มโหสถชาดก

ฉากพระมโหสถเอาชนะพระเจ้าจุลนี

มโหสถชาดก เป็นชาดกเรื่องที่ 5 จากทศชาติชาดก โดยกล่าวถึงพระโคตมโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็นพระโคตมพุทธเจ้าในที่สุด

ในพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน อันเป็นพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการกล่าวถึงเรื่องมโหสถและพระเจ้าจุลนีพรหมทัตไว้ในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ตรงกับปี พ.ศ. 2450 อันเป็นคืนที่ 84 คราวเสด็จประพาสจาก เยอรมนี มายัง ฝรั่งเศส ความตอนหนึ่งว่า

กำลังเดินจากรถกินเข้ามารถที่นั่ง ผเอินเข้าถ้ำต้องเดินคลำกันเสียงอม เหมือนท้าวจุลนีในเรื่องมโหสถ

[1]

เรื่อง

ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหะราช ซึ่งปกครองกรุงมิถิลาทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ 4 คนคือ เสนกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และเทวินทะ ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหะทรงพระสุบินประหลาดจึงโปรดให้ เสนกะ หัวหน้าบัณฑิตทำนายพระสุบิน ก็ทรงทราบว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 ที่มีสติปัญญาล่วงเลยบัณฑิตทั้ง 4 ถือกำเนิดในมิถิลา

ขณะเดียวกันใน หมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนา ภรรยาของสิริวัฒกเศรษฐี เมื่อผ่านไป 10 เดือนนางสุมนาก็ให้กำเนิดบุตรชายที่ได้ถือแท่งยาออกมา ทันทีที่คลอดเสร็จสิริวัฒกเศรษฐีก็ได้นำแท่งยาไปฝนกับหินบดยาแล้วนำมาทาที่หน้าผาก ปรากฏว่าอาการปวดหัวของท่านเศรษฐีก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาอันมีอานุภาพมาก

7 ปีผ่านไปพระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกได้ว่าเมื่อ 7 ปีก่อนทรงพระสุบินว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 มาเกิดในยุคของพระองค์จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ออกไปสังเกตการณ์ในทิศทั้ง 4 ของมิถิลาซึ่งในที่สุดก็มีมหาอำมาตย์ท่านหนึ่งมาถึงหมู่บ้านที่มโหสถกุมารอาศัยอยู่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และชื่อเสียงของมโหสถจึงกลับไปทูลรายงานว่าพบบัณฑิตคนที่ 5 แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามาเป็นบัณฑิตในราชสำนัก แต่ทรงถูกเสณกะบัณฑิตยับยั้งไว้โดยอ้างว่าต้องการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมาร

ในการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารว่าเหมาะสมจะเป็นบัณฑิตคนที่ 5 หรือไม่นั้นมีปัญหาทดสอบเชาวน์ปัญญาของมโหสถกุมารถึง 19 ข้อแต่มโหสถกุมารก็สามารถวิสัชนาปัญหาได้หมด พระเจ้าวิเทหราชจึงรับมโหสถเป็นพระราชโอรสบุญธรรม พร้อมทั้งสถาปนาให้เป็นมหาบัณฑิต ซึ่งชื่อเสียงของมโหสถบัณฑิตก็ไปเข้าพระกรรณของ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีที่หมายจะตีกรุงมิถิลา แต่ก็ถูกมโหสถบัณฑิตยับยั้งไว้ได้สำเร็จ จนพระเจ้าจุลนีพรหมทัตต้องขอร้องให้มโหสถมารับราชการที่ราชสำนักของพระองค์แต่มโหสถบัณฑิตได้ปฏิเสธไป แต่ได้ให้สัญญากับพระเจ้าจุลนีพรหมทัตว่าถ้าพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตเมื่อไหร่จะไปรับใช้ทันที

หลังจากพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตมโหสถได้ไปรับใช้พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตามสัญญาตราบจนสิ้นอายุ

การดัดแปลง

ในปี พ.ศ. 2538 บริษัท ดาราวิดีโอ ได้นำชาดกเรื่องนี้มาดัดแปลงสร้างเป็นละครโทรทัศน์ฟอร์มยักษ์โดยใช้ชื่อว่า มโหสถชาดก มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร มีความยาวทั้งสิ้น 28 ตอนนำแสดงโดย หนึ่ง มาฬิศร์ เชยโสภณ รับบทเป็น มโหสถบัณฑิต นก ศิขรินธาร พลายเถื่อน รับบทเป็น นางอมราเทวี ติ๊ก ฉัตรมงคล บำเพ็ญ รับบทเป็น พระเจ้าวิเทหราช และ เงาะ กชกร นิมากรณ์ รับบทเป็น พระนางอุทุมพรเทวี

บุคคลที่กลับมาเกิดในสมัยพุทธกาล

อ้างอิง

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!