ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุจิต บุญบงการ (เกิด 9 ตุลาคม พ.ศ. 2485) อธิการวิทยาลัยรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และโลกาภิวัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต, อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[1]
ประวัติ
สุจิต บุญบงการ เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น ประธานสภาพัฒนาการเมือง, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาเอก สาขา Comparative Politics and International Relations 2511Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University, Medford Mass, U.S.A.
- ปริญญาโท สาขา Comparative Politics and International Relations2508Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University, Medford Mass, U.S.A.
- ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต2507 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต
- ประธานสภาพัฒนาการเมือง
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2543-2547)
- รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2524-2528)
- คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2533-2537 และ พ.ศ. 2537-2541)
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับ พ.ศ. 2540)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๑, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
|
---|
คณะตุลาการชุดปัจจุบัน (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560) | |
---|
อดีตตุลาการ | |
---|
ตัวหนา หมายถึง ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ **หมายเหตุ : ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ แต่กำหนดให้มี "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้พิพากษาในศาลฎีกาจำนวนห้าคน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวนสองคน |