การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส
ค.ศ. 2024
|
← ค.ศ. 2022 |
30 มิถุนายน 2024 (รอบที่ 1) 7 กรกฎาคม 2024 (รอบที่ 2) |
ครั้งถัดไป → |
|
← สภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 16 สภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 17 → |
ทั้ง 577 ที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ ต้องการ 289 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก |
---|
ลงทะเบียน | 49,332,709 (รอบที่ 1) 43,328,540 (รอบที่ 2) |
---|
ผู้ใช้สิทธิ | รอบที่ 1 : 66.7% (19.21 จุด) รอบที่ 2 : 66.6% (20.40 จุด) |
---|
|
First party
|
Second party
|
|
|
|
ผู้นำ
|
ผู้นำโดยร่วม
|
กาบรีแยล อาตาล
|
พรรค
|
–
|
เรอแนซ็องส์
|
พันธมิตร
|
|
ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ (ดูรายชื่อพรรค)
- เรอแนซ็องส์
- ขบวนการประชาธิปไตย
- โฮรีซงส์
- พรรคหัวรุนแรง
|
ผู้นำตั้งแต่
|
10 มิถุนายน 2024[a]
|
–
|
เขตของผู้นำ
|
–
|
จังหวัดโอดแซน เขตที่ 10
|
เลือกตั้งล่าสุด
|
131 ที่นั่ง, 31.6%
|
151 ที่นั่ง, 31.6%
|
ที่นั่งก่อนหน้า
|
149
|
250
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
180
|
159
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
49
|
86
|
รอบที่ 1 %
|
9,042,485 28.2%
|
6,820,446 21.2%
|
รอบที่ 2 %
|
7,040,232 25.8%
|
6,692,365 24.5%
|
|
|
Third party
|
Fourth party
|
|
|
|
ผู้นำ
|
จอร์ดัน บาร์เดลลา
|
ผู้นำโดยความขัดแย้ง[b]
|
พรรค
|
แนวร่วมแห่งชาติ
|
เลเรปูว์บลีแก็ง
|
พันธมิตร
|
แนวร่วมแห่งชาติ/สหภาพขวาจัด [c] (ดูรายชื่อพรรค)
- แนวร่วมแห่งชาติ
- ผู้คัดค้านเลเรปูว์บลีแก็ง
- อนาคตฝรั่งเศส
- เรอเพร่อนงเลอปูว์วัวร์!
|
–
|
ผู้นำตั้งแต่
|
17 กันยายน 2022
|
–
|
เขตของผู้นำ
|
ไม่ลงเลือกตั้ง
|
–
|
เลือกตั้งล่าสุด
|
89 ที่นั่ง, 17.3%
|
71 ที่นั่ง, 8.0%
|
ที่นั่งก่อนหน้า
|
88
|
61
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
142
|
39
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
53
|
32
|
รอบที่ 1 %
|
10,647,914 33.2%
|
2,106,166 6.5%
|
รอบที่ 2 %
|
10,110,013 37.0%
|
1,474,723 5.4%
|
|
แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งรอบที่หนึ่ง |
แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งรอบที่สอง |
องศ์ประกอบของสมัชชาแห่งชาติหลังการเลือกตั้ง |
|
การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2024 จัดขึ้นรอบแรกในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2024 และรอบที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 เพื่อเลือกตั้งทั้ง 577 ที่นั่งของสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส
การเลือกตั้งครั้งนี้ได้จัดขึ้นหลังจากแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ประกาศยุบสภาชุดที่แล้วในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2024 ซึ้งเกิดขึ้นจากพ่ายแพ้อย่างหนักของพันธมิตรฝ่ายประธานาธิบดีในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปในวันเดียวกัน
นับเป็นครั้งที่ 6 ในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 ที่มีกฤษฎีกายุบสภาล่างโดยใช้มาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส การยุบสภาล่าสุดเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1997 ในช่วงสมัยแรกของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก ซึ้งผลการเลือกตั้งครั้งนั้นปรากฎว่าพันธมิตรฝ่ายซ้ายหลายพรรคที่นำโดย ลียอแนล ฌ็อสแป็ง เลขาธิการแรกพรรคสังคมนิยมในขณะนั้น ได้ชัยชนะที่นั่งส่วนใหญ่จึงกลายเป็นฝ่ายข้างมาก และต่อจากนั้น