สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (อังกฤษ : queen mother สำหรับพระราชินี และ empress mother สำหรับพระจักรพรรดินี ) คือ ภรรยาม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน และเป็นพระราชมารดา ของพระมหากษัตริย์ รัชกาลปัจจุบัน[ 1] ในภาษาอังกฤษคำว่า queen mother เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1560[ 2]
ในสากล "Queen Mother" มักจะหมายถึงสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ที่ทรงดำรงพระอิสริยยศนี้ยาวนานกว่า 50 ปี
พระราชสถานะ
ในกัมพูชา
ในราชสำนักกัมพูชายุคหลัง มีการสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงว่า พระวรราชินี โดยมีสถานะเป็นเจ้า มีการเพ็ดทูลด้วยคำราชาศัพท์ มีลัญจกรประจำพระองค์[ 3] และมีพระราชอำนาจปกครองขุนนางผู้ใหญ่ผู้ดูแลจังหวัดไพรแวง อันลงราช และมุขกำปูล[ 4] มีรายพระนามเจ้าฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศพระวรราชินี ได้แก่
ปัจจุบันราชสำนักกัมพูชามิได้ออกพระอิสริยยศแก่พระราชชนนีว่าพระวรราชินีแล้ว แต่ระบุในสร้อยพระนามเป็น พระวรราชมาดาชาติเขมร (ព្រះវររាជមាតាជាតិខ្មែរ ) แก่เจ้าฝ่ายในพระองค์ล่าสุด คือ พระมหาวีรกษัตรีย์ นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมาดาชาติเขมร
ในเกาหลี
ราชวงศ์โชซ็อน
มีรายพระนามเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีเจ้านายฝ่ายในที่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง โดยที่มิได้เป็นสมเด็จพระราชินีมาก่อน อาจได้รับการสถาปนาพร้อมพระราชสวามีที่สวรรคตไปก่อนหน้านั้น หรือสถาปนาหลังจากเจ้านายฝ่ายในพระองค์นั้นสวรรคตแล้ว ได้แก่
ในเดนมาร์ก
มีรายพระนามเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่
ในบริเตน
ในบริเตน ตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (queen mother) เป็นพระอิสริยยศสำหรับอดีตพระราชินีในรัชกาลก่อนและเป็นพระราชมารดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน จะต่างจากสมเด็จพระราชินีวิธวา (queen dowager) ที่เป็นพระราชินีในรัชกาลก่อน แต่มิได้เป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยเจ้านายที่ดำรงพระราชอิสริยยศที่สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่
ส่วนเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ เป็นพระราชชนนีของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย นั้น ไม่นับว่าเป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (queen mother) เพราะมีพระสวามีเป็นดยุก และมิได้เป็นพระมหากษัตริย์
ในไทย
กรุงสุโขทัย
จารึกวัดบูรพาราม และจารึกวัดตาเถรขึงหนัง เรียกตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงในราชวงศ์พระร่วงว่า พระกันโลง เช่น
กรุงศรีอยุธยาและธนบุรี
ตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงในราชสำนักอยุธยาตอนปลายเรียกว่า กรมพระเทพามาตย์ ซึ่งตกทอดมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี [ 6] เจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระเทพามาตย์ เท่าที่ปรากฏพระนาม ได้แก่
กรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ไทยถึงสองพระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ล่าสุด
ในช่วงรัตนโกสินทร์ ยังคงยึดบรรทัดฐานมาแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา เป็นหลัก และใช้ตั้งพระนามสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ (หรือ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์)[ 8] , สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ และกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เป็นต้น เมื่อจะออกพระนามก็จะเรียกว่า "สมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการเปลี่ยนชื่อเจ้ากรม โดยเติมคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าพระนามพระราชชนนี เป็น "สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์" คือ "สมเด็จ (ของ) กรมพระอมรินทรามาตย์"[ 9] ล่วงมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชบัญญัติพระนามใหม่ให้มีกรมนำหน้าสมเด็จ จึงออกพระนามเป็น "กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์" แล้วไม่พบความแตกต่างกับกรมสมเด็จพระองค์อื่น ๆ จึงเติมลำดับศักดิ์ต่อท้ายเป็น "กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ สมเด็จพระบรมราชชนนี"[ 10] ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยที่จะออกพระนามสมเด็จพระพันปีหลวงเป็น "สมเด็จพระบรมราชชนนี กรมพระเทพศิรินธรามาตย์" หรือเรียกอย่างย่อว่า "สมเด็จกรมพระเทพศิรินธรามาตย์" ส่วนพระนามของสมเด็จพระพันปีหลวงพระองค์อื่น มีคำนำหน้าพระนามแตกต่างกันตามลำดับเครือญาติ ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชไปยิกา กรมพระอมรินทรามาตย์, สมเด็จพระบรมราชไอยิกา กรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ และสมเด็จพระราชมหาไปยิกา กรมพระศรีสุลาไลย และเรียกพระนามอย่างย่อรูปแบบเดียวกันแต่ต่างที่พระนามของแต่ละพระองค์[ 11]
กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก จึงโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี"[ 12] ภายหลังเพิ่มเติมอีกครั้งว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง"[ 13] ตามลำดับ และทรงแก้ไขพระนามพระบรมอัฐิของสมเด็จพระอัครมเหสีและพระราชชนนีในรัชกาลก่อนทั้งสิ้น โดยทรงตัดคำว่า "มาตย์" อันเป็นชื่อขุนนางเจ้ากรมออก แล้วเพิ่มคำว่า "พระบรมราชินี" ลงไป[ 14] อันเป็นแบบแผนในการปรับใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีพระนามดังต่อไปนี้[ 15]
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (พ.ศ. 2280–2369) เป็นพระอรรคชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พ.ศ. 2310–2379) เป็นสมเด็จพระพันวษาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สถาปนาหลังเสด็จสวรรคต)
สมเด็จพระศรีสุลาลัย (พ.ศ. 2314–2380) เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง[ก] ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พ.ศ. 2377–2404) เป็นพระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สถาปนาหลังเสด็จสวรรคต)
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พ.ศ. 2407–2462) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พ.ศ. 2475–ปัจจุบัน) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไม่นับว่าเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพราะพระสวามีมิใช่พระมหากษัตริย์ จึงจัดเป็นเจ้าหญิงพระราชชนนี (princess mother) ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 6 มิได้ประสูติการพระราชโอรสและยังถูกลดพระยศเป็นสมเด็จพระวรราชชายา จึงนับเป็นเจ้าหญิงพระวรราชชายา (Her Royal Highness Princess Woraracha Chaya) และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 นั้นไม่มีพระราชโอรสสืบราชสมบัติจึงมิได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง แต่เป็นสมเด็จพระราชินีวิธวา (queen dowager)
ล้านนา
ตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา จะเรียกว่า มหาเทวี [ 16] [ข] ซึ่งตำแหน่งมหาเทวีนี้ครอบคลุมไปถึงพระราชชนนีของรัชกาลปัจจุบันที่มิได้เป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ดังพระราชชนนีในพญายอดเชียงราย [ 17] มหาเทวีหลายพระองค์ล้วนมีพระราชอำนาจสูงในราชสำนักแม้ว่าพระราชสวามีจะถูกถอดถอนหรือปลงพระชนม์ แต่พระมหาเทวีก็ยังคงมีอำนาจอยู่เบื้องหลังราชสำนัก[ 18] และยังมีบทบาทในการปกครองอาณาจักรร่วมกับพระราชโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า "พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ "พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง"[ 19] [ 20] [ 21] [ 22] นอกจากนี้บางพระองค์ได้แหวกจารีตขึ้นมามีบทบาทครองอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์ก็มี[ 18] เท่าที่ปรากฏพระนามได้แก่
ในตุรกี
ภายในห้องส่วนพระองค์ในพระตำหนักวาลีเดซุลตัน ภายในพระราชฐานชั้นในพระราชวังโทพคาปึ
ในยุคจักรวรรดิออตโตมัน แต่เดิมใช้ธรรมเนียมเรียกสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงอย่างเปอร์เซียว่า มะฮ์ด-อี อิวล์ยา (ตุรกี : mehd-i ülya ; เปอร์เซีย : مهد علیا )[ 32] ซึ่งภายหลังได้เรียกตำแหน่งสำหรับสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงว่า วาลีเดซุลตาน (ตุรกี : Valide sultan , ตุรกีออตโตมัน : والده سلطان แปลตรงตัวว่า "พระชนนีของสุลต่าน") สำหรับสุลต่านหญิง (Sultana) ผู้เป็นพระชายาในสุลต่าน รัชกาลก่อน และเป็นพระราชชนนีของสุลต่านรัชกาลปัจจุบัน[ 32] วาลีเดซุลตันพระองค์แรกคือฮัฟซา ซุลตาน (Hafsa Sultan , حفصه سلطان ) พระชายาในสุลต่านเซลิมที่ 1 และเป็นพระราชชนนีของสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกร
ตำแหน่งวาลีเดซุลตันนี้เป็นพระอิสริยยศและพระราชอำนาจรองจากสุลต่าน ตามธรรมเนียมอิสลามคือ "สิทธิของบุพการีคือสิทธิของพระผู้เป็นเจ้า "[ 33] วาลีเดซุลตันทรงมีพระราชอำนาจยิ่งในพระราชสำนัก, มีห้องส่วนพระองค์ (ที่มักอยู่ติดกับห้องของพระราชโอรสผู้เป็นสุลต่าน) และมีพระราชอำนาจเหนือบรรดาข้าราชการ[ 32] ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ช่วงเวลานั้นวาลีเดซุลตันทรงมีพระราชอำนาจเหนือสุลต่านวัยเยาว์ จึงถูกเรียกว่า "รัฐสุลต่านของฝ่ายใน"[ 34]
ในสวีเดน
มีรายพระนามเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่
อ้างอิง
หมายเหตุ
ก ใน พระพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ระบุว่าสมเด็จพระศรีสุลาลัยเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง[ 35]
ข มหาเทวี มีความหมายกว้าง ๆ อาจหมายถึง "พระราชเทวี หรือนางกษัตริย์ ส่วนใหญ่หมายถึงพระบรมราชชนนีของพระมหากษัตริย์"[ 36]
เชิงอรรถ
↑ A queen mother is defined as "A Queen dowager who is the mother of the reigning sovereign" by both the Oxford English Dictionary and Webster's Third New International Dictionary .
↑ Oxford English Dictionary
↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา . กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 267
↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา . กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 277
