สนามกีฬาลอนดอน

สนามกีฬาลอนดอน
สนามกีฬาลอนดอนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2022
แผนที่
ชื่อเดิม
  • สนามกีฬาโอลิมปิก (2012)
  • สนามกีฬาที่อุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ (2013–2016)
ที่ตั้งอุทยานโอลิมปิกลอนดอน, สแตรตฟอร์ด
ลอนดอน, E20
พิกัด51°32′19″N 0°00′59″W / 51.53861°N 0.01639°W / 51.53861; -0.01639
ขนส่งมวลชนรถไฟใต้ดินลอนดอน รถไฟเหนือดินลอนดอน Elizabeth line รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ National Rail Stratford
รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ National Rail Stratford International
เจ้าของE20 Stadium, LLP
ผู้ดำเนินการLondon Stadium 185 Ltd.
ความจุ
  • 60,000 (regulated capacity)[2]
  • 66,000 (seated capacity) (sports)[3]
  • 80,000 (concerts)[4]
ขนาดสนาม105 โดย 68 เมตร (114.8 โดย 74.4 หลา)[2]
พื้นผิวGrass (Desso GrassMaster)
Track (Mondotrack/WS, 9 Lanes)[1]
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็ม22 พฤษภาคม 2008; 16 ปีก่อน (2008-05-22)
ก่อสร้าง22 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 (2008-05-22)29 มีนาคม ค.ศ. 2011 (2011-03-29)
เปิดใช้สนาม6 พฤษภาคม 2012; 12 ปีก่อน (2012-05-06)
ปรับปรุง2013–2016
งบประมาณในการก่อสร้าง£486 ล้าน[5]
(£717 ล้าน in 2024 pounds[6])
£274 million (2013–16 renovations)[7]
สถาปนิกPopulous (formerly HOK Sport), led by Philip Johnson
ผู้จัดการโครงการSavills
วิศวกรโครงสร้างBuro Happold
วิศวกรบริการM-E Engineers
ผู้รับเหมาทั่วไปBalfour Beatty
ผู้รับเหมาหลักSir Robert McAlpine
การใช้งาน
ยูเคแอตเลติกส์ (2015–present)
เวสต์แฮมยูไนเต็ด (2016–ปัจจุบัน)
เว็บไซต์
Venue Website

สนามกีฬาลอนดอน (อังกฤษ: London Stadium) (แต่เดิมเรียกว่า สนามกีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Stadium) และ สนามกีฬาที่อุทยานโอลิมปิกราชินีเอลิซาเบธ (อังกฤษ: Stadium at Queen Elizabeth Olympic Park)) เป็นสนามกีฬาหลักของศูนย์กีฬาอุทยานโอลิมปิกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตั้งอยู่ในย่านสแตรตเฟิร์ดของกรุงลอนดอน ออกแบบขึ้นเพื่อให้เป็นจุดศูนย์กลาง ของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โดยใช้เป็นสถานที่จัดพิธีเปิดกับพิธีปิดของโอลิมปิก และเป็นสนามแข่งขันกรีฑา รวมถึงสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดที่ได้เช่าสนามเป็นเวลา 99 ปีเพื่อเป็นสนามเหย้าของทีมแทนบุลินกราวนด์เนื่องจากมีความจุน้อยกว่า โดยสนามนี้สามารถบรรจุผู้ชมการแข่งขันประมาณ 80,000 ที่นั่ง ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับสามในบริเตน รองจากสนามเวมบลีย์และทวิกเกนแฮม

การจัดเตรียมที่ดินสำหรับสร้างสนามแห่งนี้ เริ่มขึ้นในช่วงกลางปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ขณะที่การก่อสร้างอย่างเป็นทางการ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) และแม้ว่าการลงเสาเข็มสำหรับการก่อสร้าง เพิ่งเริ่มขึ้นอย่างไม่เป็นทางการไปเพียงสี่สัปดาห์ สนามแห่งนี้ก็ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก ประจำปี พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017)[8]

การออกแบบและก่อสร้าง

ภาพถ่ายทางอากาศของสนาม ขณะก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีการเปิดตัวแบบของสนามแห่งนี้ โดยสถาปนิกมืออาชีพอย่างปอปูลัส (Populous) ซึ่งเชี่ยวชาญการออกแบบอาคารกีฬาและศูนย์การประชุม ตลอดจนการเขียนแบบของกิจกรรมพิเศษที่สำคัญ[9] การก่อสร้างใช้เวลา 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)

สนามกีฬาลักษณะพิเศษขนาด 80,000 ที่นั่งแห่งนี้ เป็นจุดศูนย์กลางของการแข่งขันที่ลอนดอน ด้วยการเป็นเจ้าภาพของพิธีเปิดและปิดการแข่งขัน รวมถึงการเป็นสนามแข่งขันกรีฑา อนึ่ง หลังจากลอนดอนเกมส์ สนามจะลดจำนวนที่นั่งถาวรลงเป็น 60,000 ที่นั่ง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) มีการดำเนินงานขุดชั้นดินอ่อนออกจากพื้นที่ เพื่อเตรียมการปูสนามหญ้าและลู่วิ่ง รายล้อมไปด้วยที่นั่งถาวรจำนวน 25,000 ที่นั่ง ซึ่งประกอบขึ้นโดยใช้คอนกรีตชนิดเหลว บนพื้นดินที่ลาดเอียงตามธรรมชาติ ซึ่งใต้อัฒจันทร์ช่วงนี้เป็นพื้นที่อบอุ่นร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้า ด้วยการขุดลงไปเป็นชั้นกึ่งใต้ดิน ถัดไปเป็นช่วงคอนกรีตเสริมเหล็กสูงขึ้นทีละขั้น เพื่อรองรับผู้ชมอีก 55,000 คน[10]