ฌ็อสแป็งก็ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ในรอบแรกของการเลือกตั้ง พรรคฝ่ายขวาจัด พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Rassemblement national, RN) และพันธมิตรนำด้วยคะแนนเสียง 33.21% ตามมาด้วยพันธมิตรฝ่ายซ้าย แนวร่วมประชาชนใหม่ (Nouveau Front populaire, NFP) ด้วยคะแนนเสียง 28.14% ส่วนพันธมิตรฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดี ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ (Ensemble pour la République, ENS) ได้รับคะแนนเสียง 21.28% และพรรคเลเรปูว์บลีแก็งและผู้สมัครฝ่ายขวาต่าง ๆ ด้วยคะแนนเสียง 10.17% ในรอบนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์โดยรวม 66.71% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ค.ศ. 1997
ในรอบที่ 2 ของการเลือกตั้ง พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่ได้ครองอันดับหนึ่งเนื่องจากได้รับที่นั่งมากกว่าคาดหวัง ต่อจากพันธมิตรร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐที่ครอบอันดับสอง ส่วนพรรคแนวร่วมแห่งชาติและพันธมิตรครองแค่อันดับที่สามเท่านั้น
หลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุด กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะยืนหนังสือลาออกจากตำแหน่งในวันที่ต่อมาซึ้งมาครงปฎิเสธในขั้นต้นแต่มีผลในวันที่ 16 กรกฎาคม ทำให้รัฐบาลกลายเป็นรักษาการและรัฐมนตรีได้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงโหวดให้ประธานสมัชชาแห่งชาติ
หลังจากนั้น พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่เสนอชื่อนางลูซี กัสแตทซ์ ผู้อำนวยงานด้านการเงินและการจัดซื้อของกรุงปารีส แต่มาครงกลับไม่ได้ส่งความตั้งใจที่จะแต่งตั้งเธอเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยอ้างว่าต้องรอแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นในกรุงปารีสให้สิ้นสุดลง จากนั้น มาครงก็เริ่มมีการปรึกษาหารือมากมายจากฝ่ายการเมืองต่าง ๆ แล้วในที่สุดก็ได้แต่งตั้งนายมีแชล บาร์เนียร์ สมาชิกพรรคเลเรปูว์บลีแก็งและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
เบื้องหลัง
การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ค.ศ. 2022
หลังจากแอมานุแอล มาครง ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นสมัยที่ 2 การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติก็ตามมาในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นปรากฎว่าพันธมิตร อ็องซ็องบล์ (Ensemble) ซึ้งเป็นพันธมิตรฝ่ายสนับสนุนเสียงข้างมากของประธานาธิบดีและนำโดยพรรคของประธานาธิบดี พรรคลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช (LREM) (ต่อมาพรรคได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรอแนซ็องส์) ได้สูญเสียเสียงข้างมากในสภาล่าง ซึ้งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ค.ศ. 1997 ที่ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งไม่สามารถครองเสียงข้างมากโดยสมบูรณ์ในสมัชชาแห่งชาติได้
ในขณะเดียวกัน กลุ่มฝ่ายค้านหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ พันธมิตรทางฝ่ายซ้าย สหภาพประชาชนนิเวศน์วิทยาและสังคมใหม่ (Nouvelle Union Populaire écologique et sociale, นูแวลยูนียงโป๊บปูแลร์เอโกโลชีกเอโซเซียล หรือย่อเป็น NUPES, นูเพส) ซึ้งนำโดยพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซ (LFI) และทางฝ่ายขวาจัด พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (RN) ซึ้งนำโดยมารีน เลอ แปน ก็ได้มีนั่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ไม่มีกลุ่มใดที่ได้รับเสียงข้างมากโดยสมบูรณ์
การเลือกตั้งสมาชิกฝรั่งเศสในรัฐสภายุโรป ค.ศ. 2024
ฝรั่งเศสมีการเลือกตั้งสมาชิกฝรั่งเศสเป็นผู้แทนราษฎรในรัฐสภายุโรปในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2024 เพื่อเลือก 81 คนจากทั้งหมด 720 สมาชิกในรัฐสภานั้น
ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการปรากฎว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาตินำโดยจอร์ดัน บาร์เดลลา ได้รับ 30 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ หรือคะแนนกว่า 31.3% ขณะที่ทางฝ่ายประธานาธิบดีด้วยพันธมิตรเบอซวงโดโรป (Besoin d'Europe) ซึ้งนำโดยพรรคของประธานาธิบดี พรรคเรอแนซ็องส์ (RE) นั้น ได้รับ 13 ที่นั่งเท่านั้น ซึ้งเป็นความพ่ายแพ้อย่างหนักจากฝ่ายนั้น
ผลการเลือกตั้งยังไม่ได้มีการรับรองจากกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม แอมานุแอล มาครง ออกแถลงการในทีวีประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติชุดที่ได้รับเลือกตั้งในปีค.ศ. 2022 และจัดขึ้นการเลือกตั้งครั้งใหม่ด้วยรอบที่หนึ่งในวันที่ 30 มิถุนายน และรอบที่สองในวันที่ 7 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้[1][2][3][4]
ระบบการเลือกตั้ง
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 577 คน ซึ้งเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ได้รับการเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี โดยระบบสองรอบในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกเดียว
ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่คะแนนเสียงรวมมากกว่า 25% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนจะได้รับการเลือกตั้งในรอบแรก แต่หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเสียงข้างมากก็จัดขึ้นรอบที่สองระหว่างผู้สมัครสองคนอันดับต้น ๆ บวกกับผู้สมัครคนอื่นที่ได้รับคะแนนเสียงรวมมากกว่า 12.5% ของผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียน
อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในรอบที่สองจะได้รับเลือก
ผลสำรวจ
ผลการเลือกตั้ง
ภาพร่วม
↓
|
180
|
12
|
9
|
1
|
6
|
159
|
1
|
39
|
27
|
142
|
1
|
NFP
|
DVG
|
REG
|
ECO
|
DVC
|
ENS
|
อื่น ๆ
|
LR
|
DVD
|
RN-UXD
|
DVXD
|
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ค.ศ. 2024
|
พรรค/พันธมิตร
|
รอบที่ 1
|
รอบที่ 2
|
รวมที่นั่ง
|
+/-
|
คะแนนเสียง
|
%
|
ที่นั่ง
|
คะแนนเสียง
|
%
|
ที่นั่ง
|
|
แนวร่วมประชาชนใหม่
|
9,042,485
|
28.21
|
32
|
7,040,232
|
25.81
|
148
|
|
49
|
|
ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ
|
6,820,446
|
21.28
|
2
|
6,692,365
|
24.53
|
157
|
|
86
|
|
แนวร่วมแห่งชาติ
|
9,379,092
|
29.26
|
37
|
8,745,063
|
32.05
|
88
|
|
36
|
|
เลเรปูว์บลีแก็ง
|
2,106,166
|
6.57
|
1
|
1,474,723
|
5.41
|
38
|
|
25
|
|
ผู้สมัครพรรคขวาต่าง ๆ
|
1,154,785
|
3.60
|
2
|
980,548
|
3.59
|
25
|
|
17
|
|
สหภาพขวาจัด
|
1,268,822
|
3.96
|
1
|
1,364,950
|
5.00
|
16
|
|
ใหม่
|
|
ผู้สมัครพรรคซ้ายต่าง ๆ
|
490,898
|
1.53
|
0
|
401,063
|
1.47
|
12
|
|
9
|
|
ผู้สมัครฝ่ายลัทธิภูมิภาค
|
310,727
|
0.97
|
0
|
288,201
|
1.06
|
9
|
|
1
|
|
ผู้สมัครพรรคกลางต่าง ๆ
|
391,423
|
1.22
|
0
|
177,164
|
0.65
|
6
|
|
2
|
อื่น ๆ
|
142,871
|
0.45
|
0
|
38,025
|
0.14
|
1
|
|
|
|
ผู้สมัครนักนิเวศวิทยา
|
182,478
|
0.57
|
0
|
37,808
|
0.14
|
1
|
|
|
|
ผู้สมัครพรรคขวาจัดต่าง ๆ
|
59,679
|
0.19
|
1
|
23,216
|
0.09
|
0
|
|
1
|
|
ผู้สมัครขวาสิทธิอธิปไตย
|
90,110
|
0.28
|
0
|
18,672
|
0.07
|
0
|
|
1
|
|
ผู้สมัครพรรคซ้ายจัดต่าง ๆ
|
366,594
|
1.14
|
0
|
|
|
|
|
พิชิตชัยอีกครั้ง
|
238,934
|
0.75
|
0
|
|
|
|
|
พรรคซ้ายหัวรุนแรง