↑ กรมพระดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศเธอ. ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ 21 เรื่องพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระมณีวงศ พระเจ้ากรุงกัมพูชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงแปลถอดจากภาษาเขมร . พระนคร : โสภณพิพรรฒนากร, 2472, หน้า 1
↑ David K. Wyatt. Thailand: A Short History . Yale University Press. p. 140.
↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙ . กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2552, หน้า 16
↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา . พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 . กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 67, 97
↑ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ . พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี . กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552, หน้า 194
↑ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ . พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี . กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552, หน้า 195-196
↑ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ . พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี . กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552, หน้า 201
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย , เล่ม ๒๗, ตอน ๐ง, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๐๒๒
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธี คำถวายชัยมงคลของข้าทูลละอองธุลีพระบาท แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง , เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๓๙๒
↑ ดารณี ศรีหทัย. สมเด็จรีเยนต์ . กรุงเทพฯ : มติชน, 2554, หน้า 81-82
↑ "พระราชหัตถ์เลขาส่วนพระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี ในเวลาที่ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ พระราชประวัติสังเขป" . วชิรญาณ . สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563 .
↑ สรัสวดี อ๋องสกุล, ศาสตราจารย์. ประวัติศาสตร์ล้านนา . พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 272
↑ "จารึกวัดพวกชอด" . ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน) . สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559 . [ลิงก์เสีย ]
↑ 18.0 18.1 18.2 สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย . พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 287-290
↑ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 . คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508, หน้า 195
↑ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 . คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508, หน้า 198
↑ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 . คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508, หน้า 112
↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). ประชุมศิลาจารึกเมืองพะเยา . กรุงเทพฯ : มติชน, หน้า 263
↑ เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 6
↑ เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 48
↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา . พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 228
↑ เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 48
↑ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช . พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 48
↑ เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (27 กรกฎาคม 2555). "ใครคือ “มหาเทวีแม่ลูกสอง” ผู้มิใช่ “มหาเทวีสองแม่ลูก”". มติชนสุดสัปดาห์ . 32:1667, หน้า 76
↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา . พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 168
↑ สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย . พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 293
↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา . พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 273
↑ 32.0 32.1 32.2 Davis, Fanny (1986). "The Valide". The Ottoman Lady: A Social History from 1718 to 1918 . ISBN 0-313-24811-7 .
↑ "Can Muslims Celebrate Mother's Day?" . Belief.net . สืบค้นเมื่อ August 22, 2016 .
↑ Peirce, Leslie P., The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire , Oxford University Press, 1993, ISBN 0-19-508677-5 (paperback)
↑ ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา . พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 . กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า191
↑ เหมันต สีหศักกพงศ์ สุนทร, นาวาตรี. "ปราสาทนกหัสดีลิงค์แห่งแผ่นดินล้านนา". งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง . กรุงเทพฯ : มติชน, 2560, หน้า 55
ดูเพิ่ม