บริการสำหรับผู้ชม

สนามกีฬาแห่งนี้ ไม่มีร้านอาหารอยู่ภายใน เพื่อลดความจำเป็นสำหรับการสร้างครัว และเพิ่มมาตรการป้องกันเพลิงไหม้ ระหว่างการปรุงอาหาร แต่สถาปนิกออกแบบให้มีงานเลี้ยงหมู่ภายนอกสนามทดแทน เช่นเดียวกับ “แฟนโซน” (Fan Zones) ซึ่งประสบความสำเร็จ ในฟุตบอลโลกที่เยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) อันเป็นสถานที่ซึ่งผู้ชมรวมตัวกันเพื่อกินดื่ม และชมการแข่งขันผ่านจอยักษ์ นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำห้องสุขาซึ่งเรียกว่า “พ็อดส์” (Pods) ที่สร้างขึ้นจากตู้ขนส่งสินค้า (คอนเทนเนอร์; Containers) โดยมีระบบจัดการน้ำเสียและของเสียต่างๆ ติดตั้งอยู่ภายใน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำระบบท่อประปา และความสะดวกต่อการรื้อถอน

เกาะสนามกีฬา

เนื่องจากที่ตั้งของสนามแห่งนี้ เป็นอดีตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำลีอา (Lea River) แม่น้ำซิตีมิลล์ (City Mill River) และแม่น้ำโอลด์พุดดิงมิลล์ (Old Pudding Mill River) ขณะที่ในฝั่งตะวันออกซึ่งมีศูนย์กีฬาทางน้ำ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวอเตอร์เวิร์กส (Waterworks River) อยู่ห่างออกไปราว 200 เมตร ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงล้อมรอบด้วยน้ำและกลายเป็นเกาะอย่างสมบูรณ์ ซึ่งทอดยาวไปจนสุดทางทิศใต้ของอุทยานโอลิมปิก สำหรับทางเข้าสู่สนามจะมีสะพานคนเดินข้ามจำนวนมาก ตั้งอยู่โดยรอบบริเวณ ทั้งนี้ภูมิประเทศที่ปรากฏ อาจกลายเป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการ ของบริเวณดังกล่าวในช่วงระหว่างการแข่งขัน เนื่องจากมีการใช้ในสื่อมวลชนต่างๆ

การใช้งานหลังโอลิมปิก

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) มีการประกาศสองข้อเสนอสุดท้าย ที่จะได้รับการพิจารณาให้เข้าใช้สนาม หลังการแข่งขันโอลิมปิก ประกอบด้วย

โดยการประมูลก่อนหน้านี้ ยังคงความจุของสนามที่ 80,000 ที่นั่ง ทว่าต่อมาภายหลังมีการลดลงเป็น 60,000 ที่นั่ง[11] ต่อมาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 สโมสรเวสต์แฮมได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูล จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้สนามแห่งนี้ในสถานะของสนามฟุตบอล ภายหลังสิ้นสุดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2012[12]

ภาพภายในสนามกีฬาโอลิมปิกลอนดอน ก่อนหน้าพิธีเปิดสนามอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Martins, Alejandra (23 July 2012). "London 2012: Inside track on Olympic running surface". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 November 2014.
  2. 2.0 2.1 "Premier League Handbook 2020/21" (PDF). Premier League. p. 40. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2020. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
  3. "London Stadium capacity clarification". West Ham United F.C. 19 November 2018.
  4. "FAQ". London Stadium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
  5. "London 2012 Olympic Stadium Athletics Track Completed". BBC Sport. 3 October 2011. สืบค้นเมื่อ 14 May 2012.
  6. UK Retail Price Index inflation figures are based on data from Clark, Gregory (2017). "The Annual RPI and Average Earnings for Britain, 1209 to Present (New Series)". MeasuringWorth. สืบค้นเมื่อ December 2, 2021.
  7. Gibson, Owen (18 July 2015). "Inside West Ham's new home: how football came to 2012's Olympic July Stadium". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 December 2016.
  8. Livingston, Robert (11 November 2011). "London Defeats Doha To Host 2017 International Athletics Championships" เก็บถาวร 2011-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. GamesBids. Retrieved 14 May 2012.
  9. Administrator. "London Olympic Stadium, Building, Photos, Architect, London Olympics Stadium Building". E-architect.co.uk. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  10. "On Your Marks: Countdown to 2012, London's Olympic Stadium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04. สืบค้นเมื่อ 19 October 2008.
  11. "Tottenham and West Ham Lead London 2012 Stadium Bid". BBC News. 12 November 2010.
  12. "West Ham Chosen as Preferred Olympic Stadium Tenant". BBC News. 11 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!