|
12,434
|
0.04
|
0
|
|
|
1
|
|
คะแนนสมบูรณ์
|
32,057,944
|
97.41
|
76
|
27,282,030
|
94.50
|
501
|
577
|
|
คะแนนเสีย
|
267,803
|
0.81
|
|
395,302
|
1.37
|
|
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
|
582,908
|
1.77
|
1,193,011
|
4.13
|
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
|
32,908,655
|
66.71
|
28,870,343
|
66.63
|
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
|
49,332,709
|
100.00
|
43,328,540
|
100.00
|
|
ที่มา : กระทรวงมหาดไทย (Ministère de l'Intérieur)[5]
|
หลังการเลือกตั้ง
หลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุด กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะยืนหนังสือลาออกจากตำแหน่งในวันที่ต่อมา แต่มาครงกลับให้อยู่ในตำแหน่งต่อเพื่อ"เสถียรภาพประเทศ"[6]
ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 ประธานาธิบดี แอมานุแอล มาครง ได้กล่าวภายในจดหมายที่ถูกเผยแพร่ในสื่อว่า "ไม่มีกองกำลังทางการเมืองใดที่ได้รับเสียงข้างมากเพียงพอด้วยของตัวเองและกลุ่มหรือแนวร่วมที่เกิดจากการเลือกตั้งเหล่านี้ล้วนแต่เสียงข้างน้อย" และขอให้มี "เจรจาอย่างจริงใจและด้วยความภักดี" ระหว่างพรรคและแนวรวมการเมืองเพื่อ "สร้างเสียงข้างมากที่มั่นคง ซึ่งจำเป็นต้องมีพหูพจน์เพื่อประเทศ"[7] ต่อมา บุคคลสำคัญทางฝ่ายซ้ายประณามจดหมายดังกล่าวว่าเป็นการ "ปฎิเสธที่จะรับรองผลการเลือกตั้ง" ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาครง "ไม่ยอมรับความจริง" และพยายามส่งสัญญาณว่าเขาไม่อนุญาติให้แนวร่วมประชาชนใหม่เป็นผู้นำรัฐบาลหากมีสมาชิกพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซเข้าร่วม
ในวันที่ 16 กรกฎาคม มาครงรับหนังสือลาออกของรัฐบาลของอาตาลและรักษาการตำแหน่งจนถึงมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่[8] ทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังกล่าวไปลงคะแนนเสียงเลือกประธานสมัชชาแห่งชาติได้ ในขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลรักษาการ[9]
ในวันที่ 25 กรกฎาคม วันก่อนที่จะมีการเปิดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นในกรุงปารีส พันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่ได้ตกลงกันในชื่อบุคคลคนหนึ่งที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ้งเป็นนางลูซี กัสแตทซ์ ผู้อำนวยงานด้านการเงินและการจัดซื้อของกรุงปารีส แต่มาครงกลับปฎิเสธการเสนอชื่อนี้ในครั้งแรก โดยอ้างว่า "ไม่มีใครชนะ" การเลือกตั้งในครั้งนี้[10] และจะจัดขี้นการปรึกษาและหารือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล
ในวันที่ 23 สิงหาคม หลังจากการหารือกับผู้นำพรรคต่าง ๆ มาครงประกาศอีกครั้งใน 3 วันต่อมาว่าจะไม่แต่งตั้งลูซี กัสแตทซ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีความเสี่ยงจากการลงมติไม่ไว้วางใจของรัฐบาลจากพันธมิตรฝ่ายซ้าย[11]
ต่อมา ในวันที่ 2 กันยายน แอมานุแอล มาครงได้รับการเสนอชื่อของแบร์นาร์ กาซเนิฟว์ อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคสังคมนิยม และซาเวียร์ เบอร์ทรองด์ ประธานสภาแคว้นโอดฟร็องส์ แต่สองบุคคลนี้มีการเสี่ยงจากมติไม่ไว้วางใจจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเช่นกัน[12] จึงหันมาที่มีแชล บาร์เนียร์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซี ฌัก ชีรัก และฟร็องซัว มีแตร็องเป็นต้น ซึ่งได้มีความสนใจเป็นอย่างมากจากมาครงในวันที่ 4 กันยายน[13]
ในที่สุด ในวันที่ 5 กันยายน มาครงตัดสิ้นใจแต่งตั้งมีแชล บาร์เนียร์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป[14][15][16]
หมายเหตุ
- ↑ วันก่อตั้งพันธมิตร
