ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ไรน์ฮ็อลท์ พีค (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm Reinhold Pieck) เป็นนักการเมืองและนักลัทธิคอมมิวนิสต์ชาวเยอรมัน เขากลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ซึ่งตำแหน่งถูกยกเลิกหลังพีคถึงแก่อสัญกรรม[1] ผู้สืบต่อในฐานะประมุขแห่งรัฐของเขาคือ วัลเทอร์ อุลบริชท์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานสภาแห่งรัฐ
พีคเป็นลูกชายของฟรีดริช พีค คนขับรถม้า กับเอากุสเทอ ภรรยาของเขาในภาคตะวันออกของกูเบิน เยอรมนี[2] สองปีต่อมาแม่ของพีคได้เสียชีวิตลง พ่อของพีคจึงแต่งงานใหม่กับวิลเฮ็ลมีเนอ บาโร หลังจากเข้าเรียนในโรงเรียนประถม เด็กหนุ่มวิลเฮ็ล์มได้ฝึกงานช่างไม้เป็นเวลา 4 ปี ในฐานะที่เป็นคนงานเขาเดินเข้าไปเข้าร่วมกับสมาคมแรงงานช่างไม้เยอรมันในปี 1894
ในฐานะช่างไม้ใน ค.ศ. 1894 พีคเข้าร่วมสหพันธ์กรรมกรไม้ซึ่งนำพาเขาไปสู่พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี (เอ็สเพเด)[2] ในปีต่อมา พีคกลายเป็นประธานของพรรคในเขตเมืองใน ค.ศ. 1899 และใน ค.ศ. 1906 ได้กลายเป็นเลขาธิการเต็มเวลาของพรรคสังคมประชาธิปไตย ใน ค.ศ. 1914 เขาย้ายไปอยู่ที่อะพาร์ตเมนต์ 3 ห้องในชเตกลิทซ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 เขาถูกจับในการประท้วงของผู้หญิงที่หน้าไรชส์ทาค และถูกอยู่ไว้ใน "การดูแลคุ้มครอง" จนถึงเดือนตุลาคม ในฐานะเลขานุการพรรคเบรเมินใน ค.ศ. 1916 พีคได้ขอให้อันโตน ปันเนอกุก สอนทฤษฎีสังคมนิยมต่อในโรงเรียนของพรรค[3] แม้ว่าส่วนใหญ่ของพรรคสังคมประชาธิปไตยสนับสนุนรัฐบาลเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พีคเป็นสมาชิกพรรคฝ่ายซ้ายซึ่งต่อต้านสงคราม การเปิดกว้างของพีค ในการทำเช่นนั้นทำให้เขาถูกจับกุมและคุมขังในเรือนจำทหาร หลังจากได้รับการปล่อยตัว พีคจึงได้ลี้ภัยไปอยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัมชั่วคราว[2] เมื่อเขากลับมายังกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1918 พีคได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี
ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1919 พีคถูกจับกุมพร้อมกับโรซา ลุกเซิมบวร์ค และคาร์ล ลีพคเน็ชท์ ในระหว่างการประชุมที่โรงแรมเบอร์ลินอีเดน ลุกเซิมบวร์ค และ ลีพคเน็ชท์ถูกฆ่าในขณะที่ "ถูกพาตัวเข้าคุก" โดยหน่วยไฟรคอร์[4] ขณะที่ทั้งสองกำลังถูกฆ่า พีคสามารถหลบหนีออกมาได้ ใน ค.ศ. 1922 เขาได้กลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ International Red Aid ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1925 เขาก็กลายเป็นประธานของ Ride Hilfe[2]
ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1933 หนึ่งวันก่อนการเลือกตั้งสมาชิกไรชส์ทาค ครอบครัวของพีคอพยพออกจากอะพาร์ตเมนต์ที่ชเตกลิทซ์ และย้ายไปอยู่ในห้องปรุงอาหาร ลูกชายและลูกสาวของเขาเคยอยู่ในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ ค.ศ. 1932 ขณะที่เอ็ลลี วินเทอร์ ยังคงอยู่ในเยอรมนี เมื่อถึงต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1933 เขาจึงได้เดินทางไปกรุงปารีสก่อน แล้วจึงไปกรุงมอสโก[2] ในกรุงมอสโก พีคทำหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ในหน้าที่ที่หลากหลาย ตั้งแต่ ค.ศ. 1935–1943 เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การคอมมิวนิสต์สากล และใน ค.ศ. 1943 พีคเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยเยอรมนี ซึ่งวางแผนไว้สำหรับอนาคตของเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ในตอนท้ายของสงครามใน ค.ศ. 1945 พีคกลับไปเยอรมนีกับกองทัพแดงที่มีชัย[5] อีกหนึ่งปีต่อมาเขาช่วยในการรวมพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคประชาธิปไตยสังคมเป็นพรรคเอกภาพสังคมนิยมแห่งเยอรมนี เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานร่วมของพรรคที่ควบรวมร่วมกับอ็อทโท โกรเทอโวล อดีตผู้นำพรรคเอกภาพสังคมนิยม
อ้างอิง
- ↑ Rolf Badstübner and Wilfried Loth (eds) Wilhelm Pieck - Aufzeichnungen zur Deutschlandpolitik 1945-1953, Berlin: Wiley-VCH, 1994
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Wilhelm Pieck timeline เก็บถาวร 2000-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved June 10, 2010 (เยอรมัน)
- ↑ Bourrinet, Philippe. The Dutch and German Communist Left (1900–68). p. 55.
- ↑ Wolfe, Bertram D. in introduction to"The Russian Revolution" Luxemburg p. 18 1967.
- ↑ Eric D. Weitz, Creating German Communism, 1890-1990: From Popular Protests to Socialist State. Princeton, NJ: Princeton University Press, 1997