สดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านกิจการพรรคการเมือง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[1]เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่ย่านตลาดพลู จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรสาวคนที่ 12 ของ ขุนเจริญเวชธรรม (เจริญ สัตยธรรม) และปราณี ตุลยพานิช มีพี่น้องทั้งหมด 14 คน ปัจจุบันพี่น้องส่วนใหญ่ลงหลักปักฐานที่สหรัฐอเมริกา
ประวัติ
จบนิติศาสตรบัณฑิต จาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เคยเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาพิจารณาคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีปกครองของศาลฎีกา เคยได้รับการแต่งตั้งจากประธานศาลฎีกา ให้เป็นผู้พิพากษาพิจารณาคดีตามข้อตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิ สมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ในปี พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ในวัยเด็ก สดศรีเคยฝันอยากจะเป็นแอร์โฮสเตส[2] ขณะเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกให้เป็นดาวคณะ และได้มีโอกาสรำไทยในงานกิจกรรมอยู่เป็นระยะ ๆ ก่อนจะมาทำงานด้านกฎหมาย เคยทำงานเป็นพนักงานรับฝาก-ถอน ที่เคาน์เตอร์ในธนาคารมาก่อนราว 2 เดือน ก่อนจะย้ายมาทำงานทางด้านกฎหมาย หลังจากสอบเข้าเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ เนื่องจากเจ้าตัวอ้างว่าไม่ถนัด
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ อรุณ น้าประเสริฐ สามีซึ่งเป็นผู้พิพากษาเหมือนกัน ที่พบเจอกันที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างย้ายไปรับหน้าที่ที่นั่น เมื่ออายุ 29 ปี และมีบุตรทันที โดยขณะตั้งครรภ์มีอาการครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง มีบุตรสาวเพียงคนเดียว คือ กอนณา สัตยธรรม
ในต้นปี พ.ศ. 2551 สดศรีถูกเว็บไซต์ไฮ-ทักษิณ.เน็ท ซึ่งเป็นเว็บไซต์สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร โจมตีกล่าวหาอย่างรุนแรง และกล่าวหาว่า กอนณา ถูกขอตัวจาก พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีให้ไปช่วยงานราชการที่ทำเนียบรัฐบาล แต่สดศรีได้อออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "สดศรี" โบกมือลา พปชร. จับตาเรืองไกร จ่อทิ้งซบ"เศรษฐกิจไทย" อีกคนหรือไม่
- ↑ "กกต.หญิงแกร่ง'สดศรี สัตยธรรม' เคยฝันอยากเป็น'แอร์โอสเตส'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๙, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๐, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กรรมการ | ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2540–44) | |
---|
ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2544–49) | |
---|
ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2549–56) | |
---|
ชุดที่ 4 (พ.ศ. 2556–61) | |
---|
ชุดที่ 5 (พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน) | |
---|
|
---|
เลขาธิการ กกต. | |
---|