สุโข วุฑฒิโชติ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรปราการ, ผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการคนแรก, อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี, อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง และอาจารย์หมวดวิชาพลานามัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, อดีตผู้ตัดสินฟุตบอลนานาชาติ
ประวัติ
สุโข วุฑฒิโชติ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของไขรัชฎ์ (บิดา) และมณี (มารดา)[1] จบการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาขั้นต้น จากโรงเรียนฝึกหัดครูอยุธยา ประกาศนียบัตรการศึกษาขั้นสูง จากวิทยาลัยพลศึกษา กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาปริญญาตรี สาขามัธยมศึกษา จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร) และได้รับปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มต้นอาชีพการเป็นครู เมื่อปี พ.ศ. 2506 ที่โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ย้ายเข้าสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเวลาถึง 17 ปีเต็ม จนถึงปี พ.ศ. 2534 จึงได้รับมอบหมายให้ประสานงานก่อตั้ง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ และรับตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก ในปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 8 และเป็นชายคนแรก ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี จนเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2545[2]
ระหว่างนั้นก็มีบทบาทในวงการกีฬาระดับชาติ เคยเป็นนักฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทย อดีตผู้ตัดสินฟุตบอลนานาชาติของฟีฟ่า และอดีตผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร รวมถึงเคยเป็นประธานสโมสรวอลเลย์บอลจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย[2] ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ[1] ที่ปรึกษาผู้อำนวยการโรงเรียนพิชญศึกษา จังหวัดนนทบุรี และโรงเรียนประภามนตรี 2 จังหวัดสมุทรปราการ[2] สมรสกับ นางนวลทวี วุฑฒิโชติ[1]
สุโขลงสมัครรับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไปที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ผลปรากฏว่าได้รับคะแนนเสียงทั้งสิ้น 78,940 คะแนน มาเป็นอันดับที่ 1[3] และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศรับรองให้สุโข เป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรปราการ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551[4] ขณะดำรงตำแหน่งก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นรองประธานกรรมาธิการการกีฬาคนที่ 1, รองประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวคนที่ 2, กรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม รองประธานกรรมาธิการการท่องเที่ยวคนที่ 1 และรองประธานกรรมาธิการการกีฬา[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์คนไทยดอตคอม ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ 2.0 2.1 2.2 คอลัมน์ ข่าวทะลุคน หนังสือพิมพ์ข่าวสด ปีที่ 17 ฉบับที่ 6288 วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หน้า 3
- ↑ ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (อย่างไม่เป็นทางการ) เก็บถาวร 2008-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เก็บถาวร 2008-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ↑ การดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ ของนายสุโข วุฑฒิโชติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์วุฒิสภาไทย เก็บถาวร 2015-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
แหล่งข้อมูลอื่น