กินซารับบา คัมภีร์ที่ยาวที่สุดของศาสนามันดาอี
ศาสนามันดาอี (มันดาอิกคลาสสิก : ࡌࡀࡍࡃࡀࡉࡉࡀ, ถอดเป็นอักษรโรมัน: mandaiia; อาหรับ : مَنْدَائِيَّة , Mandāʾīya ) หรือ ศาสนาศอบิอ์ (อาหรับ : صَابِئِيَّة , Ṣābiʾīyah ) เป็นศาสนาชาติพันธุ์ เอกเทวนิยม และไญยนิยม [ 1] : 4 [ 2] : 1 ที่นับถือโดยชาวมันดาอี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ราบตะกอนน้ำพาทางใต้ของเมโสโปเตเมีย ชาวมันดาอีนับถืออาดัม อาเบล เสท เอโนช โนอาห์ เชม อารัม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยอห์นผู้ให้บัพติศมา ชาวมันดาอีถือว่าอาดัม เสท โนอาห์ เชมและยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นผู้เผยพระวจนะ โดยมีอาดัมเป็นศาสดาและยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นผู้เผยพระวจนะคนสุดท้าย[ 3] : 45 [ 4] ชาวมันดาอีพูดภาษามันดาอิก ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในภาษาแอราเมอิกตะวันออก ชื่อมันดาอีมาจากภาษาแอราเมอิก manda หมายถึงความรู้[ 6] ชาวมันดาอีรู้จักในตะวันออกกลางในนามศอบิอ์ (อาหรับ : صُبَّة Ṣubba , เอกพจน์: Ṣubbī ) ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาแอราเมอิกที่เกี่ยวข้องกับพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน มีการกล่าวถึงศอบิอ์ในอัลกุรอาน สามครั้งร่วมกับชาวยิวและคริสตชน บางคราวชาวมันดาอีรู้จักในชื่อ "คริสตชนแห่งนักบุญจอห์น"[ 7]
โยรันน์ ยาคอบเซน บัคลีย์ และนักวิชาการศาสนามันดาอีเสนอว่าชาวมันดาอีมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคปาเลสไตน์-อิสราเอลเมื่อสองพันปีก่อน ก่อนจะอพยพหนีการเบียดเบียนมาทางตะวันออก[ 8] [ 9] [ 10] ขณะที่บางส่วนเชื่อว่าชาวมันดาอีมีต้นกำเนิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมโสโปเตเมีย[ 11] [ 12] นักวิชาการบางส่วนมองว่าศาสนามันดาอีมีอายุเก่าแก่และอยู่มาก่อนศาสนาคริสต์[ 13] ด้านชาวมันดาอียืนยันว่าศาสนาตนอยู่มาก่อนศาสนายูดาห์ คริสต์และอิสลามในฐานะศาสนาเอกเทวนิยม[ 14] ชาวมันดาอีเชื่อว่าพวกตนสืบเชื้อสายโดยตรงมาจากเชม บุตรของโนอาห์ในเมโสโปเตเมีย[ 15] : 186 และสาวกกลุ่มนาโซรีมันดาอี (Nasoraean Mandaean) ดั้งเดิมของยอห์นผู้ให้บัพติศมาในเยรูซาเลม
มีการนับถือศาสนามันดาอีทางตอนล่างของแม่น้ำคอรูน แม่น้ำยูเฟรทีส และแม่น้ำไทกริส รวมถึงบริเวณรอบ ๆ แม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบ ทางใต้ของอิรักและจังหวัดฆูเซสถาน ในอิหร่าน ประมาณการชาวมันดาอีทั่วโลกอยู่ที่ 60,000–70,000 คน[ 16] เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในอิรักก่อนเกิดสงครามอิรัก [ 17] ต่อมาชาวมันดาอีจำนวนมากลี้ภัยออกนอกประเทศหลังเกิดความวุ่นวายจากการบุกครอง และยึดครองอิรัก โดยกองทัพสหรัฐ รวมถึงความรุนแรงทางศาสนาที่เพิ่มสูงขึ้นจากกลุ่มหัวรุนแรง[ 18] ในค.ศ. 2007 ประชากรชาวมันดาอีในอิรักลดลงเหลือประมาณ 5,000 คน[ 17]
ชาวมันดาอียังคงแยกตัวและรักษาความเป็นส่วนตัวอย่างยิ่ง ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับชาวมันดาอีและศาสนาของพวกเขามาจากบุคคลภายนอกเป็นหลัก โดยเฉพาะยูลีอุส ไฮน์ริช เพเทอร์มันน์ นักบูรพาคดีชาวเยอรมัน นีกอลา ซุฟฟี รองกงสุลฝรั่งเศสในโมซูล[ 19] : 12 และอี. เอส. โดรเวอร์ นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาวบริติช[ 21]
อ้างอิง
↑ Buckley, Jorunn Jacobsen (2002). "Part I: Beginnings - Introduction: The Mandaean World" . The Mandaeans: Ancient Texts and Modern People . New York : Oxford University Press on behalf of the American Academy of Religion . pp. 1–20. doi :10.1093/0195153855.003.0001 . ISBN 9780195153859 . OCLC 57385973 .
