัน บราซิล โมต้า 16
2564–65 ไทยลีก 30 8 7 15 30 45 31 อันดับ 13 รอบ 64 ทีม รองชนะเลิศ บราซิล โมต้า 13
2565–66 ไทยลีก 30 9 8 13 44 51 35 อันดับ 11 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบรองชนะเลิศ บราซิล ซามูแวล รอซา 18
2566–67 ไทยลีก 30 8 10 12 33 39 34 อันดับ 10 รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย บราซิล ซามูแวล รอซา 7
2567–68 ไทยลีก รอบ 64 ทีมสุดท้าย
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย รัตนัย ส่องแสงจันทร์
3 DF อิหร่าน อามีร์อาลี เชร์จินี
4 MF ไทย ฉัตรมงคล ทองคีรี (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)
5 DF บราซิล ไอร์ตง
8 MF ไทย สหรัฐ กันยะโรจน์
9 MF ไทย ชุติพนธ์ ทองแท้
10 FW บราซิล ตาอัว
11 DF ไทย สหรัฐ ปองสุวรรณ
14 DF ไทย พีฬาวัช อรรคธรรม
18 MF ไทย ศนุกรานต์ ถิ่นจอม
19 FW ไทย อิคลาศ สันหรน
21 FW โครเอเชีย อันดริยา ฟิลิโปวิช
23 MF ไทย กานต์นรินทร์ ถาวรศักดิ์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
25 DF ไทย ปวีร์ ตัณฑะเตมีย์
27 DF ไทย นัสตพล มาลาพันธ์ (กัปตันทีม)
30 MF ไทย จิตติพัฒน์ วะสูงเนิน
31 MF ไทย ปฐมชัย เสือสกุล
36 DF ไทย ธนาเสฎฐ์ สุจริต
41 FW ไทย พันธมิตร ประพันธ์
70 MF ไทย ประสิทธิ์ จันทุม
74 DF ไทย พลเอก มณีกร เจนเซ่น
77 DF ไทย คีรอน อ้อนชัยภูมิ
88 FW ไทย จิรพันธ์ ผาสุขขันธ์
89 GK ไทย แซมมวล ป.คันนิ่งแฮม
99 FW เกาหลีใต้ ช็อง อู-กึน
DF ไทย ศรัญญู พลางวัล
MF ไทย ศิวกรณ์ เตียตระกูล (ยืมตัวจาก บีจี ปทุม ยูไนเต็ด)

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
13 GK ไทย อับดุลฟารุส สะมะแอ (ไป หัวหิน ซิตี้ จนจบฤดูกาล)
17 FW ไทย เจนรบ สำเภาดี (ไป พลังกาญจน์ จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 GK ไทย สิวะพงษ์ พานแก้ว (ไป พีที สตูล จนจบฤดูกาล)

เจ้าหน้าที่สโมสร

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ไทย ทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
รองประธานสโมสร
ผู้อำนวยการฝ่ายกีฬา
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค ไทย ดุสิต เฉลิมแสน
ผู้จัดการทีม ไทย ฉลอง ติรไตรภูษิต
หัวหน้าผู้ฝีกสอน ไทย สะสม พบประเสริฐ
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ไทย วีรยุทธ์ บินอับดุลเลาะมาน
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ไทย เศรษฐา หนักแน่น
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส
นักวิเคราะห์การแข่งขัน
ทีมแพทย์ประจำสโมสร
นักกายภาพบำบัด
ล่ามประจำสโมสร
ทีมสตาฟ์ประจำทีม
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด

เกียรติประวัติ

สโมสรพันธมิตร

พันธมิตรในประเทศ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!