- ↑ เอริก ซีอ็อตติเป็นประธานพรรคเลเรปูว์บลีแก็งแต่ได้มีการเสนอกลุ่มคู่แข่งที่มีผู้สมัครประมาณ 60 คนที่เป็นพันธมิตรกับพรรคแนวร่วมแห่งชาติโดยต่อต้านผู้สมัครประมาณ 400 คนที่คัดเลือกโดยคณะกรรมการการลงทุนแห่งชาติพรรคเลเรปูว์บลีแก็งภายใต้การกำกับดูแลของอานนี่ เจนวาร์ด, ฟร็องซัว-ซาเวียร์ เบลลามี และดาเนียล ฟาสแคล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานพรรคชั่วคราว ก่อนที่ซีอ็อตติจะกลับคืนสู่ตำแหน่งประธานและสมาชิกพรรค
- ↑ เป็นคำเรียกที่ใช้โดยกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสเพื่ออ้างถึงผู้สมัครที่ร่วมลงโดยฝ่ายค้ดค้านพรรคเลเรปูว์บลีแก็งที่นำโดยเอรีก ซีอ็อตติ และที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ
อ้างอิง
- ↑ "ประธานาธิบดีฝรั่งเศสยุบสภา เตรียมเลือกตั้งใหม่ หลังแพ้ศึกชิงเก้าอี้รัฐสภายุโรป". www.thairath.co.th. 2024-06-10.
- ↑ ""มาครง" ประกาศยุบสภา หลังแพ้ศึกเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป". Thai PBS.
- ↑ "มาครงจี้ชาวฝรั่งเศส 'เลือกให้ถูกต้อง' หลังยุบสภา". bangkokbiznews. 2024-06-10.
- ↑ "มาครงประกาศยุบสภา ฝรั่งเศสเตรียมเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติทันทีหลังการเลือกตั้งสหภาพยุโรป". 2024-06-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "France entière - Elections Législatives 2024 - Publication des résultats des élections en France". www.resultats-elections.interieur.gouv.fr.
- ↑ "'มาครง' ขอ 'แอตตาล' นั่งนายกฯฝรั่งเศต่อ เพื่อเสถียรภาพปท. ระหว่างรอรบ.ใหม่". MATICHON ONLINE. 2024-07-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Lettre du Président Emmanuel Macron aux Français". elysee.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-07-10.
- ↑ "Macron accepts French PM Attal's resignation but asks him to stay as caretaker". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "L'argument comptable de la gauche pour contester l'élection étriquée de Braun-Pivet". Le HuffPost (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-07-18.
- ↑ "Résultats législatives 2024 : Emmanuel Macron lance les grandes manœuvres (et assure que « personne n'a gagné »)". 20 Minutes (ภาษาฝรั่งเศส). 10 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 September 2024.
- ↑ "Nouveau gouvernement : Emmanuel Macron refuse de nommer Lucie Castets et lance de nouvelles consultations". Les Echos (ภาษาฝรั่งเศส). 26 August 2024. สืบค้นเมื่อ 5 September 2024.
- ↑ "Matignon: Macron "test" Cazeneuve and Bertrand, the Beaudet surprise emerges". TV5 Monde (ภาษาฝรั่งเศส). 2 September 2024. สืบค้นเมื่อ 5 September 2024.[ลิงก์เสีย].
- ↑ "Nouveau Premier ministre: Michel Barnier, nouvelle "piste sérieuse" d'Emmanuel Macron?". BFMTV (ภาษาฝรั่งเศส). 4 September 2024. สืบค้นเมื่อ 5 September 2024.
- ↑ "Live blog: Macron names Michel Barnier new prime minister". France24 (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 5 September 2024. สืบค้นเมื่อ 5 September 2024.
- ↑ "มาครงแต่งตั้งมีแชล บาร์นีเย อดีตผู้เจรจาเบร็กซิต เป็นนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส". ไทยโพสต์. 2024-09-05. สืบค้นเมื่อ 2024-09-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ ""มาครง" เลือกนักการเมืองอนุรักษ์นิยมเป็นนายกฯ ฝรั่งเศสคนใหม่". PPTV HD 36. 2024-09-06. สืบค้นเมื่อ 2024-09-07.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)