สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์
|
---|
เกิด | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2485 (82 ปี) |
---|
สัญชาติ | ไทย |
---|
มีชื่อเสียงจาก | นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย |
---|
คู่สมรส | ศ.คุณหญิง ดร.มธุรส รุจิรวัฒน์ |
---|
บุตร | นายอธิศ รุจิรวัฒน์ |
---|
ศาสตราจารย์ สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ เกิดวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2485 นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเคมีอินทรีย์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนายาสังเคราะห์ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (ฝ่ายวิจัย) และอธิการบดีของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ สมรสกับ ศ.คุณหญิง ดร.มธุรส รุจิรวัฒน์ มีบุตร 1 คน คือ นายอธิศ รุจิรวัฒน์
ประวัติ
การศึกษา
- จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- เข้าศึกษาเตรียมแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2506-2512 - ได้รับทุนโคลัมโบ (The Colombo Plan Scholarship) จากรัฐบาลอังกฤษ ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ จนจบปริญญาตรี สาขาเคมี (เกียรตินิยม) เมื่อปี พ.ศ. 2509 และปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ ในปี พ.ศ. 2512 โดยทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง "Studies on the Biosynthesis of Hasubanonine"
- พ.ศ. 2513-2514 - ได้รับทุนจาก South-East Asia Treaty Organization (SEATO) Fellowship ไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก (posdoctoral training) ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
ตำแหน่งวิชาการ
ตำแหน่งบริหาร
เกียรติคุณและรางวัล
ผลงานวิจัย
ศาสตราจารย์ สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ หรือ ศ.ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ ทำงานวิจัยด้านการสังเคราะห์ การหาสูตรโครงสร้าง และฤทธิ์ทางยาของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้จากสมุนไพร และมีความสนใจในสารประกอบพวก Nitrogen Heterocycles โดยเฉพาะสารประเภทอัลคาลอยด์ เป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังได้ร่วมวิจัยในหลายโครงการกับนักวิจัยในแขนงวิชาอื่น ๆ โดยทำหน้าที่แยกสาร หาสูตรโครงสร้าง หรือสังเคราะห์สาร ที่ใช้ประโยชน์ในโครงการต่าง ๆ เช่น ศึกษาสารประเภท cyanogenic glycosides จากต้นมันสำปะหลัง การศึกษาและสังเคราะห์สารประกอบ sulphonamides เพื่อใช้ทดสอบฤทธิ์ในการใช้เป็นยาหมันชาย และศึกษากลไกในการเป็นหมัน การหาสารที่เป็นยารักษาโรคมาเลเรีย ได้หาวิธีการใหม่และประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์ mefloquine และอนุพันธ์ต่าง ๆ ผลจากงานวิจัยนี้ได้พบสารที่ฆ่าเชื้อมาเลเรียที่ดีมากตัวหนึ่ง และได้รับสิทธิบัตรภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โครงการสังเคราะห์และฤทธิ์ทางยาของ praziquantel และอนุพันธ์จำนวนมาก โครงการวิจัยอนุพันธ์ colchicine จากต้นดองดึง ได้หาสูตรโครงสร้างอนุพันธ์ colchicine หลายตัว พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนสูตรโครงสร้างโดยการสังเคราะห์เพื่อใช้ในการทดสอบมะเร็ง cell line ต่าง ๆ รวมถึง cell line ของมะเร็งท่อน้ำดี โครงการพัฒนาและการผลิตน้ำยาอิมมูโนเคมี เพื่อตรวจสอบหาสารแอมเฟตามีน (ยาม้าและยาอี) โดยสังเคราะห์อนุพันธ์ ของแอมเฟตามีนใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการเตรียมน้ำยา เพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยยาม้า และยาอี เป็นต้น
ศ.ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 95 เรื่อง เขียนบทความทางวิชาการในหนังสือตำราต่างประเทศจำนวน 4 เรื่อง และมีผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรจำนวน 2 เรื่อง และบทความที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติจำนวนกว่า 90 เรื่อง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๘๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๐๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๙, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