↑ Al-Saadi, Qais; Al-Saadi, Hamed (2019). Ginza Rabba (2nd ed.). Germany: Drabsha.
↑ Brikhah S. Nasoraia (2012). "Sacred Text and Esoteric Praxis in Sabian Mandaean Religion" (PDF) .
↑ mandaean الصابئة المندايين (21 November 2019). "تعرف على دين المندايي في ثلاث دقائق" . YouTube . สืบค้นเมื่อ 2 February 2022 .
↑ Fontaine, Petrus Franciscus Maria (January 1990). Dualism in ancient Iran, India and China . The Light and the Dark. Vol. 5. Brill. ISBN 9789050630511 .
↑ Edmondo, Lupieri (2004). "Friar of Ignatius of Jesus (Carlo Leonelli) and the First "Scholarly" Book on Mandaeaism (1652)". ARAM Periodical . 16 (Mandaeans and Manichaeans): 25–46. ISSN 0959-4213 .
↑ Porter, Tom (22 December 2021). "Religion Scholar Jorunn Buckley Honored by Library of Congress" . Bowdoin . สืบค้นเมื่อ 10 January 2022 .
↑ Buckley, Jorunn Jacobsen (2010). Turning the Tables on Jesus: The Mandaean View. In Horsley, Richard (March 2010). Christian Origins . ISBN 9781451416640 . (pp94-111). Minneapolis: Fortress Press
↑ Lupieri, Edmondo F. (7 April 2008). "Mandaeans i. History" . Encyclopaedia Iranica . สืบค้นเมื่อ 12 January 2022 .
↑ มุมมองทางวิชาการส่วนน้อย
↑ "Mandaeanism | religion" . Britannica . สืบค้นเมื่อ 4 November 2021 .
↑ Duchesne-Guillemin, Jacques (1978). Etudes mithriaques . Téhéran: Bibliothèque Pahlavi. p. 545.
↑ "The People of the Book and the Hierarchy of Discrimination" . United States Holocaust Memorial Museum . สืบค้นเมื่อ 1 November 2021 .
↑ Drower, Ethel Stefana (1937). The Mandaeans of Iraq and Iran . Oxford At The Clarendon Press.
↑ Thaler, Kai (March 9, 2007). "Iraqi minority group needs U.S. attention" . Yale Daily News . สืบค้นเมื่อ 4 November 2021 .
↑ 17.0 17.1 Deutsch, Nathaniel (6 October 2007). "Save the Gnostics" . The New York Times .
↑ Crawford, Angus (4 March 2007). "Iraq's Mandaeans 'face extinction' " . BBC News . สืบค้นเมื่อ 13 December 2021 .
↑ Lupieri, Edmundo (2001). The Mandaeans: The Last Gnostics . Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 9780802833501 .
↑ Mandaean manuscripts given by Lady Ethel May Stefana Drower . Archives Hub.
แหล่งข้อมูลอื่น