รัฐบาลมีแชล บาร์เนียร์ (ฝรั่งเศส : Gouvernement Michel Barnier ; 21 กันยายน ค.ศ. 2024 - ปัจจุบัน) เป็นคณะรัฐบาลคณะที่ 45 ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งแต่งตั้งขึ้นหลังจากแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ได้แต่งตั้งมีแชล บาร์เนียร์ อดีตบุคคลสำคัญของคณะกรรมาธิการยุโรป ด้านเจรจาการออกจากสหภาพยุโรป ของสหราชอาณาจักร และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2024
ระยะเวลา 16 วันระหว่างการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีกับการประกาศองค์ประกอบของรัฐบาลในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2024 ถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศ
เบื้องหลัง
ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ค.ศ. 2024 ซึ้งจัดตั้งขึ้นโดยเหตุการยุบชุดสภานิติบัญญัติที่ผ่านมา (ชุดที่ 16) โดยแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคชุมนุมแห่งชาติ (ฝรั่งเศส : Rassemblement national ) ไม่สามารถได้คะแนนเสียงเพื่อครองเสียงข้างมากตามกระแสข่าว[ 1] และกลับอยู่อันดับที่สามตามหลังพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย แนวร่วมประชาชนใหม่ ที่ได้เป็นอันดับที่หนึ่ง และพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายสายกลาง ที่สนับสนุนประธานาธิบดีมาครง ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ ที่ได้รับอันดับที่สอง[ 2]
จากนั้น กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นนำเสนอการลาออกต่อประธานาธิบดีซึ่งมีผลยอมรับในวันที่ 16 กรกฎาคม
ในวันที่ 25 กรกฎาคม พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่เสนอชื่อนางลูซี่ กัสเทตส์ แต่มาครงกลับตอบสนองว่า "ไม่มีใครชนะ" และประกาศจัดการหารือระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองที่มีที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติเพื่อจัดตั้งรัฐบาล[ 3]
หลังจากการหารือระลอกแรกในวันที่ 23 สิงหาคม บริการของประธานาธิบดีได้ประกาศในวันที่ 26 ของเดือนเดียวกันว่าลูซี กัสเทตส์จะไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีความเสี่ยงที่กลุ่มพรรคการเมืองและพรรคการเมืองในสภาล่างสามารถลงมติไม่ไววางใจรัฐบาลดังกล่าว[ 4] แล้วในวันที่ 2 กันยายน มาครงได้มีการหารือระหว่างแบร์นาร์ กาซเนิฟว์ อดีตนายกรัฐมนตรี จากพรรคสังคมนิยม ภายใต้การนำของฟร็องซัว ออล็องด์ และซาเวียร์ แบร์ทรองด์ ประธานสภาแคว้นโอดฟร็องส์ แต่สองบุคคลนี้ก็เสี่ยงต่อการไม่ไว้วางใจจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเช่นกัน
ในวันที่ 4 กันยายน ชื่อของมีแชล บาร์เนียร์ อดีตผู้เจรจาของคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงจากพรรคเลเรปูว์บลีแก็ง ได้ถูกเผยและเสนอมา[ 5] แล้วในวันรุ่งขึ้น แอมานุแอล มาครงก็แต่งตั้งบาร์เนียร์เป็นนายกรัฐมนตรี[ 6]
ประวัติ
การแต่งตั้งคณะรัฐบาล
ในวันที่ 19 กันยายน มีการนำเสนอรายชื่อรัฐมนตรีชุดแรกจากนายกรัฐมนตรีแต่ถูกรายชื่อชุดนี้ปฎิเสธโดยประธานาธิบดี หลังจากนั้น ในวันที่ 21 กันยายน หลังจากการมีเสนอรายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ ในที่สุดก็ได้มีการประกาศคณะรัฐมนตรีโดยอเล็กซี โกห์แลร์ เลขาธิการทำเนียบประธานาธิบดี [ 7] [ 8] [ 9]
ผู้สังเกตการณ์ฝ่ายซ้ายหลายบุคคลมองว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลฝ่ายขวาที่สุดภายใต้สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 [ 10] [ 11] เนื่องจากมีรัฐมนตรีหลายคนที่เคยรณรงค์ต่อต้านการสมรสเพศเดียวกัน มาก่อน
การปรับปรุงรัฐบาล
ภายหลังแต่งตั้งรัฐบาล มีการปรับปรุงตำแหน่งหลายครั้ง ดังนี้
วัน/เดือน/ปี
พ้น
โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
27 กันยายน ค.ศ. 2024[ 12]
0
0
2
เชิงอรรถ
↑ ชื่อเต็มของตำแหน่งเป็น "นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบด้านการวางแผนนิเวศวิทยาและพลังงาน" (Premier ministre, chargé de la Planification écologique et énergétique)
↑ ฝ่ายสนับสุนนรัฐบาลของพรรค
↑ ฝ่ายค้านของพรรค
อ้างอิง
↑ "เลือกตั้งฝรั่งเศส: ฝ่ายซ้ายพลิกล็อก ชนะการเลือกตั้งฝรั่งเศสครั้งที่สอง" . BBC News ไทย . 2024-07-08.
↑ เพ็ชรปัญญา, ชยางกูร (2024-07-19). "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย: ยุทธการสกัด 'ฝ่ายขวาจัด' ในการเลือกตั้งฝรั่งเศส 2024 สู่เดดล็อกการเมือง?" . The 101 World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
↑ "Sortant du silence, Macron lâche que « personne n'a emporté » les législatives" . www.20minutes.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-07-10.
↑ "Macron écarte officiellement un gouvernement NFP (et se justifie)" . Le HuffPost (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-08-26.
↑ "Nouveau Premier ministre: Michel Barnier, nouvelle "piste sérieuse" d'Emmanuel Macron?" . BFMTV (ภาษาฝรั่งเศส).
↑ "Le Président de la République a nommé Monsieur Michel Barnier Premier ministre" . elysee.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-09-05.
↑ "Annonce de la nomination du Gouvernement" . elysee.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-09-21.
↑ "อุตส่าห์ชนะเลือกตั้ง! ฝ่ายซ้ายอกหัก ปธน.ฝรั่งเศสแถลงเปิดตัวรัฐบาลขวากลาง" . mgronline.com . 2024-09-22.
↑ "มาครงผ่าทางตัน แต่งตั้งรัฐบาลชุดใหม่ด้วยนักการเมืองฝ่ายขวา" . ไทยโพสต์ . 2024-09-22.{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ LIBERATION. "Gouvernement Barnier : «Droite dure», «victoire du macronisme», «aucun avenir»… Les oppositions étrillent les nouveaux ministres" . Libération (ภาษาฝรั่งเศส).
↑ Ramdani, Ilyes (2024-09-21). "Gouvernement Barnier : tournez à droite, prenez l'impasse" . Mediapart (ภาษาฝรั่งเศส). {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Décret du 27 septembre 2024 relatif à la composition du Gouvernement [กฤษฎีกาลงวันที่ 27 กันยายน 2567 เกี่ยวกับองค์ประกอบของรัฐบาล ] (ภาษาฝรั่งเศส), 2024-09-28, สืบค้นเมื่อ 2024-10-01